ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (28 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังมีรายงานว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงอย่างเหนือความคาดหมายในไตรมาสแรกปีนี้
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 7.14 เหรียญ หรือ 0.38% มาอยู่ที่ระดับ 1,892.71 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.6 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ 1,891.3 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 32.4 เซนต์ หรือ 1.38% ปิดที่ 23.181 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 1,095.71 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 4.27 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 120.05 ตัน
- นักกลยุทธ์จาก RJO Futures ระบุว่า ปัจจุบันเม็ดเงินไหลออกจากเงินสกลุอื่น เข้าไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสกลุดอลลาร์ และมองราคาทองคำเผชิญความยากลำบากที่จะปรับตัวขึ้นในระหว่างช่วงนี้จนถึงการประชุมเฟด
- สภาทองคำโลก (WGC) ระบุว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในไตรมาส 1/2565 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 โดย WGC ได้ทำการสำรวจมุมมองของธนาคารทั่วโลกที่มีต่อทองคำ ซึ่งพบว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเหตุผลอันดับแรกที่ทำให้ธนาคารกลางเข้าถือครองทองคำ
- อุปทานทองคำโดยรวมในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 4% ในไตรมาส 1 แตะที่ 1,156.6 ตัน เนื่องจากอุปทานที่สูงขึ้นทั้งในเหมืองและการรีไซเคิล
- นายคริสฮาน โกพอล นักวิเคราะห์ตลาดของสภาทองคำโลก (WGC) กล่าวว่า แม้ราคาทองคำปรับตัวลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด แต่เขาเชื่อว่า ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อและวิกฤตการณ์ในยูเครน จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 1.35 จุด หรือ 1.32% มาอยู่ที่ระดับ 103.65 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.08% มาอยู่ที่ระดับ 2.82% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 2.613% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.207%
- นักเศรษฐศาสตร์จาก ING คาดการณ์ ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในปี 2022 และจะปรับลดลงในปี 2023 โดยให้เหตุผลว่า จากการที่ดอลลาร์แข็งค่าและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะทำการการนำเข้าสูงขึ้น นำไปสู่การขาดดุลการค้ามากขึ้น สอดคล้องกับภาพในอดีตที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 ที่เฟดพยายามคุมดอกเบี้ยและดันค่าเงินดอลลาร์พุ่งสูง ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ย ในช่วงปลายปี 2023 จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลง
- ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันพฤหัสบดี ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี จากวิกฤตด้านพลังงานในยุโรปส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโร และนักลงทุนไม่ได้คาดหวังว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะกระชับนโยบายทางการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น
- เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันพุธ จากการที่นักลงทุนเริ่มกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในตลาดและภาวะถดถอยของเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในยุโรป
- ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ -0.10% โดยไม่ได้ปรับนโยบายทางการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากยังคงให้ผลตอบแทนใกล้ศูนย์อยู่
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 600 จุดในวันพฤหัสบดี (28 เม.ย.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นกว่า 3% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งรวมถึงบริษัทเมตา แพลตส์ฟอร์มส และแมคโดนัลด์ โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถบดบังปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงอย่างเหนือความคาดหมายในไตรมาสแรกปีนี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,916.39 จุด เพิ่มขึ้น 614.46 จุด หรือ +1.85%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,287.50 จุด เพิ่มขึ้น 103.54 จุด หรือ +2.47% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,871.53 จุด เพิ่มขึ้น 382.59 จุด หรือ +3.06%
- ผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของสหรัฐฯ หดตัวลง -1.4% ในไตรมาสแรกของปี 2022 หลังจากที่ +6.9% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 อย่างไรก็ตาม การบริโภคส่วนบุคคลซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น +2.7% ในไตรมาสแรก เทียบกับ +2.5% ในไตรมาสที่ 4 ขณะที่การใช้จ่ายด้านบริการก็เพิ่มขึ้น +1.86% แต่โดยรวมแล้วพบว่าการใช้จ่ายภาคสินค้ายังคงซบเซา ซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
- สำนักสถิติเยอรมัน ดัชนีเงินเฟ้อเดือนเมษายนของเยอรมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (28 เม.ย.) หลังจากมีรายงานว่า เยอรมนีอาจจะร่วมวงคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียเช่นเดียวกับประเทศสมาชิกรายอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 3.34 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 105.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.27 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 107.59 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์จาก Rystad ระบุว่า รัสเซียต้องการให้ชำระเงินค่าก๊าซธรรมชาติด้วยเงินรูเบิล ทำให้เกิดความกลัวว่าจะเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกับน้ำมัน
- สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในวันพฤหัสบดีเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระต่อเศรษฐกิจในประเทศจีน ทำให้ความต้องการใช้เชื้อเพลิงลดลง ซึ่งประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียเตือนชาติตะวันตก ว่าจะตอบโต้อย่างรวดเร็วต่อประเทศที่เข้ามาแทรกแซงในสงครามยูเครนและสร้างภัยคุกคามต่อรัสเซีย ทั้งนี้ มีการพาดพิงถึงการใช้ขีปนาวุธข้ามทวีปและอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซียล่วงเลยเข้าสู่วันที่ 64 แล้ว
- เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสหภาพยุโรปรายหนึ่ง ชี้ว่า การเปิดบัญชีธนาคารในสกุลรูเบิลกับธนาคารแกสพรอม อาจเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีบริษัทขนาดใหญ่ใดในยุโรปชำระค่าก๊าซด้วยสกุลเงินรูเบิล
- หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงาน คณะผู้แทนของเยอรมนีประจำสหภาพยุโรป ไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้านการใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียอย่างเต็มรูปแบบ ตราบใดเยอรมนีมีเวลามากพอที่จะหาอุปทานทางเลือกอื่น
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐเตรียมเดินทางเยือนเกาหลีใต้และญี่ปุ่นในวันที่ 20-24 พ.ค. นี้เพื่อส่งเสริมการสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่มีเสรีและเปิดกว้าง และกระชับความสัมพันธ์กับ 2 ประเทศพันธมิตรสำคัญในเอเชีย ท่ามกลางสงครามยูเครน-รัสเซีย, ความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก และเป้าหมายด้านนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
- กระทรวงกลาโหมอังกฤษเปิดเผยว่า ยูเครนยังสามารถควบคุมน่านฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้ได้ ขณะที่รัสเซียประสบความล้มเหลวในการทำลายกองทัพอากาศยูเครนหรือกำราบการป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนให้ราบคาบ
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- ญี่ปุ่นพบโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ครองสัดส่วน 90% ในประเทศ ในขณะที่คณะผู้เชี่ยวชาญได้เรียกร้องให้ใช้มาตรการป้องกันไวรัสอย่างรัดกุม เนื่องจากคาดว่าจะมีผู้คนจำนวนมากออกเดินทางในช่วงวันหยุดสัปดาห์โกลเด้นวีค (Golden Week) ซึ่งจะเริ่มในวันนี้ 29 เม.ย.
- จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง 9% จากเมื่อสัปดาห์ก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง ทั้งนี้ ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 46,267 รายในวันพุธ (27 เม.ย.)
- จีนคาดทดลองทางคลินิกวัคซีนต้านโอมิครอนจะแล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน โดยหัวหน้านักวิทยาศาสตร์บริษัทไชน่า เนชันแนล ไบโอเทค กรุ๊ป (CNBG) ในเครือซิโนฟาร์มแถลงทางออนไลน์ว่า ผลวิจัยทางคลินิกก่อนทดสอบในมนุษย์พบว่า วัคซีนดังกล่าวมีความสามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้ดี
- เดนมาร์กแถลงยุติโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเป็นประเทศแรก โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะปัจจุบันสามารถคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2565
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2565 จะมีเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 300,000 คน มากกว่าไตรมาสแรกที่มีชาวต่างชาติเที่ยวไทยเฉลี่ยเดือนละ 166,000 คน และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2565 จะอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านคน สร้างรายได้ตลาดต่างชาติเที่ยวไทย 2.4 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับตลาดไทยเที่ยวไทยที่ก็ฟื้นตัว ได้รับปัจจัยส่งเสริมจากเทศกาลสงกรานต์ และโครงการภาครัฐทั้งเราเที่ยวด้วยกัน และคนละครึ่ง ส่งผลให้รายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2565 แตะ 9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 6.5 แสนล้านบาทจากปีก่อน
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest