ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 30 เหรียญในวันพฤหัสบดี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง โดยเทขายหุ้น และเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนตลาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 37.74 เหรียญ หรือ 2.08% มาอยู่ที่ระดับ 1,848.5 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 30.3 เหรียญ หรือ 1.67% ปิดที่ 1,849.9 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 46.5 เซนต์ หรือ 2.17% ปิดที่ 21.885 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 1,063.94 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ขายสุทธิ 4.42 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 88.28 ตัน
- หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ของ Tiger Brokers กล่าวว่า ปัจจัยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ยังคงผสมผสานกับปัจจัยกดดันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ราคาทองคำยังคงรักษาระดับได้
- ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการของ GoldSilver Central กล่าวว่า บรรดานักลงทุนรายใหญ่ที่ถือครองทองคำจำนวนมาก มองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงมีความท้าทาย และยังเลือกที่จะถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -1.67 จุด หรือ -1.58% มาอยู่ที่ระดับ 103.85 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.253% มาอยู่ที่ระดับ 3.195% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 3.1% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.095%
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนประเมินโอกาส 85% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% และโอกาส 15% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบ 26-27 ก.ค.
- การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะแตะระดับ 3.4% ในช่วงสิ้นปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1.75% ภายในปีนี้ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ในสิ้นปี 2566 และชะลอตัวสู่ระดับ 3.4% ในปี 2567 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ 2.5%
- ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศออกมาตรการหนุนใหม่ และการออกแบบโครงการใหม่เพื่อชะลอการเทขายในตลาด ซึ่งทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้รอบใหม่ในเขตยุโรปตอนใต้ของเขตยูโร ในขณะที่ดอยช์แบงก์ระบุว่า การตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่สร้างเครื่องมือใหม่เพื่อควบคุมภาะตึงตัวในตลาดพันธบัตรรัฐบาลในเขตยูโรนั้น จะเปิดทางให้อีซีบีขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สามครั้งในปีนี้
- นักวิเคราะห์จากดอยช์แบงก์ประเมินว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนก.ค. และ 0.50% ในเดือนก.ย., ต. ค. และธ.ค. นั่นหมายความว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยรวม 1.75% ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะอยู่ที่ 1.25% ในช่วงปลายปีนี้
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 6-3 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งแตะ 9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ทั้งนี้ ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี บราซิล บราซิล ไต้หวัน ฮ่องกง และอาร์เจนตินา ต่างก็ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน
- ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ -0.25% จากระดับ -0.75% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดย SNB ดำเนินการตามทิศทางของธนาคารกลางทั่วโลกที่พากันคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงในขณะนี้
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy)
- เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารของสหรัฐเปิดเผยว่า ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (Prime Lending Rate) 0.75% สู่ระดับ 4.75% โดยมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (16 มิ.ย.) เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวานนี้
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยดาวโจนส์ดิ่งหลุดจากระดับ 30,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2564 เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกได้พากันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,927.07 จุด ร่วงลง 741.46 จุด หรือ -2.42%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,666.77 จุด ลดลง 123.22 จุด หรือ -3.25% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,646.10 จุด ร่วงลง 453.06 จุด หรือ -4.08%
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งระบุว่าอัตราเงินเฟ้อสูงและความกังวลของผู้บริโภค ซ้ำเติมข้อกังวลที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
- สำนักงานสถิติสวีเดน เปิดเผยว่า ผู้บริโภคชาวสวีเดนกำลังเผชิญอัตราเงินเฟ้อพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2534 โดยราคาผู้บริโภคซึ่งวัดด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพิ่มขึ้นจาก 6.4% ในเดือนเมษายน เป็น 7.2% ในเดือนพฤษภาคม
- สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า วิกฤตความมั่นคงทางอาหารที่เกิดจากสงครามยูเครนนั้น จะผลักไสให้ผู้คนจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดของตนในประเทศยากจน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับการพลัดถิ่นทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
- สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานว่า อัตราการจ้างงานออสเตรเลียเดือนพ.ค. ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี เนื่องจากประชาชนหางานทำมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่า เศรษฐกิจสามารถต้านทานการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อรับมือภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าในเดือนพ.ค. 2565 หนักที่สุดในรอบกว่า 8 ปี เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์ราคาสูงขึ้นและสกุลเงินเยนที่อ่อนค่าลงส่งผลให้สินค้านำเข้าแพงขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไม่สดใส
- จีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงในเดือนเม.ย.สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 โดยนักลงทุนมีแนวโน้มเทขายตัดขาดทุน เนื่องจากราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลง หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
- คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่า ได้อนุมัติการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 10 รายการมูลค่า 1.21 แสนล้านหยวน (1.81 หมื่นล้านดอลลาร์) เมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าเดือนเม.ย.ถึง 6 เท่า เนื่องด้วยความพยายามของผู้กำหนดนโยบายที่ต้องการทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาอยู่ในทิศทางที่ดี หลังจากที่ย่ำแย่ลงจากการระบาดของโรคโควิด-19
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดีโดยได้แรงหนุนจากข่าวสหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงเผชิญภาวะตึงตัว
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 2.27 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 117.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 1.3 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 119.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
- รัฐบาลสหรัฐประกาศคว่ำบาตรบริษัทอิหร่าน, จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ที่ช่วยเหลืออิหร่านในการส่งออกปิโตรเคมี โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกดดันอิหร่านให้กลับเข้าสู่การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์
- นักวิเคราะห์กล่าวว่าลิเบียกำลังเผชิญปัญหาด้านการส่งมอบน้ำมัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในลิเบียลดฮวบสู่ระดับ 100,000 – 150,000 บาร์เรล/วัน จากระดับกำลังผลิตเดิม 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในปีที่แล้ว
- นักวิเคราะห์จากบริษัทนายหน้าค้าน้ำมัน PVM ระบุว่า ความกังวลเงินเฟ้อทั่วโลกมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลง ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงตาม
- นักวิเคราะห์จาก Bernstein ระบุว่า หากมองไปปีข้างหน้า อุปทานน้ำมันยังคงขาดแคลนอยู่ ในขณะที่ ปัจจุบันยังไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่าหากเกิดขึ้นจะเปลี่ยนทิศทางราคาน้ำมันก็ตาม ทำให้ตอนนี้ยังมองภาพทิศทางขาขึ้นของราคาน้ำมัน
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐ ประกาศว่า สหรัฐจะจัดหาอาวุธยุโธปกรณ์มูลค่ารวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ยูเครน ซึ่งรวมถึงระบบจรวดต่อต้านเรือรบ จรวดปืนใหญ่ ปืนครกและกระสุน
- สหรัฐแสดงความกังวลถึงกรณีที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ได้สนทนาทางโทรศัพท์กระชับสัมพันธ์กับปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ขณะที่รัสเซียยังคงบุกยูเครน ทั้งนี้ ปธน.สียืนยันตามถ้อยแถลงที่เคยให้ไว้ต่อปธน.ปูตินเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมาว่า มิตรภาพของจีนต่อรัสเซียนั้น ไร้ซึ่งขีดจำกัด และจะร่วมมือกันเพื่อต่อต้านระเบียบระหว่างประเทศที่ถูกครอบงำโดยสหรัฐและกลุ่มชาติยุโรปที่เป็นประชาธิปไตย
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,967 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,494,880 ราย ไม่รวม ATK อีก 3,797 ราย สะสม 1,816,903 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 19 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 8,724 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 30,422 ราย
- นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามายังนิวซีแลนด์จะไม่ต้องแสดงผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นลบ ก่อนเดินทางเข้าประเทศเริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป โดยนางอายีชา เวอร์รอล รัฐมนตรีด้านการรับมือโรคโควิด-19 ระบุในแถลงการณ์ว่า มาตรการดังกล่าวจะยกเลิกในเวลา 23.59 น.ของวันที่ 20 มิ.ย.นี้
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงินเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.16 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ34.95-35.20 บาทต่อดอลลาร์
- ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากพิจารณาจากสัญญาณของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และดูจากทิศทางการปรับดอกเบี้ยโลก จะเห็นว่าเป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อแนวโน้มสูงขึ้น และธนาคารกลางต่างๆ จะใช้นโยบายดอกเบี้ยในการสกัดกั้นเงินเฟ้อ ซึ่งในส่วนของไทยเอง คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมทั้ง 3 ครั้งที่เหลือของปี รอบละ 0.25% แต่คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกประชุม กนง.นัดพิเศษ ก่อนที่จะมีการประชุมตามรอบปกติในเดือน ส.ค. ก.ย. และ พ.ย. เพราะไม่เช่นนั้น จะส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาได้ อีกทั้งไม่ได้มีเหตุที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง
- ผู้บริหารฝ่ายวิจัยตลาดเงินและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองว่า ประเทศไทยยังอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเป็นขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในไตรมาส 3 นี้
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, RYT9