ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ชะลอตัวลง หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
o ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 8.54 เหรียญ หรือ 0.47% มาอยู่ที่ระดับ 1825.63 เหรียญ
o สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 8.8 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,827.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดที่สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2564
o สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 39.5 เซนต์ หรือ 1.73% ปิดที่ 23.207 ดอลลาร์/ออนซ์
o กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 976.21 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 0.55 ตัน
- JPMorgan มองราคาทองยังคงทรงตัวในระยะสั้น แต่อาจจะเห็นราคาร่วงลงในระยะยาว ระบุว่า โลหะมีค่าต่างๆได้ปรับตัวขึ้นพร้อมกับหุ้นจากการที่ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่นาย Powell ย้ำอีกครั้งว่าอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 1% เป็น 1820 หลังจากผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีอยู่ที่ระดับ 1.74% โดยยังคงรักษาระดับในช่วงสองสามช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นมากก็ตาม ราคาซิลเวอร์เพิ่มขึ้น 1.45% เป็น 22.8 ซึ่งยังคงมีการปรับตัวน้อยกว่าราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
o ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.63 จุด หรือ -0.67% มาอยู่ที่ระดับ 94.99 จุด
o ค่าเงินบาท ไม่เปลี่ยนแปลง อยู่ที่ระดับ 33.26 บาทต่อดอลลาร์
o อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีเมื่อวาน ไม่เปลี่ยนแปลง ปิดที่ระดับ 1.736 % และเช้านี้เปิดที่ระดับ 1.757%
- Mester ประธานเฟดสาขา Cleveland ให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่า จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเกิดอะไรขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ มีหลายองค์ประกอบกำลังกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้ หนึ่งในนั้นก็คือ ประเด็นเรื่องห่วงโซ่อุปทาน และค่าแรง ก่อนหน้าเงินเฟ้อถูกขับเคลื่อนจากโรคระบาดและกระจายไปทั่วโลก หากเราสามารถผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดนี้ได้ เราจะพบมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือภาวะเงินเฟ้อ และนั่นเป็นสิ่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งของเฟดกำลังจัดการตามสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ เฟดกำลังพิจารณาว่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อลดบัญชีงบดุลลง เฟดจะต้องดำเนินการทางนโยบายเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ในระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2%
- นักกลยุทธ์จาก TD Securities ชี้ว่า ในถ้อยแถลงของนายพาวเวลล์มีการพูดถึงเกี่ยวกับ Supply side หลายต่อหลายครั้งมาก ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นอีกรูปแบบของการส่งสัญญาณว่า มองเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว
- UBS กล่าวว่า Fed อาจจะไม่ทันการณ์หรือ behind the curve ในการลดขนาดงบดุลธนาคารกลางสหรัฐ และยังชี้ว่า มีโอกาส 75% ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้หลังจบการหยุดซื้อสินทรัพย์ (tapering) และตอนนี้ การถกเถียงว่าจะขึ้นดอกเบี้ยสองครั้ง หรือสามครั้ง หรืออาจจะมากถึงสี่ครั้งในปีนี้ เป็นเรื่องที่ตลาดกังวล
- UBS กล่าวว่า การที่ Fed เร่งรัดการใช้นโยบายการเงินเข้มงวด อาจจะกระทบต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาค โดยหากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีปรับขึ้นไปถึงระดับ 2% หรืออาจถึง 2.5% จะกดดันอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลประเทศกลุ่มเอเชียให้สูงขึ้นเช่นกัน
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากมุมมองที่ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดจะไม่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถูกกดดันให้เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาผลประกอบการไตรมาส 4/2564 ของธนาคารรายใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน และซิตี้กรุ๊ป
o ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,290.32 จุด เพิ่มขึ้น 38.30 จุด หรือ +0.11%,
o ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,726.35 จุด เพิ่มขึ้น 13.28 จุด หรือ +0.28%
o ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,188.39 จุด เพิ่มขึ้น 34.94 จุด หรือ +0.23%
- ดัชนี FTSE 100 พุ่งแตะระดับ 7555.61 เมื่อช่วงเย็น สูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมปี 2020 ในรอบเกือบ 2 ปีก่อนโรคระบาดจะเข้าคุกคามตลาดโลก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมุมมองเชิงบวกของการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ช่วยผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงานให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- ตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนธันวาคมสหรัฐ (CPI) ออกมาที่ 7.0% ต่อปี เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 6.8%
- อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมของอินเดียปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5.59% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ระดับ 4.91% ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 5.80% และยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินเดียที่ 2-6%
- JPMorgan เตือนว่า ต้นทุนค่าจ้างและสวัสดิการจะพุ่งสูงขึ้นในปี 2022 โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan นายเจมี่ ไดมอนกล่าวว่า เป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาที่เห็น แรงกดดันมหาศาล ในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างแรงงานในเดือนธันวาคมที่ประกาศออกมาสูงกว่าที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ ปรับตัวขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือนเมษายน ทั้งยังเป็นการบ่งชี้ว่า นายจ้างเต็มใจที่จะจ่ายค่าจ้างมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกจ้าง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- นักวิเคราะห์จาก OANDA ชี้ว่า ราคาน้ำมันอาจแตะ 100 เหรียญต่อบาร์เรล จากภาวะอุปสงค์สูงกว่าอุปทาน เนื่องจาก (1) ขาดแคลนกำลังการผลิตน้ำมัน (2) ขาดการลงทุนใหม่ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ยังชี้ว่า น้ำมันอาจขึ้นไปแตะ 100 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้ได้ หาก (1) เศรษฐกิจจีนไม่ชะลอตัว (2) การระบาดของโควิดคลี่คลาย (3) โอเปคพลัสมีข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังการผลิต
o สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 82.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2564
o ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 95 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 84.67 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2564
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ coronavirus รายใหม่ 1.35 ล้านราย ตามการนับของ Reuters ซึ่งเป็นยอดรวมรายวันสูงสุดสำหรับประเทศใด ๆ ในโลกเนื่องจากการแพร่กระจายของตัวแปร Omicron ที่ติดต่อได้สูงไม่มีสัญญาณการชะลอตัว
- เยอรมนีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อเมื่อวันอังคาร นับเป็นยอดสูงสุดใหม่ 80,430 ราย เสียชีวิต 384 ราย