ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยในวันพุธ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 9.26 เหรียญ หรือ 0.5% มาอยู่ที่ระดับ 1,845.62 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 1,848.7 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 22.7 เซนต์ หรือ 1.05% ปิดที่ 21.915 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.16 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,067.2 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ขายสุทธิ 1.16 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 91.54 ตัน
- หัวหน้านักกลยุทธ์ของ Tiger Brokers กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและสกุลเงินดอลลาร์ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อราคาทองคำ และปัจจัยพวกและลบที่ผสมผสานกันเหล่านั้นส่งผลให้ทองมีความน่าสนใจลดลง
- นักวิเคราะห์จาก Quantitative Commodity Research ชี้ว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ปรับสูงขึ้นในทั้งสหรัฐและยุโรป และดอลลาร์ที่แข็งค่า ส่งผลลบต่อราคาทองคำ ทั้งนี่ ทองคำจะได้รับแรงหนุนก็ตามเมื่อเหล่าบรรดาธนาคารกลางไม่สามารถตอบสนองอย่างเหมาะสมในการจัดการเงินเฟ้อ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.89 จุด หรือ 0.88% มาอยู่ที่ระดับ 102.56 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.094% มาอยู่ที่ระดับ 2.909% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 2.644% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.265%
- Fed Watch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักกว่า 99% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมิ.ย
- ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา ราฟาเอล บอสติก ระบุว่า เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ เฟดจะหยุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมสองครั้งหน้า
- ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เจมส์ บุลลาร์ด กล่าวสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย ชี้ว่า รายงานตัวเลขเงินเฟ้อในระดับสูงยังคงสร้างความกังวลการเฟด สนับสนุนความจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว และการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ทุกการประชุมยังเป็นแผนการที่ดีสำหรับตอนนี้
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มปะทุขึ้นอีกครั้ง
- นาย โรเบิร์ต โฮลซ์มันน์ สมาชิกธนาคารกลางยุโรป กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในยุโรปเป็นปัจจัยหนุนความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5%
- นักวิเคราะห์จาก Commerzbank กล่าวว่า ยังไม่มีวี่แววว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงได้ในเร็วๆ นี้ โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอาจจะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางยุโรปยุติการใช้นโยบายการผ่อนคลายการเงินแบบพิเศษ
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ โดยดาวโจนส์ร่วงลงติดต่อกันวันที่ 2 และปิดที่ระดับต่ำกว่า 33,000 จุด เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,813.23 จุด ลดลง 176.89 จุด หรือ -0.54%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,101.23 จุด ลดลง 30.92 จุด หรือ -0.75%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,994.46 จุด ลดลง 86.93 จุด หรือ -0.72%
- รายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ISM (ISM Manufacturing PMI) ประจำเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นเหนือความคาดหมาย สู่มาอยู่ที่ระดับระดับ 56.1 จุด ปรับขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 55.4 จุด และสวนทางกับคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เจเนท เยลเลน ออกมายอมรับว่าประเมินผิดในปีที่แล้วที่ว่า เงินเฟ้อเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว อย่างไรก็ตาม เยลเลนได้เน้นย้ำว่า รัฐบาลมีหลายกลยุทธ์ที่พร้อมใช้เพื่อลดระดับเงินเฟ้อที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงเกินไปสำหรับชาวอเมริกัน ตัวอย่างเช่น การควบคุมราคายา การควบคุมการขาดดุลทางการคลัง และปรับกำลังการผลิตน้ำมัน เป็นต้น
- กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 21.3% ในเดือนพ.ค. จากปีก่อน เนื่องจากมีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับชิปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แต่เกาหลีใต้ก็ยังคงประสบปัญหาขาดดุลการค้า เนื่องจากราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ ขานรับข่าวสหภาพยุโรป (EU) ลงมติระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่นครเซี่ยงไฮ้ของจีนยุติมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการใช้น้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 59 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 115.26 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 69 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 116.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสของ OANDA กล่าวว่า เซี่ยงไฮ้กลับมาเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งในเมื่อวานนี้ หลังจากที่เข้มงวดโควิดเป็นศูนย์นานถึง 6 สัปดาห์ ซึ่งอาจช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ในบางส่วน ขณะที่ปัจจัยสำคัญต่อราคาน้ำมันขณะนี้ยังคงเกี่ยวกับการที่โอเปกพลัสจะถอนรัสเซียจากข้อตกลงการผลิต
- สมาชิกบางรายของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงการผลิตของโอเปกพลัส เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตน้ำมันของรัสเซีย
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐและทีมงานยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการจัดส่งระบบจรวดพิสัยไกลไปยังยูเครน แต่ไม่ต้องการให้ยูเครนใช้เพื่อโจมตีดินแดนรัสเซีย
- ยูเครนเผยว่า รัสเซียได้เข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองซีวีโรโดเนสก์ ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมทางตะวันออกของประเทศ โดยได้กลายเป็นพื้นที่รกร้างจากการทิ้งระเบิดและเป็นเป้าหมายหลักของรัสเซียในการรุกรานยูเครน
- นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีกำหนดเดินทางไปเยือนสิงคโปร์ เพื่อเข้าร่วมการประชุม Shangri-La Dialogue ในวันที่ 10 มิ.ย. นี้ โดยการเดินทางในครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประสานงานร่วมกัน เพื่อรับมือการรุกรานยูเครนของรัสเซีย รวมถึงท่าทีของจีนที่แข็งกร้าวมากขึ้น
- รัฐบาลไต้หวันเปิดเผยว่า นายจอห์น เติ้ง หัวหน้าผู้เจรจาการค้าของไต้หวันจะจัดการเจรจากับสหรัฐเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้าทวิภาคีในวันนี้ (1 มิ.ย.) หลังจากที่ไต้หวันไม่ได้ถูกรวมอยู่ในแผนเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญของสหรัฐสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแคนาดาประกาศว่า แคนาดาได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อภาคการเงินของรัสเซีย โดยจะมีผลต่อบุคคลทั้งหมด 22 รายและองค์กร 4 แห่งของรัสเซีย
ข่าวเกี่ยวกับ Covid-19
- สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 2,560 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,457,580 ราย ไม่รวม ATK อีก 4,387 ราย สะสม 1,767,751 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 34 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 8,383 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 30,081 ราย
- จีนยังคงเดินหน้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งบดบังความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Covid Zero) หลังจากการล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้ และมาตรการที่เข้มงวดในปักกิ่งเพื่อสกัดโควิด-19 ได้สร้างความยุ่งยากให้กับภาคธุรกิจและประชาชนในจีน
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.37 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 34.34 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.30-34.50 บาทต่อดอลลาร์
- รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ชี้แจงการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ว่า ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อ หรือราคาสินค้าสูงขึ้น เกิดขึ้นจากสาเหตุภาวะราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ราคาน้ำมันเดือนพ.ค.65 เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นกว่า 60% ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้า จึงส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำที่สุดในโลก และคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปี 65 จะอยู่ประมาณ 3.5% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ในเดือน ม.ค.-เม.ย. 65 เงินเฟ้อไทยยังไม่เกิน 5%
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, CNBC, Bloomberg