ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ทองปิดพุ่งได้ แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและรัสเซีย
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 24.35 เหรียญ หรือ 1.34% มาอยู่ที่ระดับ 1838.57 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวขึ้น 25.1 เหรียญ หรือ 1.38% มาอยู่ที่ระดับ 1839.0 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวขึ้น 63.3 เซนต์หรือ 2.7% มาอยู่ที่ระดับ 24.104 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ซื้อเข้า 5.23 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 981.44 ตัน ภาพรวมเดือนมกราคม ซื้อสุทธิ 5.78 ตัน
- นักวิเคราะห์จาก IG Market ระบุว่า ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครนกับรัสเซีย อาจเป็นแรงสนับสนุนการซื้อทองคำในบางส่วนเท่านั้น แต่หากมองในภาพใหญ่แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องรองเมื่อเทียบกับทิศทางนโยบายของเฟด
- นักวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบุ ทองคำมีแรงซื้อทางเทคนิคหลังเบรกทะลุแนวเทรนไลน์ขาลงขึ้นมาได้ โดยทองคำได้ฝ่าแนวต้านล่าสุดที่ระดับ $1830 เรียบร้อยแล้ว เป้าหมายถัดไปคือจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 บริเวณ $1880 สาเหตุมาจาก US Dollar Index ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 0.4% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีก็ปรับขึ้นมาประมาณ 6bps ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนหันมาสนใจในทองคำแทน
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.11 จุด หรือ -0.12% มาอยู่ที่ระดับ 95.62 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.013 มาอยู่ที่ระดับ 1.866 % หลังจุดสุงสุดที่ 1.902% เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2562
- ค่าเงินบาท ปรับตัวลดลง -0.002 บาท หรือ -0.006% มาอยู่ที่ระดับ 32.925 บาทต่อดอลลาร์
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมันอายุ 10 ปีปรับขึ้นเหนือ 0% เป็นครั้งแรกในรอบสามปี อาจเป็นการบ่งชี้ว่ายุโรปกำลังกลับเข้าสู่สภาวะดอกเบี้ยกู้ยืมสภาพปกติ จากที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเยอรมันมีค่าติดลบมาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการเข้าซื้อพันธบัตรของ ECB ที่กดดันอัตราผลตอบแทน ทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเงินเฟ้อที่ในอดีตต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย แต่ในตอนนี้ อัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 0.025% ทั้งนี้ นักกลยุทธ์จาก ING ชี้ว่า อาจเป็นสัญญาณว่า ยุคอัตราผลตอบแทนต่ำเป็นเวลานาน กำลังจะหมดไป
- ผุ้ว่าการธนาคารอังกฤษ แอนดรู ไบเลย์ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในสหราชอาณาจักรอาจกระทบถึงอุปสงค์, การจ้างงาน และในท้ายที่สุดเงินเฟ้อจะปรับลดลง และส่งสัญญาณว่า ให้ความสำคัญกับภาวะดังกล่าวและชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษไม่ต้องดำเนินการใดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย พร้อมระบุว่าเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ที่แท้จริงลดลง กดดันอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ นำไปสู่การว่างงานสูงขึ้น เงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงในท้ายที่สุด
- ต่างชาติแห่ซื้อบอนด์ไทย หวังเก็งกำไรค่าเงินบาท เน้นถือพันธบัตรระยะสั้น ขณะพันธบัตรระยะยาวเผชิญแรงขายต่อเนื่อง ดันยีลด์พุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ตั้งแต่เปิดศักราชใหม่ปี 2565 เป็นต้นมา เงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตร (บอนด์) ไทยต่อเนื่อง ล่าสุดวานนี้ (18 มกราคม) ซื้อสุทธิอีก 1.4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดบอนด์ไทยรวมแล้วกว่า 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการซื้อสุทธิในบอนด์ระยะสั้น 3.3 หมื่นล้านบาท และซื้อสุทธิในบอนด์ระยะยาว 2.7 หมื่นล้านบาท นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องด้วย
- พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า บอนด์ยีลด์ที่เพิ่มสูงขึ้นน่าจะเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) การส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยและลดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากบอนด์ยีลด์ตัวยาวของไทยจะค่อนข้างเซนซิทีฟกับผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.5% เป็น 1.8% ไปแล้ว (2) อีกหนึ่งปัจจัยน่าจะเป็นผลมาจากการที่ผู้เล่นไทยเองมีความกังวลถึงแผนกู้เงินเพิ่มในปีนี้ของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่ออุปทานในตลาด ทำให้มีการรอ Buy on Dip ขณะเดียวกันอาจมองว่าในจังหวะนี้บอนด์ยังไม่น่าสนใจ คนที่มีของอยู่จึงขายออกด้วย
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ดัชนี Nasdaq เข้าสู่การพักฐานแล้วในวันพุธ เนื่องจากปรับตัวลง 10.7% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2564 โดยดัชนี Nasdaq ปรับตัวลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.9% เมื่อคืนนี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,028.65 จุด ลดลง 339.82 จุด หรือ -0.96%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,532.76 จุด ลดลง 44.35 จุด หรือ -0.97% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,340.26 จุด ลดลง 166.64 จุด หรือ -1.15%
- นักวิเคราะห์จากบริษัท Cresset Capital กล่าวว่า ความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยและการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของเฟดส่งผลให้นักลงทุนทุบขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทในภาคส่วนนี้จำเป็นต้องพึ่งพาอัตราดอกเบี้ยต่ำในการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนด้านนวัตกรรม
- ราคาหุ้นและหุ้นกู้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนปรับพุ่งขึ้น หลังมีรายงานว่า รัฐบาลจีนอาจผ่อนคลาย กฎเกณฑ์ที่ไม่ให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าถึงเงินดาวน์ที่ลูกค้าวางเงินเพื่อซื้อบ้าน การผ่อนคลายดังกล่าวทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีสภาพคล่องมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะวิกฤติการผิดชำระหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน
- ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ สูงที่สุดในรอบ 9 เดือน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และมีตัวเลขหลัปรับฤดูกาลที่ 1.702 ล้านหลังในเดือนธันวาคม สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.65 ล้านหลัง แสดงถึงตลาดบ้านที่ยังแข็งแกร่งแม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต้นทุนวัตถุดิบการก่อสร้างบ้านที่สูงขึ้น และภาวะการขาดแคลนแรงงานรที่ทำให้การก่อสร้างที่มีระยะเวลายามนานขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- อัตราเงินเฟ้อในแคนาดาสูงที่สุดในรอบ 30 ปี เพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางแคนาดาจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 4.8% เป็นไปตามที่ตลาดคาด ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 4.7% และสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อธนาคารกลางที่วางไว้ที่ 1-3% มาติดต่อกันเก้าเดือน เพิ่มความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมในสัปดาห์หน้า แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดโอมิครอน
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อังกฤษทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปีในเดือนธ.ค. ที่ 5.4% มากกว่าในเดือนพ.ย.ที่ขยายตัว 5.1% ตลาดจับตามองการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 3 ก.พ.อย่างใกล้ชิด ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษเป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรกที่เริ่มปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืม หลังจากรักษาระดับต่ำในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ผุ้ว่าการธนาคารอังกฤษ แอนดรู ไบเลย์ กล่าวว่า ตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักรที่มีความตึงตึวอย่างมาก สร้างความกังวลพร้อมกดดันให้เกิดการเจรจาเพื่อปรับขึ้นค่าแรง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีหลังเกิดเหตุระเบิดท่อส่งน้ำมันของตุรกี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลำเลียงน้ำมันจากอิรักไปยังตุรกี นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนหลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับเพิ่มคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกปีนี้
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.53 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 86.96 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2557
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 93 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 88.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2557
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปี 2565 อีก 200,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 3.3 ล้านบาร์เรล/วัน ส่วนอุปสงค์น้ำมันในปี 2564 นั้น EIA ได้ปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการขึ้นอีก 200,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 5.5 ล้านบาร์เรล/วัน
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุในรายงานประจำเดือนว่า กำลังการผลิตน้ำมันโลกจะตามทันความต้องการใช้น้ำมันได้ทันในเร็วๆ นี้ เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ แคนาดา และบราซิลตั้งเป้าเร่งผลิตน้ำมันให้ได้ปริมาณเทียบเท่าระดับสูงสุด ในณะที่ซาอุดิอารเบียและรัสเซียอาจผลิตได้มากกว่าระดับสูงสุดเดิม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อโอไมครอนไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากต่อประเทศที่ต้องการใช้น้ำมัน
- นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ เวลา 23.00 น.ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของเอสแอนด์พี โกลบอล แพลทส์คาดการณ์ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะลดลงเพียง 700,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 14 ม.ค
- ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น จะกลายเป็นประเด็นทางการเมือง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ราคาพลังงานท้ั้งน้ำมันและก๊าซ และไฟฟ้า มีความอ่อนไหวต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจค่อนข้างมาก ส่งผลต่อการเลือกตั้ง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เป้นค่าใช้จ่ายสัดส่วนใหญ่ของครัวเรือน หากราคาน้ำมันปรับไปสูงถึงระดับใกล้ 100 เหรียญต่อบารร์เรลและยังมีท่าทีจะปรับขึ้นต่อ มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้กำหนดนโยบายจะเข้าแทรกแซงราคาน้ำมัน
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ฝรั่งเศสรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่ประจำวันจันทร์ทำจุดสูงสุดที่ 464,769 รายต่อวัน เสียชีวิต 288 ราย นับเป็นตัวเลขสูงสุดของฝรั่งเศสตั้งแต่ที่มีโรคไวรัสโคโรน่า
- เยอรมนีรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ประจำวันอังคารทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 112,323 ราย เสียชีวิต 239 ราย นับเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่ที่มีโรคไวรัสโคโรน่า
- นายกรัฐมนตรีอังกฤษเตรียมยกเลิกมาตรการคุมโควิด หลังเชื่อถึงจุดสูงสุดของการระบาดแล้ว
- Boris Johnson นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยืนยันที่จะกลับมาใช้แพลน A หลังจากที่การใช้แพลน B จะสิ้นสุดในวันที่ 27 มกราคมนี้ โดยแพลน A จะมีข้อกำหนด (1) ผ่อนปรนการบังคับใช้ตามกฎหมายในการให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน หรือการใช้ขนส่งสาธารณะ แต่ยังคงแนะนำให้ใช้ในบางสถานที่ (2) สิ้นสุดการทำงานจากที่บ้าน (WFH) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการบังคับตามกฎหมายให้ผู้ที่ผลตรวจโควิดเป็นบวกกักตัวในที่พักอาศัย
- WHO กล่าวว่า omicron จะไม่ใช่เชื้อโควิดล่าสุด เนื่องจากมีผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มขึ้น 20% ในหนึ่งสัปดาห์ Dr.Bruce Aylward เจ้าหน้าที่อาวุโสของ Who เตือนว่าการแพร่เชื้อในระดับสูงทำให้ไวรัสมีโอกาสแพร่พันธ์และกลายพันธ์มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงในรูปแบบอื่นที่จะเกิดขึ้นการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 20% ทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีรายงานผู้ป่วยทั้งหมดประมาณ 19 ล้านราย WHO เตือนซ้ำว่าการไม่เท่าเทียมด้านการกระจายวัคซีนของทั้งโลกทำให้อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันต่ำในประเทศกำลังพัฒนาส่งผลให้ประชากรส่วนมากอาจทำให้เกิดเชื้อสายพันธ์ใหม่
ข่าวเกี่ยวอื่นๆ
- Blinken รมต.ต่างประเทศของสหรัฐ กล่าวว่า รัสเซียอาจเข้าโจมตียูเครนโดยมีการเตือนล่วงหน้าในระยะเวลาที่สั้นมากๆ จากการที่เขาเพิ่งเข้าพบปะกับประธานาธิบดียูเครน นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า สหรัฐและพันธมิตรจะตอบกลับอยางแข็งแกร่งหากมีการโจมตีจากรัสเซีย ในวันศุกร์นี้ นายบลิงเคน จะพบกับรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย นายเซอร์เก ลาฟรอฟ ในกรุงเจนีวาเพื่อรับรู้สภาวะที่แท้จริงและเจตนาของรัสเซียว่าเป็นเช่นใด
ที่มาจาก : Reuters, Bloomberg, FXstreet, Infoquest, Kitco, The Guardian