ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวลดลง โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -5.84 เหรียญ หรือ -0.32% มาอยู่ที่ระดับ 1,826.69 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวลดลง -6.1 เหรียญ หรือ -0.33% มาอยู่ที่ระดับ 1,827.2 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวลดลง -12.3 เซนต์หรือ -0.53% มาอยู่ที่ระดับ 23.165 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 1,015.96 ตันภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ขายสุทธิ 1.79 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 40.3 ตัน
- SPI Asset Management ระบุว่า ถ้าเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ และหากธนาคารกลางชาติอื่นๆปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างพร้อมเพรียงกัน จะส่งผลให้ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจช่วยหลบเลี่ยงความเสี่ยงจากสภาวะดังกล่าว ในระยะยาว
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐประจำเดือนมกราคมพุ่งขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2021 สูงสุดในรอบ 40 ปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.2% และสูงกว่าระดับ 7.0% ในเดือนธันวาคม โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น และอุปทานลดลง
- หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์จาก Monex Europe ระบุว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาล่าสุดตอกย้ำความมั่นใจของการคาดการณ์ดอกเบี้ยในระยะสั้นของตลาดว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมีนาคม แม้ว่าจะยังมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ก่อนการประชุมเฟดเดือนมีนาคม
- นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก BMO Capital Markets มีมุมมองว่า แม้ว่าการรายงานตัวเลขเิงนเฟ้อจะไม่ทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% แต่ก็ยังคงมีแรงกดดันต่อเนื่อง จากการที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ลดลงตามที่เฟดคาดหวัง
- นักเศรษฐศาสตร์จาก TD Securities ชี้ว่า การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเดือนมกราคม เพิ่มความน่าจะเป็นที่เฟดจะตอบโต้ด้วยนโยบายการเงินเข้มงวด แต่ทางเรายังคงคาดว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนมีนาคมนี้ แต่หากมีการรายงานเงินเฟ้อที่ยังคงยืดเยื้อต่อไปอีกในเดือนกุมภาพันธ์ จะเร่งให้เฟดเร่งความเร็วในการใช้ขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงเร่งความเร็วในการลดขนาดงบดุลธนาคารกลาง
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากวาณิชธนกิจ NatWest Market ชี้ว่า ปัจจัยที่เคยผลักดันเงินเฟ้อในปี 2021 กำลังจะลดหายไป คือ เงินเฟ้อในกลุ่มสินค้า(goods) โดยเฉพาะยานยนต์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น และรูปแบบเงินเฟ้อจะปรับเปลี่ยนไปสู่ภาคบริการ (services) ได้แก่ ค่าแรง และค่าเช่า ซึ่งรูปแบบเงินเฟ้อที่มีความยืดเยื้อปรับลดลงได้ยาก(persistent) จะกลายเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันเงินเฟ้อไปตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2022
- ยุโรปปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อตามอุปทานที่หยุดชะงักของวิกฤตพลังงาน ประธาน Bundesbank บ่งชี้ว่า ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้ คณะกรรมาธิการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อรายปีในเขตยูโรจะเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในปี 2564 เป็น 3.5% ในปี 2565 จากนั้นจะลดลงเหลือ 1.7% ในปี 2566 ภาพรวมอัตราเงินเฟ้อรวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมในยุโรปยังคงขึ้นอยู่กับความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.15 จุด หรือ 0.16% มาอยู่ที่ระดับ 95.79 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.089% มาอยู่ที่ระดับ 2.043%
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีปรับขึ้นแตะระดับ 2% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2019 หลังจากการรายงานอัตราเงินเงินเฟ้อที่ร้อนแรง
- SPI Asset Management คาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง แม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับสูงขึ้น เป็นผลมาจากเหล่าธนาคารกลางชาติอื่นๆกำลังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันเงินเฟ้อเช่นกัน
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America Merrill Lynch คาดการณ์ ค่าสกุลเงินยูโรดอลลาร์จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 1.10 ดอลลาร์ต่อยูโรในปีนี้ และเริ่มฟื้นตัวสู่ระดับ 1.15 ดอลลาร์ต่อยูโรในปี 2023 และสู่ระดับ 1.20 ดอลลาร์ต่อยูโรในปี 2024 แต่ระบุว่า แม้การคาดการณ์ตามแนวทางข้างต้นอาจจะเกิดยาก แต่ทางธนาคารก็จะยืนยันในการคาดการณ์นี้
- ธนาคารกลางญี่ปุ่นยัน ยังไม่หารือเรื่องหยุดใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า BOJ จะไม่หารือเรื่องการหยุดใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ และจะไม่ทำเช่นนั้นในระหว่างที่นายคุโรดะอยู่ในตำแหน่งจนถึงเดือนเม.ย. 2566 ทั้งนี้“การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นล่าช้ากว่าสหรัฐและประเทศในยุโรป และเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคนั้นอยู่ที่เพียง 0.5%” นายคุโรดะกล่าว พร้อมเสริมว่า “ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดมาตรการกระตุ้นด้านการเงิน หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายไปเป็นแบบคุมเข้มมากขึ้น”
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุด เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์จะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันมากขึ้นหลังจากนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงถึง 1% ภายในเดือนก.ค.นี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,241.59 จุด ลดลง 526.47 จุด หรือ -1.47%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,504.08 จุด ลดลง 83.10 จุด หรือ -1.81% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,185.64 จุด ลดลง 304.73 จุด หรือ -2.10%
- คณะกรรมาธิการยุโรปลดการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้ที่ 4% จากการคาดการณ์เดิม 4.3% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนปีนี้อาจแตะ 3.5% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อนที่ 2.2%
- ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จำนวนอยู่ที่ 223,000 ราย ปรับตัวลดลง 16,000 รายจากสัปดาห์ก่อนหน้า และน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 230,000 ราย
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยได้ปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ดี บรรกาศการซื้อขายในตลาดได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 89.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 14 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 91.41 ดอลลาร์/บาร์เรล
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ยูเครนเริ่มปฏิบัติการซ้อมรบ โต้กลับรัสเซียซ้อมรบในเบลารุส ยูเครนเริ่มดำเนินการซ้อมรบเมื่อวานนี้ เพื่อตอบโต้การซ้อมรบของรัสเซียและเบลารุสที่เตรียมเดินหน้าซ้อมรบร่วมกันนาน 10 วัน ซึ่งยูเครนและชาติตะวันตกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมกำลังทางการทหารของรัสเซียในภูมิภาค โดยกลุ่มนาโต ชี้ว่า การซ้อมรบร่วมระหว่างรัสเซียและเบลารุสครั้งนี้ ถือเป็นการระดมอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังประเทศอดีตสหภาพโซเวียตครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นและจะมีขึ้นไปจนถึงวันที่ 20 ก.พ.
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ไทย รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน รวม 15,242 ราย หายป่วยกลับบ้าน 8,955 ราย หายป่วยสะสม 258,841 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 111,393 ราย และ เสียชีวิต 23 ราย
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐคาดการณ์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตสะสมจากโรคโควิด-19 ในสหรัฐมีแนวโน้มพุ่งแตะ 978,000 รายภายในช่วงต้นเดือนมี.ค
- รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติให้ขยายการประกาศภาวะกึ่งฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและอีก 12 จังหวัดต่อไปอีกจนถึงวันที่ 6 มี.ค. เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
- เกาหลีใต้พบติดโควิดรายใหม่พุ่งนิวไฮ 54,122 ราย จากคลัสเตอร์ในโซล ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งเกาหลี (KCDC) เปิดเผยในเมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 54,122 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศเพิ่มเป็น 1,185,361 ราย ท่ามกลางแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน รายงานระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดเพิ่มขึ้นจากระดับ 49,567 รายของวันก่อนหน้า และสูงกว่าระดับ 54,000 รายเป็นครั้งแรก
- ออสเตรเลียไฟเขียวใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้น ออสเตรเลียรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่กว่า 25,000 รายและผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 50 รายในเมื่อวานนี้ หลังจากสำนักงานผลิตภัณฑ์รักษาโรคแห่งออสเตรเลีย ได้อนุมัติการใช้งานวัคซีนแบบเฉพาะกาลให้กับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อฉีดให้กับชาวออสเตรเลียที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเมื่อวันพุธ อย่างไรก็ดี TGA ระบุว่า วัคซีน mRNAของบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นายังคงเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เหมาะสมมากกว่าสำหรับชาวออสเตรเลีย ไม่ว่าพวกเขาจะเคยฉีดวัคซีนชนิดใดมาก่อน หากบุคคลใดต้องการฉีดวัคซีนแวกเซอเรียของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้นจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- นิวซีแลนด์ประท้วงต้านฉีดวัคซีนหน้ารัฐสภาต่อเนื่องวันที่ 3 ผู้ชุมนุมยังคงปักหลักประท้วงหน้าอาคารรัฐสภาต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ในวานนี้ และปฏิเสธที่จะยุติการชุมนุม เพื่อต่อต้านนโยบายการบังคับฉีดวัคซีนและสวมหน้ากากอนามัย
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.63 บาทต่อดอลลาร์
- นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย มองกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 32.65-32.85 บาทต่อดอลลาร์ และระบุสำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท แม้ว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมากกว่าคาดจนหลุดแนวรับที่ได้ประเมินไว้ จากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อทั้งหุ้นไทยและบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ แต่แนวโน้มเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หลังข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ เร่งขึ้นสูงกว่าคาด ก็กลับมากดดันให้ตลาดปิดรับความเสี่ยงและหนุนให้เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น
- ททท. ชี้ท่องเที่ยวไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว หวังทุกฝ่ายร่วมพลิกฟื้นสู่ภาวะปกติในปี 67 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวภายใต้แผนดิจิทัลทัวริสซึมและการสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวของไทยว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 การกลับมาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะต้องเป็นแบบพลิกโฉม โดยเน้นเป้าหมายไปที่นักท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากกว่าเน้นเชิงปริมาณเหมือนในอดีต และสามารถกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้งานเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีความยั่งยืน
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest , Kitco, The guardian