ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ถ่วงสัญญาทองคำลง โดยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นลดความน่าดึงดูดของทองคำ ขณะที่ทำให้สัญญาทองคำมีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดสำหรับผู้ถือสกุลเงินอื่น
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -13.44 เหรียญ หรือ -0.73% มาอยู่ที่ระดับ 1,837.23 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง -9.3 เหรียญ หรือ -0.5% ปิดที่ 1,840.6 เหรียญ และสัญญาทองคำปรับตัวลงราว 1.9% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง -29.8 เซนต์ หรือ -1.36% ปิดที่ 21.587 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 11.6 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,075.54 ตัน ภาพรวมเดือนมิถุนายน ซื้อสุทธิ 7.18 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 99.88 ตัน
- นักวิเคราะห์จาก Externity ระบุว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการที่เฟดปรับจึ้นดอกเบี้ย เพื่อคุมเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนหันมาต้องการลงทุนในทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง
- นักวิเคราะห์จาก Bank of China International ระบุว่า แรงกดดันจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ ยังเป็ยปัจจัยที่มีน้ำหนักมากกว่า ปัจจัยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย
- นักวิเคราะห์กลยุทธ์ของ DailyFX กล่าวว่า ราคาทองคำในช่วงนี้ไม่ได้เคลื่อนตัวมากนัก โดยจะทรงตัวอยู่ในกรอบแถวบริเวณ 1,800 – 1,890 เหรียญ เพื่อรอดูทิศทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อความชัดเจนของราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 1.05 จุด หรือ 1.01% มาอยู่ที่ระดับ 104.68 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.072% มาอยู่ที่ระดับ 3.231% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 3.185% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.046%
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนประเมินโอกาส 92% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% และโอกาส 8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบ 26-27 ก.ค.
- นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ชี้แจงต่อกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) เกี่ยวกับเครื่องมือที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกของตลาดในยูโรโซน (fragmentation) หรือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ของประเทศสมาชิกยูโรโซนปรับตัวแตกต่างจากกันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนลงไปว่า จะเริ่มมีการใช้เครื่องมือใหม่นี้เมื่อใด และเครื่องมือใหม่นี้จะทำงานอย่างไร
- นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ระบุว่า "เป็นที่เห็นได้ชัดว่าแนวโน้มของภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเฟดในการพิจารณาว่า เฟดควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่เป็นกลางอย่างรวดเร็วเพียงใด และควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าระดับที่เป็นกลางมากเพียงใด เพื่อจะได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อดิ่งลงอย่างชัดเจนและน่าเชื่อถือ"
- นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินว่า เงินเยนที่ทรุดตัวลงกำลังส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น พร้อมทั้งระบุว่าเงินเยนควรจะเคลื่อนไหวอย่างมีเสียรภาพ และสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเงิน นอกจากนี้ยังย้ำว่า BOJ จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
- หัวหน้าฝ่ายแผนยุทธศาสตร์หุ้นโลกของบริษัทเจฟฟรีส์กล่าวว่า "ยิ่งเยนดิ่งลงมากเพียงใด นักลงทุนก็จะยิ่งมีความกังวลมากเพียงนั้นในเรื่องการแข่งขันกันปรับลดค่าเงินในเอเชีย โดยเฉพาะค่าเงินหยวน"
- สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) มีมติเห็นชอบข้อตกลงการค้าหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงข้อตกลงเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การปฏิรูปด้านต่าง ๆ และความมั่นคงด้านอาหาร หลังจากการเจรจาอันยาวนานกว่า 5 วัน
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ และร่วงลงรายสัปดาห์คิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดในรอบหลายเดือน เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกพยายามที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,888.78 จุด ลดลง 38.29 จุด หรือ -0.13%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,674.84 จุด เพิ่มขึ้น 8.07 จุด หรือ +0.22%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,798.35 จุด เพิ่มขึ้น 152.25 จุด หรือ +1.43%
- นายโคอิจิ ฮากิอุดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ, การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดสรรงบประมาณ 4.76 แสนล้านเยน (3.6 พันล้านดอลลาร์) ให้กับบริษัทย่อยของบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ เมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิตชิปที่กำลังก่อสร้างอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น
- คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ให้คำมั่นว่าจะดำเนินมาตรการที่หลากหลาย เพื่อเร่งพัฒนาบริษัทเอกชนและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ และเชื่อมั่นว่าสหรัฐจะสามารถเอาชนะปัญหาเงินเฟ้อได้
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อไม่นานนี้ นิตยสารนิวส์วีกเปิดเผยผลสำรวจฉบับใหม่ ซึ่งระบุว่านักเศรษฐศาสตร์เกือบ 7 ใน 10 คน เชื่อว่าสหรัฐจะเผชิญภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปีหน้า ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาตร์และอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังธนาคารกลางหลายแห่งแห่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ร่วงลง 8.03 ดอลลาร์ หรือ 6.83% ปิดที่ 109.56 ดอลลาร์/บาร์เรล และปิดร่วงลง 9.2% ในรอบสัปดาห์นี้
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 6.69 ดอลลาร์ หรือ 5.58% ปิดที่ 113.12 ดอลลาร์/บาร์เรล และปิดร่วงลง 7.3% ในรอบสัปดาห์นี้
- นักวิเคราะห์จาก OANDA ชี้ว่า ราคาน้ำมันร่วงหล่น เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า รัสเซียส่งสัญญาณการส่งออกน้ำมันมากขึ้น และความกังวลมากขึ้นว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่าได้ออกมาตรการคว่ำบาตรบริษัท 2 แห่งที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง, 3 แห่งในอิหร่าน และ 4 แห่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ตลอดจนนายจิ่งเฟิง เกา ชาวจีน และนายโมฮัมเหม็ด ชาฮีด รุกนูดดิน โบร์ ชาวอินเดียที่มีส่วนช่วยอิหร่านในการส่งออกปิโตรเคมีภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อกดดันให้อิหร่านรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2558 อีกครั้ง
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนได้พบปะกับผู้นำฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และโรมาเนียที่กรุงเคียฟ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวโน้มที่ยูเครนจะเข้าร่วมสหภาพยุโรป (EU) และหารือเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
- นายแอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะเดินทางเยือนยุโรปเพื่อเข้าร่วมการประชุมขององค์กรสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปนในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ เพื่อแสดงการสนับสนุนยูเครนหลังจากถูกรัสเซียใช้กำลังบุกโจมตี
- โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนประกาศว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 14 ณ กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ภายใต้หัวข้อ “บ่มเพาะความร่วมมือกลุ่ม BRICS ก้าวสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาระดับโลก โดยปธน.สีจะเป็นเจ้าภาพการประชุม และบรรดาผู้นำของกลุ่ม BRICS, ผู้นำประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา จะเข้าร่วมประชุมครั้งนี้
- นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐจะเปิดตัวความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกในการประชุมกลุ่ม G7 ที่เยอรมนีในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อเป็นทางเลือกในการรับมือกับโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (BRI) ของจีน
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- ศบค.รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้ เพิ่ม 1,784 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 2,277,393 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) และมียอดเสียชีวิตเพิ่ม 18 คน ทำให้เสียชีวิตสะสม 8,787 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
- จีนประกาศเพิ่มการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นสองเท่าในเมืองใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมการแพร่ระบาด ขณะที่นายนิโคลัส เบิร์นส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศจีนเตือนว่า จีนอาจจะขยายระยะเวลาการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid) ต่อไปจนถึงปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของบริษัทต่างชาติ
- ผลการวิจัยจากอังกฤษบ่งชี้ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะลองโควิด (long COVID) น้อยกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ระบาดก่อนหน้านี้
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.23 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่า”ลงเล็กน้อยจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.21 บาทต่อดอลลาร์ ภาพรวมค่าเงินบาทวันนี้ยังมีโอกาสผันผวนในฝั่งอ่อนค่าไปทดสอบแนวต้านในโซน 35.40 บาทต่อดอลลาร์ หากราคาทองคำมีการรีบาวด์ขึ้นมา อาจมีโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 2565 รอบใหม่ในเดือน ก.ค.65 จากปัจจุบันที่คาดการณ์ว่าปีนี้ GDP จะขยายตัวได้ 3.5% โดยการทบทวนจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เนื่องจากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ 0.75% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.50-1.75% ทำให้มีส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยไทยค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกบ้าง แต่เชื่อว่าจะเป็นเพียงระยะหนึ่ง เมื่อทุกอย่างเข้าที่เรียบร้อย การไหลเข้า-ออกของเงินทุนก็จะเป็นปกติ
- “ศบค.” เปิดสถิติ “ต่างชาติเที่ยวไทย” ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 มิ.ย.65 พบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยสะสม 1.6 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วงเวลาดังกล่าว มีดังนี้
- 1.อินเดีย จำนวน 169,131 คน
- 2.มาเลเซีย จำนวน 137,969 คน
- 3.สหราชอาณาจักร จำนวน 107,438 คน
- 4.สิงคโปร์ จำนวน 98,701 คน
- 5.เยอรมนี จำนวน 86,480 คน
- รายงานสถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเดือน พ.ค.2565 จำนวน 476,171 คน เพิ่มขึ้น+62.3% เทียบ เม.ย.65 เป็นผลมาจาก ศบค.มีมติผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย “ยกเลิกระบบ Test & Go” มีผลเมื่อวันที่ 1 พ.ค.2565 เป็นต้นมา และฟื้นตัวต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน โดยวันที่ 1-15 มิ.ย.2565 จำนวน 348,699 คน
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. คาดการณ์ ว่าค่าไฟรอบใหม่หรือรอบเดือน
ก.ย.- ธ.ค.2565 จะปรับขึ้นอีกประมาณ 40 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟขึ้นเป็น 4.40 บาท/หน่วย
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, RYT9, กรุงเทพธุรกิจ