ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กทรงตัวเหนือระดับ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนยังคงถือครองทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนว่าจะมีการยกระดับจากการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 3.64 เหรียญ หรือ 0.19% มาอยู่ที่ระดับ 1,910.07 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลง -10.3 เหรียญ หรือ -0.54% มาอยู่ที่ระดับ 1,912.5 เหรียญ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโลหะเงิน ส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับตัวขึ้น 25.3 เซนต์หรือ 1.05% มาอยู่ที่ระดับ 24.44 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.32 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,026.99 ตันภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ซื้อสุทธิ 9.24 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 51.33 ตัน
- นักกลยุทธ์จาก DailyFX ระบุว่า ในระยะอันใกล้ นักลงทุนยังคงตอบรับกับประเด็นสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน และประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทน อันเป็นผลมาจากการที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน และผลกระทบจากการที่ชาติตะวันตกจะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย
- หัวหน้านักกลยุทธ์การตลาดของ Capital.com ระบุว่า ราคาทองคำได้อานิสงส์อย่างหนักในเดือนก.พ. จากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง และตลาดหุ้นที่ปรับลดลง รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง ช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหันมาซื้อทองคำในฐานะของสินทรัพย์ปลอดภัย
- นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ชี้ว่า การที่ราคาทองคำปรับตัวลงอาจเป็นการพักฐานชั่วคราว ในขณะที่ตอนนี้ยังมีความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะถูกยกระดับขึ้น
- ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์จาก Bank of China International ชี้ว่า ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและส่วนชดเชยความเสี่ยงยังคงช่วยสนับสนุนราคาทองคำ
- นักเศรษฐศาสตร์จาด UBS มองว่า การถือกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์เป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และความเสี่ยงเกิดภาวะอุปทานหยุดชะงัก โดยเฉพาะการถือทองคำ ทั้งยังให้ผลตอบแทยที่ดึงดูดจากสภาวะเศรษฐกิจเติบโต เงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ UBS ชี้ว่าหาก ความสถานการณ์ยูเครนยกระดับขึ้น จะดันราคาทองเหนือ 2000 เหรียญต่อออนซ์ได้
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงในวันศุกร์ ขณะที่ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มกลับมา เนื่องจากนักลงทุนได้ประเมินมาตรการคว่ำบาตรรอบล่าสุดต่อรัสเซีย และข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ไม่น่าจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้มงวดเกินไปในการประชุมนโยบายครั้งต่อไป
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.07 จุด หรือ -0.07% มาอยู่ที่ระดับ 97.07 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.063% มาอยู่ที่ระดับ 1.904%
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน สั่งให้หน่วยกองกำลังต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์เตรียมความพร้อมขั้นสูงสุด
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า สหรัฐพร้อมด้วยชาติพันธมิตรแห่งโลกตะวันตก เห็นพ้องกันที่จะตัดธนาคารรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT ส่งผลให้ไม่สามารถทำธุรกรรมในระดับโลกได้ ชาติพันธมิตรตะวันตก ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป (EU) ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร แคนาดา และสหรัฐ ร่วมกันออกแถลงการณ์วันที่ 26 ก.พ. ว่า “การดำเนินการเหล่านี้จะเป็นการสร้างหลักประกันว่า ธนาคารรัสเซียจะถูกตัดออกจากระบบ Swift การเงินสากล ส่งผลให้ไม่สามารถทำธุรกรรมในระดับโลกได้”
- สหภาพยุโรป (EU) เตรียมส่งอาวุธให้กับยูเครน, ห้ามไม่ให้เครื่องบินรัสเซียบินเหนือน่านฟ้ายุโรปและจะออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียมากขึ้น รวมถึงจำกัดสื่อทางการของรัสเซีย
- เยอรมันประกาศเพิ่มงบประมาณด้านการทหารสูงเป็นประวัติการณ์ หลังจากเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน โดยเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 100,000 ล้านยูโร หรือ 113,000 เหรียญสหรัฐ
- ทหารรัสเซียและรถหุ้มเกราะบุกเมืองคาร์คิฟทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสองของยูเครน
- เหตุโจมตีท่อส่งน้ำมันเกิดขึ้นในขณะที่กองทหารรัสเซียเข้าปะทะกับกองกำลังยูเครนในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยรัสเซียหวังที่จะยึดเมืองทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ กรุงเคียฟ เมืองคาร์คิฟ และเมืองเคอร์ซอน
- ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยกระดับขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงยูเครนกล่าวว่า ผู้แทนของยูเครนและผู้แทนของรัสเซียตกลงที่จะเจรจาโดยไม่กำหนดเงื่อนไขการเจรจาล่วงหน้า ที่ชายแดนยูเครน-เบลารุส
- รัสเซียใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ร่างมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในวันศุกร์ ที่ 25 ก.พ. ซึ่งเป็นมติเรียกร้องให้รัสเซียยุติการโจมตีและถอนทหารออกจากยูเครนในทันที ขณะที่จีนงดออกเสียงต่อมติดังกล่าว
- ประธานาธิบดีของยูเครน นาย โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เผย รัสเซียจะต้องยอมเจรจาเพื่อยุติสงครามและลดความสูญเสีย นอกจากนี้ นาย เซเลนสกี ยังยืนยันด้วยว่า รัสเซียเปิดฉากโจมตีกรุงเคียฟในวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยมุ่งเป้าโจมตีทั้งอาคารของกองทัพและพลเรือน แม้ก่อนหน้านี้รัสเซียระบุว่า จะไม่มีการโจมตีประชาชนก็ตาม
- นาย โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน เปิดเผยว่า รัสเซียยังคงแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อยูเครน นั้นแสดงให้เห็นว่า มาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกมีต่อรัสเซียยังไม่มากพอ
- กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเตรียมรับผู้อพยพจากยูเครน หลังโดนรัสเซียบุกโจมตี หลายประเทศยุโรปตอนกลางเตรียมรับผู้อพยพจากยูเครน หลังถูกรัสเซียใช้กำลังทหารบุกโจมตี ด้านนักวิเคราะห์คาดอาจเป็นหนึ่งในวิกฤตผู้อพยพครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันศุกร์ โดยปรับตัวขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์วันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 และตลาดฟื้นตัวขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันหลังจากดิ่งลงอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานข่าวที่ว่ารัสเซียส่งสัญญาณพร้อมเจรจากับยูเครน
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,058.75 จุด พุ่งขึ้น 834.92 จุด หรือ +2.51%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,384.65 จุด พุ่งขึ้น 95.95 จุด หรือ +2.24%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,694.62 จุด พุ่งขึ้น 221.04 จุด หรือ +1.64%
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังราคาพุ่งขึ้นอย่างมากในวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์รัสเซียบุกโจมตียูเครน รวมถึงรายงานข่าวที่ว่า รัสเซียพร้อมที่จะเจรจากับยูเครน ซึ่งส่งผลกดดันราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 91.59 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้น 1.5% ในรอบสัปดาห์นี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 97.93 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่พุ่งขึ้น 4.7% ในรอบสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ดี ในเช้านี้สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 4.95 ดอลลาร์ หรือ 5.4% แตะที่ 96.54 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้สั่งการให้กองกำลังป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลีย เตรียมพร้อมในระดับสูงสุด เพื่อรับมือกับบรรดาชาติพันธมิตรขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่ส่งสัญญาณอันแข็งกร้าวว่าจะตอบโต้รัสเซีย หลังจากที่รัสเซียตัดสินใจบุกยูเครน
- โอเปคพลัสปรับลดประมาณการอุปทานส่วนสำหรับปี 2022 ลงเหลือ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 2 แสนบารร์เรลจากประมาณการเดิม
- โอเปคพลัสมีแนวโน้มที่จะคงนโยบายกำลังการผลิตที่ระดับ 400,00 บาร์เรลต่อวัน ในการประชุมวันที่ 2 มีนาคมนี้
- ที่ปรึกษาด้านพลังงานจาก Energy Aspects กล่าวว่าราคาน้ำมันเบรนท์จะกลับไปสู่ระดับสูงกว่า 100 เหรียญต่อบาร์เรล และอาจสูงถึง 105 เหรียญ ถึงแม้ว่าจะยกเว้นไม่คว่ำบาตรการค้าพลังงานกับรัสเซีย แต่การตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบ SWIFT จะสร้างความปั่นปวนให้การค้าพลังงานในระยะสั้น จนกว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนมาเป็นทางเลือกอื่นได้ เช่น เทเล็กซ์ หรือระบบอื่นๆ
- นักวิเคราะห์จาก UBS ชี้ว่า ความเสี่ยงที่อุปทานน้ำมันจะถูกกระทบจนปั่นป่วนมีสูงขึ้น จากการประกาศตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบ Swift และหากพิจารณาจากปริมาณน้ำมันสำรองที่ต่ำอยู่แล้ว และปริมาณการผลิตสำรองที่ถดถอยลง ราคาน้ำมันมีแนวโน้มจะตอบสนองต่อประเด็นนี้มาก และส่งผลให้ราคาเปิดปรับตัวสูงขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ราย ผู้ป่วยสะสม 668,492 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,869,616 ราย เสียชีวิต 42 ราย เสียชีวิตสะสม 22,891 ราย
- นายคิม บู-คยอม นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในเกาหลีใต้จะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมี.ค. โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายวันประมาณ 250,000 ราย ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเกาหลีใต้พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันพุ่งทะลุ 100,000 รายเป็นครั้งแรก และแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 171,452 ราย
- จีนมีแผนสร้างศูนย์รักษาโควิดชั่วคราวซึ่งมีความจุรวม 50,000 เตียงทั่วฮ่องกง รวมถึงบนที่ดินส่วนตัวซึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าฟรี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามสัญญาที่จีนให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยนางแคร์รี ลัม ผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ได้ยกระดับเป้าหมายที่จะลดผู้ติดเชื้อโควิดให้เหลือศูนย์ โดยแหล่งข่าวรายงานว่า ทางการฮ่องกงคาดว่าจะรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 10,000 รายในวันศุกร์ เพิ่มขึ้นจาก 8,798 รายที่รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี ด้านนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่จะถึงจุดสูงสุดที่วันละ 180,000 รายในเดือนหน้า
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.48 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 32.00-32.90 บาทต่อดอลลาร์ และกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.60-32.80 บาทต่อดอลลาร์
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค. 65 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาค ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest , CNBC