
ไฮไลท์ 3 ข่าวเด่น
- สหรัฐฯประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร(Nonfarm-Payroll) ออกมาดีเกินคาดอย่างมาก Bond Yield พุ่งสูงสุดในรอบ 25 เดือนยืนเหนือระดับ 1.9% โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เพิ่มขึ้นถึง 467,000 ตำแหน่งในเดือนมกราคม สูงกว่าคาดการณ์ที่ 125,000 ตำแหน่งอย่างมาก
- นักกลยุทธ์จากธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ปัจจัยหลักที่สนับสนุนค่าเงินบาทแข็งแกร่ง คือ การอ่อนค่าของดอลลาร์ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งสัญญาณแนวนโยบายการเงินที่เข็มงวดของธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในวันพฤหัส
- นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ประเมินว่า ธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ หลังจากธนาคารกลางยุโรปเริ่มชี้ความเป็นไปได้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ โดยคาดว่า ในปีนี้ ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนกันยายนและธันวาคมของปีนี้ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0% ในสิ้นปีนี้
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ - ทองคำ
- บริษัทหลักทรัพย์ TD ระบุว่า จากการติดตามเม็ดเงินไหลเวียนเข้า SDPR ETF พบว่า ตลาดเริ่มมีความสนใจซื้อทองคำ ในขณะที่การที่เฟดยังมีท่าทีใช้นโยบายการเงินเข้มงวดยังเป็นปัจจัยที่ยับยั้งการไหลเวียนของเม็ดเงินเข้าสู่ทองคำ
- นักวิเคราะห์จากธนาคาร UBS คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อของสหรัฐจะถึงจุดสูงสุดในไตรมาสนี้ และดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้น ทองคำจะปรับตัวลงสู่ระดับ 1,650 เหรียญต่อออนซ์ภายในสิ้นปีนี้
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ -ธนาคารกลาง, อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจ
- นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคาร Mizuho ระบุว่า ECB สร้างความแปลกใจให้กับตลาด ส่งสัญญาณทิศทางนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า โดยประธานธนาคารกลาง ECB เลิกกล่าวย้ำคำว่า “มีโอกาสน้อยมากที่จะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2022” พร้อมระบุว่าได้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- นักวิเคราะห์จาก HSBC ระบุว่า ปัจจุบันธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ส่งสัญญาณนโยบายการเงินเข้มงวดค่อนข้างในท่าทีแข็งกร้าว จะทำให้ธนาคารกลางอังกฤษอยู่ในสถานการณ์ที่ยากในการใช้นโยบายการเงินเข้วมงวดให้สอดคล้องกับความคาดหวังของตลาด ซึ่งจะกดดันค่าเงินปอนด์ในระยะยาว
- นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ประเมินว่า ธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ หลังจากธนาคารกลางยุโรปเริ่มชี้ความเป็นไปได้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ โดยคาดว่า ในปีนี้ ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนกันยายนและธันวาคมของปีนี้ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0% ในสิ้นปีนี้
- นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคาร Mizuho วิเคราะห์ว่า การที่เหล่าธนาคารกลางต้องการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกนั้น เนื่องมาจากต้องการให้มีความน่าเชื่อถือในการจัดการเงินเฟ้อ แม้ว่า ในระยะยาว ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการคาดการณ์เงินเฟ้อค่อนข้างมากก็ตาม
- นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า เหล่าธนาคารชั้นนำของโลกกำลังจะใช้นโยบายทางการเงินแบบหดตัว ดึงสภาพคล่องออกจากระบบครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยประเมินว่าสภาพคล่องกว่า 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐจะถูกดึงออกในช่วงระบะ 12 เดือนข้างหน้า และระบุว่ามูลค่า 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐใหญ่กว่า โดยคิดเป็น 4.5เท่าของการลดสภาพคล่องในปี 2018 ซึ่งมีมูลค่าเพียง 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังปรัะเมินว่าขนาดงบดุลของธนาคารกลางใหญ่ที่สุด 4 แห่งจะมีจุดสูงสุดในเดือนพฤษภาคมนี้และจะปรับลดลงหลังจากนั้น
- นักกลยุทธ์จากธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ปัจจัยหลักที่สนับสนุนค่าเงินบาทแข็งแกร่ง คือ การอ่อนค่าของดอลลาร์ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งสัญญาณแนวนโยบายการเงินที่เข็มงวดของธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในวันพฤหัส
มุมมองนักวิเคราะห์ต่างประเทศ - น้ำมัน
- นักวิเคราะห์น้ำมันจาก PVM บริษัทนายหน้าค้าน้ำมัน ระบุว่า พรีเมียมจากปัจจัยความตึงเครียดทางรัฐศาสตร์ ได้ซึมซับเข้าไปในราคาน้ำมันแล้ว รวมถึงประเด็นความขัดแย้งระกว่างรัสเซียกับยูเครน และประเด็นการโจมตีโดยกลุ่มกบฎฮูตีในเยเมน
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, FxEmpires