ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นและสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -4.57 เหรียญ หรือ -0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1816.16 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวลดลง -0.3% มาอยู่ที่ระดับ 1816.5 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวลดลง -11.7 เซนต์หรือ -0.51% มาอยู่ที่ระดับ 22.94 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 976.21 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.01 จุด หรือ 0.01% มาอยู่ที่ระดับ 95.18 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.08 เบสิสพ้อยท์ มาอยู่ที่ระดับ 1.788 %
- นักบริหารการเงินเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.24 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์และกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.15-33.30 บาทต่อดอลลาร์
- อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สัญญาณของการเกิดภาวะ Stagflation เริ่มชัดเจนขึ้น มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญภาวะ Stagflation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเติบโตต่ำ และเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เผชิญอยู่เวลานี้คือ รายได้ชะลอตัว หนี้สินท่วม ค่าครองชีพสูงขึ้น แถมยังว่างงาน หรือการทำงานอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเร่งดำเนินการนโยบายเข้มงวดทางการเงินเพิ่มขึ้น หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ เพราะช่องว่างการผลิต (Output Gap) ของเศรษฐกิจไทยยังติดลบค่อนข้างมาก มีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่จำนวนมาก
- ดาลี่ ประธานเฟดสาขา San Francisco : การระบาดของเชื้อโอไมครอนที่นานขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง โดยดาลี่ กล่าวว่า โควิดคือเหตุผลหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เราจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาของเงินเฟ้อที่เกิดจากโควิดเพื่อให้อุปสงค์และอุปทานมีคความสมดุลมากขึ้น เราต้องปรับนโยบายเพื่อให้แน่ใจว่าราคาจะมีเสถียรภาพ การชะลอตัวของเศรษฐกิจเล็กน้อยด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้อุปสงค์ลดลงมาสอดคล้องกับอุปทานมากขึ้น เราต้องชักนำเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย สมควรแล้วที่เฟดต้องทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
- จอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขา New York คาดว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโอมิครอนที่จะมีระยะเวลายาวนานต่อไป ส่งผลกระทบต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานและปัญหาคอขวดการผลิต และยังประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตต่ำในช่วงในอีกหลายเดือนถัดไป และมองการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี่ที่ 3.5% มองอัตราการว่างงานจะลดต่ำลงไปอีกสู่ระดับ 3.5% ในปีนี้ ประเมินเงินเฟ้อจะลดสู่ระดับ 2.5% ในปี 2023 ใกล้เป้าหมายของเฟดและสู่ระดับ 2% ในปี 2022
- จอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขา New York ส่งสัญญาณโดยระบุว่า เฟดจะตัดสินใจปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่หลากหลาย และยังคงเป้าหมายที่การจ้างงานเต็มที่และเสถียรภาพของระดับราคา
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบ โดยหุ้นกลุ่มการเงินถ่วงตลาดลงอย่างหนัก หลังนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 4/2564 ของธนาคารสหรัฐขนาดใหญ่ในช่วงเริ่มต้นฤดูเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,911.81 จุด ลดลง 201.81 จุด หรือ -0.56%,
ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,662.85 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด หรือ +0.08%
ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,893.75 จุด เพิ่มขึ้น 86.94 จุด หรือ +0.59%
- ยอดสินค้าปลีกสหรัฐประจำเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง 1.9% จากความกังวลเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อโอไมครอน สินค้าขาดแคลน และภาวะเงินเฟ้อ โดยตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน หากไม่นับตัวเลขยอดขายรถและแก๊สโซลีน ยอดสินค้าปลีกสหรัฐลดลงถึง 2.5% ในเดือนธันวาคม
- นักวิเคราะห์จากธนาคาร Wells Fargo ระบุว่า ถึงแม้ตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐจะลดลง แต่ยังมีมุมมองเชิงบวก เนื่องจากการตัวเลขที่ปรับลดลงสะท้อนผลกระทบจากโอมิครอน แต่ถ้าหากนับรวมเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ซึ่งนับรวมเป็นยอดขายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ยังคงเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 12.9% และสูงกว่าที่ Wells Fargo คาดไว้ที่ 11%
- ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐปรับตัวลดลง 0.1% เป็นอีกสัญญาณชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจกำลังเข้าสู่การชะลอตัว
- นักวิเคราะห์จากธนาคาร Wells Fargo กล่าวว่า ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง 0.1% เทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งสัญญาณว่า ภาคการผลิตยังคงมีปัญหาห่วงโซ่การผลิต และยังคงมีปัญหาคอขวด
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดพุ่ง และปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งในรอบสัปดาห์นี้ หลังนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันที่จะเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้น 1.70 เหรียญ หรือ 2.1% มาอยู่ที่ระดับ 83.82 เหรียญ/บาร์ฺเรล
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้น 1.59 เหรียญ หรือ 1.9% มาอยู่ที่ระดับ 86.06 เหรียญ/บาร์เรล
- ไวทอล กรุ๊ป ผู้ผลิตน้ำมันสัญชาติเนเธอแลนดืชี้ว่า ราคาน้ำมันอาจปรับขึ้นสูงได้ต่อจากภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัว จากปัจจัย (1) การปรับขึ้นกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ทำได้ยาก (2) จะไม่มีการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิดในจีนที่จะฉุดอุปสงค์น้ำมันลงมาก เนื่องจากจีนใช้นโบาย “ความอดทนต่อโควิด-19 เป็นศูนย์ หรือ Zero-tolerance” และชี้ว่า ระดับราคาน้ำมันปัจจุบันเป็นราคาที่เหมาะสม และการเกิดภาวะที่ซื้อน้ำมันในปัจจุบันแพงกว่าการทำสัญญาซื้อน้ำมันในอนาคต (Backwardation) เป็นสัญญาณขาขึ้นของราคาน้ำมัน
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- ศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ชี้ว่า เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2024 โดยจะอยู่ที่ระดับ 6 - 9% เป็นผลมาจากปริมาณเงินที่ยังคงล้นระบบที่พิมพ์ออกมาในช่วงสองปีที่ผ่านมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะสู้กับเงินเฟ้อ เพราะไม่สามารถลดปริมาณเงินในระบบได้ รัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นที่การลดปริมาณเงิน M2 ในระบบ ซึ่งคาดว่าจะทำในปี 2024 ในขณะที่ปีนี้มีความเสี่ยงหลักคือ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปหรือมากเกินไป อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจเติบโตต่ำเงินเฟ้อสูง(Stagflation) ซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในที่สุด (recession)
- นักเศรษฐศาสตร์ จากแคปปิตอล อีโคโนมิค กล่าวว่า เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นจะกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้อ่อนแอลง พร้อมคาดว่า ปัญหากำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นจะไม่จบลงในเร็วๆนี้ บ่งชี้จากตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือนธันวาคมที่ลดลงส่งสัญญาณการบริโภคชะลอตัวลง และเป็นการส่งสัญญาณต่อเนื่องไปจนถึงปี 2022 และที่แย่กว่านั้นคือ อัตราเงินเฟ้อคาดหวังระยะยาวในเดือนมกราคมปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 3.1% ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 11ปี
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ยอดผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 7 วันในอังกฤษและสเปนเริ่มลดลง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและนักการเมืองเตือนไม่ให้ลดการป้องกัน โดยกล่าวว่ายังวางใจยอดผู้ติดเชื้อไม่ได้ เพราะยังคงมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของประเทศในทวีปยุโรป
- อินเดียขยายเวลาห้ามจัดชุมนุมใน 5 รัฐ จากกรณียอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนพุ่ง การระงับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 22 ม.ค. และจะอนุญาตให้มีเพียงการจัดกิจกรรมชุมนุมทางการเมืองในร่มที่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่า 300 คน หรือ 50% ของความจุของสถานที่
- กระทรวงสาธารณสุขของอินเดียเปิดเผยว่า อินเดียพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 268,833 รายภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมพุ่งขึ้นเป็น 36.84 ล้านราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มขึ้น 402 ราย ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 485,752 ราย
- ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 6,929 ราย มีผู้เสียชีวิต 13 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศระลอกใหม่อยู่ที่ 107,979 ราย
- รายงานจากประเทศไทยระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อโอไมครอนรายแรก ซึ่งเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์วัย 86 ปี
ที่มาจาก : Infoquest, CNBC , Reuters