ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค.นี้
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -33.4 เหรียญ หรือ -1.76% มาอยู่ที่ระดับ 1,863.69 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง -48.1 ดอลลาร์ หรือ -2.52% ปิดที่ 1,863.6 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง -50.1 เซนต์ หรือ -2.17% ปิดที่ 22.584 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.32 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,092.23 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ขายสุทธิ 2.32 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 116.57 ตัน
- นักกลยุทธ์จาก Commerzbank ชี้ว่า ราคาทองคำถูกกดันจากการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ และระบุว่า นักลงทุนระยะสั้นถอนหนีออกจากทองคำ โดย ETF ทองคำถูกขายออกมาทุกวันต่อเนื่องรวมกันถึง 12 ตัน ส่งผลให้สิ้นสุดเม็ดเงินที่เคยไหลเข้ากองทุนทองคำ 14 สัปดาห์ต่อเนื่อง จากสำนักสถิติ CFTC’s statistics ชี้ว่า นักลงทุนระยะสั้นลดสถานะซื้อสุทธิทองคำต่อเนื่องตั้งแต่ 16 เมษายนจนถึงสัปดาห์นี้ คิดเป็นประมาณ 20% ของสถานะซื้อสุทธิทั้งหมด 81,000 สัญญา ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง
- นักกลยุทธ์จาก Commerzbank ชี้ว่า จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยเฟด แสดงว่า ตลาดกำลังคาดการณ์ดอกเบี้ยปรับขึ้น 2.0% ภายในสิ้นเดือนกันยายน และการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมสัปดาห์นี้ไม่เป็นเื่องที่น่าประหลาดใจหรือสร้างแรงกดดันราคาทองคำเพิ่มเติม โดยเฉพาะไม่ว่าประธานเฟด พาวเวลล์ จะประกาศมากหรือน้อยกว่าคาดก็ตาม
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.63 จุด หรือ 0.61% มาอยู่ที่ระดับ 103.59 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.059% มาอยู่ที่ระดับ 2.987% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 2.731% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.256%
- การประชุมเฟดมีกำหนดการประชุมในวันที่ 3 - 4 พฤษภาคม และจะประกาศผลการประชุมในวันที่ 4 พฤษภาคม
- SPI Asset Management ชี้ว่า ตลาดยังคงกงวลว่าเฟดจะมีแนวโน้มเข้มงวดนโยบายการเงิน ตลาดรับรู้ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% และอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนกรกฎาคม
- นักเศรษฐศาสตร์จาก UniCredit ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันตลาดคาดการณ์ เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% และจะประกาศลดขนาดงบดุลธนาคารกลาง เสมือนว่าเป็นเรื่องที่แน่นอนแล้ว และตอนนี้ตลาดคซึมซับว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยทั้งสิ้น 2.50% ในปีนี้
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อในช่วงท้ายตลาด ส่วนดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้นกว่า 200 จุด จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,061.50 จุด เพิ่มขึ้น 84.29 จุด หรือ +0.26%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,155.38 จุด เพิ่มขึ้น 23.45 จุด หรือ +0.57% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,536.02 จุด เพิ่มขึ้น 201.38 จุด หรือ +1.63%
- สถาบัน Peterson Institute for International Economics ชี้ว่า ไม่เพียงแต่สงครามรัสเซียที่ผลักดันอัตราเงินเฟ้อ ด้วยวิกฤติด้านอาหารผ่านการควบคุมการส่งออกปุ๋ยและราคาพลังงานที่สูงขึ้น แต่จีนยังส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเช่นกัน โดยจีนควบคุมการผลิตเหล็ก, ควบคุมการส่งออกและตั้งกำแพงภาษีปุ๋ยและหมู เพื่อแก้ปัญหาในประเทศ และปล่อยผ่านต้นทุนไปยังประเทศอื่น
- ดัชนีภาคการผลิต ISM ประจำเดือนเม.ย ของสหรัฐชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยลดลงแตะ 55.4 จากระดับ 57.1 เมื่อเดือนมี.ค. ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดกันว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 57.6 ในเดือนเม.ย.
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ หลังมีรายงานว่า สหภาพยุโรป (EU) กำลังผลักดันการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งนักลงทุนมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 48 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 105.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 44 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 107.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักกลยุทธ์จาก Bank of Montreal คาดการณ์ ราคาน้ำมันจะแกว่งตัวอยู่บริเวณ 90-110 เหรียญต่อบาร์เรล หากไม่มีพัฒนาการที่สำคัญที่ส่งผลให้น้ำมันขยับทะลุแนวรับต้านอย่างรุนแรง
- โดยมีปัจจัยความเสี่ยงขาลง ได้แก่ (1) การสิ้นสุดของสงครามยูเครน-รัสเซีย (2) อุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอุปทานจากกลุ่มนอกกลึุ่มโอเปคพลัส (3) ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างมาก จากการที่บรรดาธนาคารกลางหลักของโลกใช้นโยบายการเงินเข้มงวด ทำให้กดดันเศรษฐกิจ
- ปัจจัยความเสี่ยงขาขึ้น ได้แก่ (1) ยุโรปคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย (2) ชาติตะวันตกขยายการคว่ำบาตรไปยังประเทศที่ยังคงนำเข้าน้ำมันรัสเซีย (3) การลดลงการผลิตของกลุ่มโอเปคพลัส โดยเฉพาะจากรัสเซีย
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ยูเครนเตรียมเริ่มอพยพปชช.ในมาริอูโพลอีกครั้งวันนี้ หลังรัสเซียยิงโจมตีเมื่อคืน หลังได้การอพยพหยุดลงชั่วคราวก่อนหน้า โดยปธน.เซเลนสกี กล่าวแป็นครั้งแรกว่า เส้นทางระเบียงมนุษยธรรมสำหรับอพยพพลเรือนออกจากโรงงานแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยอพยพคนไปแล้วกว่า 100 คน
- นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เดินทางเข้าพบประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนที่กรุงเคียฟในวันนี้ เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครนของสหรัฐ แถลงการณ์ระบุว่า “คณะผู้แทนของเราเดินทางถึงกรุงเคียฟเพื่อส่งข้อความอย่างชัดเจนถึงทั้งโลกว่า อเมริกายืนอยู่ข้างยูเครน”
- คณะกรรมาธิการยุโรป เตรียมเสนอมาตรการคว่ำบาตรน้ำมัน ส่งไปยังประเทศสมาชิก 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เร็วที่สุดในวันพุธที่ 4 พ.ค. นี้ ทั้งนี้ มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันเป็นแผนดำเนินการในระยะ 6-8 เดือนข้างหน้า เพื่อให้ประเทศต่างๆ มีเวลาในการเตรียมตัว
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สถานการณ์โควิด 19 ในไทย พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 9,721 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 77 คน ผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกมกราคม 2,058,101 ราย ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มระบาด 4,281,536 ราย เสียชีวิตรวม 28,778 คน
- คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน รายงานว่า จีนตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเซี่ยงไฮ้ 788 ราย และผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 7,084 รายในวันเสาร์ ที่ผ่านมา รายงานระบุว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันที่พบใหม่นี้ มี 683 รายที่ก่อนหน้านี้จัดเป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการ
- จีนยกระดับมาตรการคุมโควิดรับวันหยุดยาวอีกครั้งในช่วงวันหยุดวันแรงงานระยะเวลา 5 วันที่เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 30 เม.ย. โดยสั่งห้ามการรับประทานอาหารที่ร้านทั้งหมด และตรวจโควิดสัปดาห์ละครั้ง
- บริษัทไฟเซอร์ อิงค์เปิดเผยการทดลองล่าสุดพบว่า ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานนั้น ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับผู้ใช้ยาที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.22 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 29 เมษายน) มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.10-34.60 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.35-34.55 บาทต่อดอลลาร์
- นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง 3 ฉบับ ได้แก่ 1. หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น 2. ความตกลงว่าด้วยการมอบยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย 3. หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการสนับสนุนเร่งด่วนสำหรับการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, CNBC