ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังเป็นปัจจัยฉุดตลาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -16.32 เหรียญ หรือ -0.84% มาอยู่ที่ระดับ 1,928.35 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 21.5 ดอลลาร์ หรือ 1.11% ปิดที่ 1,922.3 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 35.1 เซนต์ หรือ 1.37% ปิดที่ 25.19 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 7.84 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,050.22 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ซื้อสุทธิ 21.2 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 74.56 ตัน
- นักกลยุทธ์จาก DailyFX กล่าวว่า หากมุมมองของเฟดในการประชุมเดือนมี.ค.ยังคงเหมือนเดิม โดยมุ่งเน้นไปที่ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เราจะเห็นว่าราคาทองคำจะปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว
- ผู้อำนวยการฝ่ายค้าโลหะจาก High Ridge Futures ชี้ว่า เราจะเห็นถึงจังหวะดึงกลับ (pullback) ของราคาทองคำในทางเทคนิคบ่อยขึ้น จากการที่ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง อย่างที่เราสามารถสังเกตุเห็นตลาดหุ้นเริ่มทรงตัว
- นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ระบุว่า ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นแม้ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้ก็ตาม ทั้งนี้ ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของสถานการณความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
- นักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics คาดการณ์ราคาทองคำปรับจึ้นแตะระดับ 2,000 เหรียญในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ยังคงเป้าหมายราคาทองคำเป็นขาลงในช่วงสิ้นปีที่ระดับราคาเป้าหมาย 1,600 เหรียญ โดยชี้ว่า ทองคำได้รับเลือกจากกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัยทั้งหลาย เนื่องมาจาก ค่าเงินดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาล ถูกปรับมุมมองอย่างต่อเนื่องจากความคาดหวังความเร็วในการใช้นโบายเข้มงวดของเฟด จึงเป็นเหตุผลให้ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนเลือก
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรในวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในยูเครนต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจของยูโรโซน
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.65 จุด หรือ 0.67% มาอยู่ที่ระดับ 97.36 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.014% มาอยู่ที่ระดับ 1.854%
- สเบอร์แบงก์ สถาบันการเงินรายใหญ่ที่สุดของรัฐบาลรัสเซียประกาศเลิกกิจการในยุโรป หลังจากสำนักงานสาขาในยุโรปเผชิญกับกระแสการแห่ถอนเงินสดครั้งใหญ่ ทั้งนี้ สำนักข่าวบีบีซีเปิดเผยถ้อยแถลงของสเบอร์แบงก์ว่า ธนาคารไม่สามารถเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคารสาขาในยุโรปได้อีกต่อไป แต่ธนาคารมีเงินทุนและคุณภาพสินทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายให้กับผู้ฝากเงินทุกราย
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประกาศว่า ขณะนี้ทั้งสององค์กรกำลังทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มการสนับสนุนยูเครนในด้านการเงินและนโยบายโดยด่วน โดย IMF กำลังตอบรับคำขอของยูเครนสำหรับการจัดหาเงินทุนฉุกเฉินผ่านกองทุนอาร์เอฟไอ (Rapid Financing Instrument) ซึ่งคณะกรรมการ IMF อาจพิจารณาได้เร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกัน WBG กำลังเตรียมมาตรการสนับสนุนมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเริ่มจากงบประมาณสนับสนุนยูเครนที่เบิกจ่ายได้เร็วมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะยื่นเรื่องให้ทางคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติในสัปดาห์นี้ ตามด้วยเงินสนับสนุนด้านสุขภาพและการศึกษาที่เบิกจ่ายได้เร็วมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์
- ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ส่งสัญญาณเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ตามแผนเดิม แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนในสถานการณ์ยูเครน และและในถ้อนคำแถลง ยังคงมีประโยคเดิมอยู่ คือ เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานที่ตึงตัวอย่างมาก
- รวบรวมคำแถลงการณ์จากนายเจอโรมพาวเวลล์ ประธานเฟด ดังนี้
- ค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
- ราคาสินค้าและบริการก็เพิ่มสูงขึ้น
- เฟดคาดการณ์ว่า ระดับเงินเฟ้อจะลดลงในปีนี้
- เฟดให้ความสำคัญกับวามเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
- มีการเข้าแทรกแซงอุปทานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์
- เฟดคาดการณ์ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมเป็นเรื่องสมเหตุสมผล
- ตลาดแรงงานยังคงตึงตัวอย่างมาก
- หากภาวะเงินเฟ้อยังคงยืดเยื้อ ก็พร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ย 0.50%
- รวบรวมคำแถลงการณ์จากนายชาร์ล อิวาน ประธานเฟดสาขาชิคาโก ดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งต้องใช้นโยบายการเงินมาแก้ไข
- สหรัฐไม่ได้รับผลกระทบใดจากความขัดแย้งในยูเครน
- อัตราเงินเฟ้อจะลดลงในปีหน้า แต่จะยังคงอยู่บริเวณ 2.5%
- อัตราเงินเฟ้อจะลดลงในปี 2022 และ 2023
- ต้องใช้เวลาเพื่อปรับใช้นโยบายการเงินจนกว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะเป็นกลาง
- ควรมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินจนกว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ
- รวบรวมคำแถลงการณ์จากนายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ดังนี้
- ยุโรปได้รับความเสี่ยงจากสงครามที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรงมากกว่าสหรัฐ
- การที่ภาวะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เฟดต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ควรเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยและลดบัญชีงบดุล
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยว่า ขณะนี้กองกำลังทหารของรัสเซียสามารถยึดเมืองเคอร์ซอน และมาริอูพอล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครนและเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว
- ประธานาธิบดีรัสเซีย นาย วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ลงนามในกฤษฎีกาบังคับใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเฉพาะกาลเพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ สำนักข่าวซินหัวเปิดเผยเนื้อหาของกฤษฎีฉบับดังกล่าวว่า มาตรการเหล่านี้จะใช้ในการรับมือกับมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐ นานาชาติ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ บังคับใช้ต่อรัสเซีย
- นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเปิดเผยว่า กลุ่มประเทศสมาชิก G7 เตรียมจัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการอายัดและยึดทรัพย์สินของชนชั้นนำคนสำคัญในรัสเซีย เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน จากกรณีที่รัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
- กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นจะปิดสถานทูตในกรุงเคียฟของยูเครนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากรัสเซียยังคงเดินหน้าใช้กำลังทหารโจมตียูเครน
- เกาหลีใต้เตรียมแบนการทำธุรกรรมกับธนาคารรัสเซีย 7 แห่ง โดยธนาคารทั้ง 7 แห่งได้แก่ สเบอร์แบงก์ (Sberbank), วีอีบี (VEB) , พีเอสบี (PSB) , วีทีบี (VTB) , ออตครีตี (Otkritie), ซอฟคอม (Sovcom) และโนวิคอม (Novikom) แต่จะมีการยกเว้นให้กับการทำธุรกรรมเพื่อการเกษตร, ยารักษาโควิด-19 และพลังงาน
- ทูตจากสหภาพยุโรป (EU) อนุมัติมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อเบลารุส หลังสนับสนุนให้รัสเซียบุกยูเครน โดยการคว่ำบาตรจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเบลารุส โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมค้าไม้ เหล็ก และโพแทสเซียม
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเกือบ 600 จุดในวันพุธ (2 มี.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าที่นักลงทุนวิตกกังวล นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,891.35 จุด เพิ่มขึ้น 596.40 จุด หรือ +1.79%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,386.54 จุด เพิ่มขึ้น 80.28 จุด หรือ +1.86%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,752.02 จุด เพิ่มขึ้น 219.56 จุด หรือ +1.62%
- นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ แถลงนโยบายประจำปีต่อสภาคองเกรสในเช้าวันที่ 2 มีนาคมโดยมีประเด็นสำคัญของการแถลงในครั้งนี้ได้แก่
- การแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนและการตัดสินใจไม่ให้เครื่องบินทุกลำของรัสเซียบินผ่านน่านฟ้าสหรัฐ,
- การสนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจ,
- การเปิดตัวแคมเปญ “Test to Treat” และแจกชุดตรวจโควิด-19 ฟรีให้กับประชาชน,
- โครงการบูรณะซ่อมแซมสะพานและทางหลวง,
- แผนการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ
- และการระบายน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
- ธนาคารกลางรัสเซียพักธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร(repo) และการประมูลพันธบัตรชั่วคราว เพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถาบันการเงินในรัสเซีย และเพื่อรักษาอัตราการกู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคารให้ยังคงใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุระดับ 110 ดอลลาร์ในวานนี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบทะยานขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ท่ามกลางความกังวลที่ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะได้รับผลกระทบจากการที่นานาประเทศคว่ำบาตรรัสเซีย และบริษัทพลังงานหลายแห่งพากันระงับการลงทุนในรัสเซียเพื่อตอบโต้การใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 7.19 ดอลลาร์ หรือ 7% ปิดที่ 110.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2554
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 7.96 ดอลลาร์ หรือ 7.6% ปิดที่ 112.93 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2557
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แม้มาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศยังไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคพลังงานของรัสเซียในขณะนี้ แต่ก็บั่นทอนศักยภาพในการส่งออกของรัสเซีย โดยปริมาณการส่งออกน้ำมันของรัสเซียมีสัดส่วนราว 8% ของอุปทานน้ำมันทั่วโลก หรือประมาณ 4-5 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันยกเว้นซาอุดีอาระเบีย
- ผลการประชุมโอเปคพลัส ยังคงยึดกำลังการผลิตน้ำมัน 4 แสนบาร์เรลต่อวันสำหรับการผลิตเดือนเมษายน เป็นไปตามที่ตลาดคาด
- นักวิเคราะห์จาก Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) แสดงกราฟราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ชี้ว่าราคาน้ำมันเคลื่อนไหวลักษณะเดียวกันกับช่วงปี 2007-2008 ที่ปรับตัวพุ่งแตะระดับ 150 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนที่ความต้องการใช้น้ำมันจะหายไปอย่างรวดเร็วจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- นักวิเคราะห์จาก Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) ยังชี้ว่า ปัจจัยการขาดแคลนน้ำมันเป็นปัจจัยที่มีบทบาทในตลาดน้ำมันในช่วงนี้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยวิกฤติรัสเซีย-ยูเครนเป็นเพียงหนุนเล็กน้อย หนุนให้ปัจจัยการขาดแคลนน้ำมันให้มีความรุนแรงสุดขีด
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกล่าสุด 440.11 ล้านราย โดยวานนี้ยังพบภาพรวมทั่วโลกมียอดติดเชื้อสูงถึง 1,462,632 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมของโลกล่าสุดอยู่ที่ 5.99 ล้านราย
- สหรัฐฯ ยังคงมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมียอดติดเชื้อสะสมที่ 80.76 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมในประเทศ 979,638 ราย
- อินเดียยังเป็นอันดับสอง ที่มียอดติดเชื้อสะสมทะลุ 42 ล้านราย โดยยอดติดเชื้อรายวันล่าสุด 6,162 ราย
- บราซิลล่าสุดวานนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ที่ 30,995 ราย รวมติดเชื้อสะสม 28.84 ล้านราย
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23,618 ราย ผู้ป่วยสะสม 734,727 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,958,162 ราย เสียชีวิต 49 ราย เสียชีวิตสะสม 23,070 ราย
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 32.48 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.70 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.35-32.60 บาทต่อดอลลาร์
- รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน ม.ค.65 พบว่า การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 8% มีมูลค่า 21,258.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้าขยายตัว 20.5% มีมูลค่า 23,785 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า ขาดดุล 2,526.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในเดือนม.ค. ได้แก่ การสานต่อนโยบายหลักดันสินค้าตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”, การเสริมศักยภาพการค้าชายแดน, การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย, ภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนการส่งออกในเดือน ก.พ.65 ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน โดยยังคงเป้าส่งออกปีนี้ไว้ที่ 3-4% เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรง เนื่องจากตลาดรัสเซียเป็นตลาดที่มีสัดส่วนราว 0.38% ของไทย
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest , CNBC, DailyFX