ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำได้แรงหนุน หลังนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่รัสเซียอาจจะบุกยูเครนในสัปดาห์หน้า
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 32.05 เหรียญ หรือ 1.75% มาอยู่ที่ระดับ 1,858.76 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ปรับตัวขึ้น 2.9 เหรียญ หรือ 0.16% มาอยู่ที่ระดับ 1,860.4 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ปรับตัวขึ้น 45.9 เซนต์หรือ 1.98% มาอยู่ที่ระดับ 23.637 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 3.48 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,019.44 ตันภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ซื้อสุทธิ 1.69 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 43.78 ตัน
- ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุนจาก Bleakley Advisory Group มีมุมมองเชิงบวกกับราคาทองคำและโลหะเงิน จากเหตุผลว่า หากเฟดใช้นโยบายการเงินเข้มงวดมากเกินไปจนส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ในที่สุดเฟดจะยอมถอยการใช้นโยบายการเงินเข้มงวด ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ จากการที่เฟดชะลอการใช้นโยบายการเงินเข้มงวด จนทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real yield) จะยังคงติดลบต่อไปและเป็นผลบวกต่อทองคำ
- นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า ราคาทองคำเริ่มปรับตัวขึ้นจากการที่นักลงทุนเริ่มแสวงทรัพย์สินที่จะช่วยปกป้องจากการสถานการณ์ที่หากเฟดใช้นโยบายการเงินเข้มงวดเกินไปจะฉุดเศรษฐกิจสหรัฐ พร้อมระบุว่า ทองคำอาจขึ้นเหนือระดับ 1,900 เหรียญได้ หากกองทัพรัสเซียเคลื่อนพลบุกยูเครน
- ประธานฝ่าย Word Market ของธนาคาร TIAA ชี้ว่า มีเม็ดเงินไหลเข้าทองคำจากกาที่ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง ทั้งจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และความกังวลเกี่ยวกับผผลกระทบจากการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยจะกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ขณะที่นักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน
- ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลเพิ่มขึ้น 0.56% แตะที่ 96.0860
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.08% มาอยู่ที่ระดับ 1.953%
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ปรับเพิ่มมุมมอง คาดการณ์เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้งในปีนี้ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น เพิ่มจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้ง
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดเป็นวันที่สองติดต่อกันในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากที่มีความกังวลอยู่แล้วเกี่ยวกับเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,738.06 จุด ลดลง 503.53 จุด หรือ -1.43%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,418.64 จุด ลดลง 85.44 จุด หรือ -1.90%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,791.15 จุด ลดลง 394.49 จุด หรือ -2.78%
ข่าวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
- ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุนจาก Bleakley Advisory Group กล่าวว่า รายงานตัวเลข CPI ที่มากกว่าที่คาดและ ตัวเลข CPI ของเดือนกุมภาพันธ์ก็อาจจะสูงเช่นกัน คำถามว่า “เมื่อไหร่เงินเฟ้อจะชะลอตัวลง” กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ตลาดจับตา
- ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ของ ING ชี้ว่า การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ สร้างแรงกดดันให้เฟดเพิ่มความดุดันในการขึ้นดอกเบี้ย ความคาดหวังนี้จะส่งผลลบต่อราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวม และจากการที่การเจรจาเจรจาประเด็นนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐและอิหร่านกำลังดำเนินไปด้วยดี เป็นอีกปัจจัยที่ฉุดราคาน้ำมันลง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ หลังจากเจ้าหน้าที่สหรัฐแสดงความเห็นว่ารัสเซียใกล้ที่จะบุกโจมตียูเครน ซึ่งอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำมันลดลง และราคาพุ่งขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. พุ่งขึ้น 3.22 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 93.10 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 0.9% ในรอบสัปดาห์นี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 3.03 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 94.44 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 1.3% ในรอบสัปดาห์นี้
- นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัทหลักทรัพ์ OANDA ระบุว่า ราคาน้ำมันหมดปัจจัยหนุน จากการที่มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจาประเด็นนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐและอิหร่านกำลังดำเนินไปด้วยดี และเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นจากตลาดเงินเริ่มมองเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น ถึงแม้ว่าตลาดน้ำมันจะอยู่ในาภาวะตึงตัวอย่างมาก แต่การปรับขึ้นของราคาน้ำมันเริ่มชะลอลง และหากค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงต่อ
- จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันเชลล์ออยล์ที่เพิ่มขึ้นรายสัปดาห์ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 22 แท่นจุดเจาะ อยู่ที่จำนวน 635 แท่นขุด เพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 และเพิ่มขึ้นปีก่อนถึง 60% หรือ 238 แท่นขุด
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- เจ้าหน้าที่ยูเครนเตือนทางการรัสเซียให้ชี้แจงถึงเหตุผลที่มีกองกำลังทหารรัสเซียบริเวณชายแดนยูเครนกว่า 100,000 นาย พร้อมทั้งยังมีเพิ่มมาอีกกว่า 30,000 นายภายใน 48 ชม.
- ประธานาธิบดีไบเดนแห่งสหรัฐให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว NBC เตือนให้ประชาชนชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในยูเครนหนีออกจากพื้นที่ ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษก็ประกาศเตือนให้ประชาชนชาวอังกฤษที่อาศัยในยูเครนให้ออกจากพื้นที่เช่นกัน
- ทางการสหรัฐเชื่อว่ารัสเซียตัดสินใจเข้ารุกรานยูเครนในสัปดาห์หน้า จากรายงานของ Nick Schifrin ผู้สื่อข่าวต่างประเทศและกลาโหมของ PBS NewsHour ที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กลาโหม 3 นาย
- รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาผ่อนปรนคำสั่งห้ามเข้าประเทศของชาวต่างชาติที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศซึ่งกำหนดขึ้นเมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นจากวงการธุรกิจและวิชาการ
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,900 ราย ผู้ป่วยสะสม 384,792 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,608,227 ราย เสียชีวิต 26 ราย เสียชีวิตสะสม 22,462 ราย
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอนุมัติในวันศุกร์ (11 ก.พ.) ให้ใช้ยาต้านไวรัสโควิด-19 ยาเบ็บเทโลวิแมบ (Bebtelovimab) ของบริษัทอิไล ลิลลี่ (Eli Lilly) กับประชาชนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งนับเป็นยาอีกตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน
- หลายประเทศในยุโรปเริ่มยกเลิกข้อบังคับเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะเรียกร้องให้รัฐบาลคงมาตรการเพื่อปกป้องประชาชน โดย สวีเดนยกเลิกข้อจำกัดด้านโควิด-19 ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (9 ก.พ.) ตามหลังเดนมาร์กและนอร์เวย์ที่ยกเลิกยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 จำนวนมากเมื่อวันที่ 1 ก.พ. แต่ยังคงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตร
- นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษได้ประกาศแผนว่าจะยกเลิกมาตรการกักตัวสำหรับผู้ที่พบเชื้อโควิดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ธนาคารกสิกรไทย มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์ที่ 14-18 ก.พ. ที่ 32.40-33.10 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดในวันศุกร์ที่ 11 ก.พ. ที่ 32.68 บาท/ดอลลาร์ ได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินทุนต่างชาติ โดยระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ. มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท และ 4.7 หมื่นล้านบาทตามลำดับ กรอบการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเงินดอลลาร์ฟื้นขึ้น หลังจากที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 7.5% ในเดือนม.ค. ซึ่งหนุนให้ตลาดประเมินโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps. ในการประชุมเฟดมี.ค.นี้ ดังนั้นทำให้ค่าเงินบาทแนวโน้มผันผวนและอ่อนค่าลง โดยเฉพาะกรณีที่ตลาดปิดรับความเสี่ยง กรอบวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.60-32.80 บาท/ดอลลาร์
- รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศบค. และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านท่องเที่ยวและกีฬา (ศปก.กก.) ร่วมกันเร่งพิจารณาแนวทางดำเนินการเปิดด่านชายแดนทางบกรับนักท่องเที่ยว พื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และสตูล คาดว่าน่าจะเปิดดำเนินการได้ประมาณ มี.ค.65
- ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงข่าวเปิด “ปีท่องเที่ยวไทย 2565” และ “Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters” เพื่อส่งสัญญาณให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ โดยยกโมเดล “DASH” เพื่อฟื้นการท่องเที่ยวไทยและช่วยฟื้นเศรษฐกิจในภาพรวม โดยมีเป้าหมายสร้างรายได้รวม 1.28 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 656,000 ล้านบาท (160 ล้านคน/ครั้ง) ตลาดต่างประเทศ 625,800 ล้านบาท (10 ล้านคน) ดันยอดรายจ่ายเฉลี่ยต่อคน 4,100 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ และ 62,580 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest , Kitco, The guardian