ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวก เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 0.4% มาอยู่ที่ระดับ 1,827.86 เหรียญ หลังจากแตะระดับสูงสุดที่ระดับ 1,828.12 นับตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวขึ้น 0.3% มาอยู่ที่ระดับ 1,827.90 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวขึ้น 14.9 เซนต์หรือ 0.65% มาอยู่ที่ระดับ 23.184 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 4.36 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,015.96 ตันภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ขายสุทธิ 1.79 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 40.3 ตัน
- นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก Commerzbank กล่าวว่า ทองคำแสดงความแข็งแกร่งโดยเปรียบเทียบ จากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-Farm Payroll) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ไม่กระทบต่อราคาทองคำ
- นักกลยุทธ์จาก RJO Futures ระบุว่า ตลาดยังมีแนวโน้มเอนเอียงไปทางสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง สนับสนุนการซื้อทองคำ แต่ความกังวลในตลาดตอนนี้ยังคงเป็น (1)อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงต่อไปเท่าใด และ (2) ระดับความเข้มงวดของนโยบายการเงินของเฟดมากน้อยเพียงใด
- นักวิเคราะห์จาก OANDA ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีความชัดเจนค่อนข้างมากเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงินเข้มงวด และกำลังจะเข้มงวดมากขึ้นหากแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และหากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อในวันพฤหัสนี้มากกว่าที่ตลาดคาดจึงกระตุกความกังวลมากขึ้นและจะส่งแรงกระเทือนทั่วทั้งตลาด
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดทะลุ 1.96% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2562 ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.14 จุด หรือ 0.15% มาอยู่ที่ระดับ 95.63 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.046% มาอยู่ที่ระดับ 1.954%
- Morgan Stanley มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับค่าเงินยูโร พร้อมคาดว่า ECB จะเผยมุมมองนโยบายการเงินเข้มงวดในการประชุมรอบเดือนมีนาคมนี้ จากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงจะสร้างความกังวลให้กับ ECB ส่งผลให้ ECB มีแนวโน้มจะปรับนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นในการประชุมเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้
- นักเศรษฐศาสตร์จาก UOB คาดว่า ECB จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า โดยระบุว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้น ECB จะยังคงดอกเบี้ยจนกว่าจะยุติการเข้าซื้อทรัพย์สินภายใต้โครงการเงินช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด ( Pandemic Emergency Purchase Programme | PEPP)
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 2% ในวันอังคาร โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า ความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน อาจปูทางให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 1.96 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 89.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 1.91 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 90.78 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐได้ออกมากล่าวเตือน หากรัสเซียบุกโจมตียูเครน จะยุติโครงการท่อส่งก๊าซนอร์ด สตรีม 2 (Nord Stream 2)
- นักวิเคราห์จาก ANZ Research กล่าวว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบจะปรับตัวลงต่อ จากมุมมองประเด็นการผลิตน้ำมันจากอิหร่านที่จะเข้ามาเพิ่มอุปทานในตลาดน้ำมัน พร้อมระบุว่า การเจรจาดังกล่าวมีความคืบหน้ากำลังจะบรรลุข้อตกลง ซึ่งจะเป็นการฟื้นกำลังผลิตน้ำมันจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ถูกคว่ำบาตร เข้าสู่ตลาดโลก
ข่าวเกี่ยวกับหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2562 ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นขานรับแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงหุ้นแอมะซอน และแอปเปิล
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,462.78 จุด เพิ่มขึ้น 371.65 จุด หรือ +1.06%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,521.54 จุด เพิ่มขึ้น 37.67 จุด หรือ +0.84%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,194.45 จุด เพิ่มขึ้น 178.79 จุด หรือ +1.28%
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค.ของสหรัฐซึ่งประกาศในวันพฤหัสนี้ จะพุ่งขึ้น 7.2% ปีต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2525
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ฝรั่งเศสเผย “ปูติน” ตกลงไม่ซ้อมรบใกล้ยูเครนในตอนนี้ เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ภายหลังจากการหารือระหว่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส ปธน.ปูตินได้ให้คำมั่นว่าจะไม่ดำเนินการทางการทหารใด ๆ ใกล้กับพื้นที่ยูเครนในขณะนี้ ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นนอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสระบุเพิ่มเติมว่า ปธน.ปูตินยังเห็นพ้องในการถอนกองกำลังทหารที่เข้าร่วมการฝึกในเบลารุสที่มีพรมแดนติดกับยูเครนเมื่อการซ้อมรบสิ้นสุดลง
- สหรัฐและยุโรป ตกลงความร่วมมือ เพื่อหาแนวทางไม่ให้เกิดการปั่นป่วนในอุปทานก๊าซธรรมชาติในยุโรป ความร่วมมือดังกล่าวมีที่มาจาก ความกังวลความตึงเครียดระหว่างการเพิ่มกำลังทหานตามแนวชายแดนยูเครน จากรัสเซีย ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรป
- สหรัฐและญี่ปุ่นตกลงยกเลิกภาษีนำเข้าเหล็กกล้าที่ตั้งไว้สมัยอดีตประธนาธิบดีทรัมป์ สหรัฐเตรียมประกาศงดจัดเก็บภาษี 25% สำหรับการนำเข้าเหล็กกล้าจากญี่ปุ่นสูงสุดถึง 1.25 ล้านตันต่อปี พร้อมเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเตรียมรับมือกับการอุปทานเหล็กที่ล้นทั่วโลก ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากจีน
- สหรัฐฯ เรียกร้อง เกาหลีเหนือ ให้เห็นความสำคัญกับความเป็นอยู่ของประชาชน มากกว่าสนับสนุนงบประมาณโครงการนิวเคลียร์ และขีปนาวุธ ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ (UN) เรียกร้องเกาหลีเหนือ ให้ยกเลิกงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธแบบทิ้งตัวที่ผิดกฎหมาย และมุ่งมั่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนแทน
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลกมีจำนวน 399,577,389 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 5,773,623 ราย สหรัฐมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุดในโลก (78,383,853) รองลงมาคืออินเดีย (42,339,611) บราซิล (26,605,137)
· รัฐแคลิฟอร์เนียจ่อยกเลิกสวมหน้ากากอนามัยในอาคาร หลังโควิดลดลงมาก รัฐแคลิฟอร์เนียเตรียมยุติมาตรการบังคับให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ภายในอาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. เป็นต้นไป หลังยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ สำนักงานยังระบุว่า ตามระเบียบของรัฐบาลกลาง ประชาชนยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า
- ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในออสเตรเลียลดลง หลังจากเชื้อไวรัสโอมิครอนพุ่งสูงสุด ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียูมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในวันอังคาร เนื่องจากทางการเรียกร้องให้ประชาชนได้รับวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อเกือบ 2.4 ล้านราย หรือเกือบ 10% ของประชากรในประเทศออสเตรเลีย
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 13,182 ราย ผู้ป่วยสะสม 307,616 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,531,051 ราย เสียชีวิต 24 ราย เสียชีวิตสะสม 22,344 ราย
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
· นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 32.87 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.93 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ32.80-33.00 บาทต่อดอลลาร์
- นักกลยุทธ์จากธนาคารกรุงไทย ชี้ว่า ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากการที่มีแรงเทขายทำกำไรในทองคำเมื่อถึงแนวต้านสำคัญ
- นักบริหารการเงิน เผย ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลกระทบต่อไทยในเรื่องของพลังงาน โดยในช่วงเดือนม.ค. 65 ไทยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งประเมินว่าหากราคาน้ำมันยังขึ้นสูงถึงระดับ 90-100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล จะส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทย มีโอกาสพุ่งสูงเกินกว่า 3% ได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนชะลอลงจากราคาพลังงานที่แพงขึ้น ทั้งค่าไฟ ค่าก๊าซหุงต้ม รวมถึงอาหารสำเร็จรูปที่อาจปรับราคาขึ้นด้วย และต้องจับตาความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครนต่อไป เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศ และหากความขัดแย้งยืดเยื้อไปจนถึงครึ่งปีหลัง ก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากรัสเซียจำนวนกว่า 2 แสนคนอาจหายไปได้
- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ยืนยัน การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 5% และคาดการณ์ภาวะการส่งออกทั้งปี 65 โต 5-8% จากปี 64 ที่มีมูลค่า 271,314 ล้านดอลลาร์
ที่มาจาก : Reuters, Bloomberg, CNBC, FXstreet, FxEmpires, Infoquest , Kitco