ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร โดยตลาดถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -10.41 เหรียญ หรือ -0.54% มาอยู่ที่ระดับ 1,925.1 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง -8 ดอลลาร์ หรือ -0.41% ปิดที่ 1,921.5 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง -40.9 เซนต์ หรือ -1.62% ปิดที่ 24.904 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 1,083.6 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ซื้อสุทธิ 54.58 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 107.94 ตัน
- นักวิเคราะห์จาก Fxstreets เผยว่า ราคาทองคำสะสมพลังระหว่างวันแถวบริเวณ 1,935 เหรียญในวันอังคารที่ผ่านมา ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดเกี่ยวกับสงคามในยูเครนเป็นไปทางที่ดีขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อผู้ซื้อทองคำ
- นักวิเคราะห์อาวุโสของ OANDA กล่าวว่า ยังไม่มีปัจจัยใหม่ในการขับเคลื่อนราคาทองคำในขณะนี้ โดยราคาทองคำตอนนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเดิม ได้แก่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับสูงขึ้น และการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น
- นักกลยุทธ์อาวุโสจาก RJO Futures ระบุว่า จากข้อเท็จจริงที่ว่าเฟดพร้อมจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ปรับเพิ่มจากก่อนหน้าที่จะเพิ่ม 0.25% เป็นการส่งสัญญาณนโยบายการเงินเข้มงวดและกดดันราคาทองคำ ซึ่งอาจทำราคาทองคำให้ต่ำลงถึงกว่า 50 เหรียญ แต่ยังมีปัจจัยที่ยังหนุนเป็นฐานราคาให้ทองคำอย่างสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน
- นักวิเคราะห์จาก Saxo Bank ชี้ว่า ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุนทำงคำ ETF SPDR กำลังปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าราคาทองคำจะผันผวนในแต่ละวัน สะท้อนว่า เหล่าผู้จัดการกองทุนเริ่มกลับมาสนใจทองคำ เพื่อใช้ในการกระจายความเสี่ยง และป้องกันวามเสี่ยงทั้งเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- ผู้จัดการทั่วไประดับโลกของ ABC Bullion กล่าวว่า สงครามในยูเครนยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งจะเพิ่มความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นแรงหนุนต่อราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.26 จุด หรือ 0.26% มาอยู่ที่ระดับ 98.49 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.232% มาอยู่ที่ระดับ 2.381%
- อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนท่ามกลางความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจที่ใกล้จะเกิดภาวะถดถอย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 ขณะที่ราคาเสนอซื้อใกล้แตะระดับ 2.328% จากความกลัวของตลาดเรื่องภาวะเงินเฟ้อมีการขยายตัว ผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบายของเฟดเร่งรัดนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในอนาคต
- โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ค.และเดือนมิ.ย. หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- รัสเซียจะระงับการเจรจากับญี่ปุ่นในประเด็นสนธิสัญญาสันติภาพสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังญี่ปุ่นคว่ำบาตรกรณีที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน นอกจากนี้ รัฐบาลรัสเซียจะยุติการเจรจากับญี่ปุ่นเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหมู่เกาะซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท ปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย โดยพื้นที่ดังกล่าวนั้นรัสเซียเรียกว่า หมู่เกาะคูริลตอนใต้ (Southern Kurils) ส่วนญี่ปุ่นเรียกว่า ดินแดนทางตอนเหนือ (Northern Territories) และอยู่ใกล้กับเกาะฮอกไกโดของญี่ปุ่น ทั้งนี้ หมู่เกาะดังกล่าวถูกสหภาพโซเวียตยึดครองและขับไล่ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ออกไปในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม การระงับการเจรจาจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมและไม่อาจยอมรับได้ ญี่ปุ่นจะคัดค้านการกระทำของรัสเซียอย่างถึงที่สุด”
- รัฐมนตรีต่างประเทศของ EU แต่ละชาติมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย โดยเยอรมนีเตือนว่า กลุ่ม EU จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันของรัสเซียมากเกินกว่าจะที่ตัดสินใจระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย
- สำนักข่าว AP รายงานการแสดงความเห็นของประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ที่เขากล่าวว่า “เมื่อปลายวันจันทร์ได้เตรียมที่จะหารือเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของยูเครนที่จะไม่ขอเป็นสมาชิกของนาโต้เพื่อแลกกับการหยุดยิง การถอนทหารของรัสเซีย และการรับประกันความปลอดภัยของยูเครน”
- ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนได้ออกมาเปิดเผยว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะสามารถเจรจายุติสงครามในยูเครนโดยปราศจากการประชุมร่วมกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ประกาศเตือนเมื่อวานนี้ ว่า คำกล่าวอ้างของรัสเซียที่ว่ายูเครนมีการพัฒนาอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพในประเทศ ถือเป็นสัญญาณชัดเจนว่ารัสเซียกำลังพิจารณาใช้อาวุธดังกล่าวในการโจมตียูเครน
- รัสเซียเปิดเผยว่า รัสเซียโจมตีศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในกรุงเคียฟด้วยอาวุธพิสัยไกลที่มีความแม่นยำสูง เนื่องจากกองกำลังยูเครนใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เก็บจรวดและที่บรรจุกระสุนเครื่องยิงจรวด
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 200 จุดในวันอังคาร ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้นเกือบ 2% เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนปรับตัวรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทไนกี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,807.46 จุด เพิ่มขึ้น 254.47 จุด หรือ + 0.74%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,511.61 จุด เพิ่มขึ้น 50.43 จุด หรือ +1.13% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,108.82 จุด เพิ่มขึ้น 270.36 จุด หรือ +1.95%
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ประเทศในเอเชียอาจก่อให้เกิดเงินเฟ้อกระจายไปทั่วโลก หากราคาผู้บริโภคปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับราคาพลังงาน ซึ่งจะทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อทั่วโลกนั้นเพิ่มขึ้นและฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลียได้ประกาศจัดสรรงบประมาณเพิ่ม 44.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศอีกครั้ง หลังปิดพรมแดนเพื่อสกัดการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเวลา 2 ปี
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์เปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในปีนี้ แต่ทางการก็พร้อมที่จะปรับใช้นโยบายการเงินและการคลังเพิ่มเติม หากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า โกลด์แมน แซคส์ รุกคืบสู่ตลาดตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยล่าสุดโกลด์แมน แซคส์ ได้กลายเป็นธนาคารรายใหญ่แห่งแรกของสหรัฐที่ทำการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีนอกตลาด (Over-The-Counter หรือ OTC)
- ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จาก 3% เหลือ 2.7% โดยให้เหตุผลว่าได้รับผลกระทบจากกรณีรัสเซียบุกยูเครน นอกจากนี้ ฟิทช์ยังได้ปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2565 สำหรับเกาหลีใต้เป็น 4.1% จากเดิมที่ 2.6%
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (22 มี.ค.) หลังมีรายงานว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เสียงแตกเรื่องการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย โดยเฉพาะเยอรมนีที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่างมาก ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 36 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 111.76 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 14 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 115.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
- บริษัทค้านายหน้าค้าน้ำมัน PVM กล่าวว่า ประโยคที่ว่า “เงินเฟ้อชั่วคราว” กำลังจะเริ่มกลายเรื่องในอดีตเท่านั้น โดยมีปัจจัยหลักจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่เหล่าธนาคารกลาง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐ เริ่มแสดงจุดยืนในการขึ้นดอกเบี้ยค่อนข้างชัดเจน
- รัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนีได้เรียกร้องให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มการผลิตน้ำมัน พร้อมกล่าวว่าบรรดาชาติอาหรับไม่ควรได้ประโยชน์จากกรณีที่นานาประเทศออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย โทษฐานรุกรานยูเครน
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 25,164 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,200,521 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 3,428,956 ราย เสียชีวิต 80 ราย เสียชีวิตสะสม 24,497 ราย
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี (KDCA) รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในเกาหลีใต้พบ 353,725 ราย เมื่อวันที่ 22 มี.ค. ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 9,936,540 คน ตัวเลขดังกล่าวพุ่งขึ้นจากของวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งมียอดอยู่ที่ 209,165 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วัน โดยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนระลอกล่าสุดนี้เกิดจากการระบาดในย่านมหานครของกรุงโซล
- สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การประกาศภาวะกึ่งฉุกเฉินเพื่อคุมโรคโควิด-19 ใน 18 จังหวัดของญี่ปุ่น รวมถึงโตเกียวและโอซากา สิ้นสุดลงในวานนี้ หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มลดลง
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.54 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.40-33.60 บาทต่อดอลลาร์
- S&P ได้ประกาศปรับลด (Downgraded) อันดับเครดิต ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ของไทย ได้แก่ SCB, KBANK, KTB, TTB เนื่องจาก S&P มองว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic risk) สูงขึ้น จากเหตุผลดังต่อไปนี้
- (1) หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และจะอยู่เป็นเวลานานกว่าที่เคยคาดไว้ก่อนหน้า
- (2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ (Debt relief program) แม้จะช่วยประคองภาพรวม NPL ไม่ให้ปรับตัวขึ้น แต่ทำให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนทำได้ช้าลง
- (3) ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง และการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน (Uneven recovery) โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว
- (4) สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อาจทาให้การฟื้นตัวกลับไปที่ Pre-COVID level ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยช้ากว่าคาด
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest , CNBC