• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2565

    28 มิถุนายน 2565 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดทองคำ


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -7.0 เหรียญ หรือ -0.38% มาอยู่ที่ระดับ 1,823.88 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 5.5 เหรียญ หรือ 0.3% ปิดที่ 1,824.8 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 4.30 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 21.168 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 40 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 904.1 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 4.64 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,056.4 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ขายสุทธิ 11.96 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 80.74 ตัน


  • นักวิเคราะห์อาวุโสของ OANDA กล่าวว่า จากการที่กลุ่มประเทศ G7 ประกาศห้ามนำเข้าทองคำจากรัสเซีย ได้ช่วยสนับสนุนการซื้อขายทองคำระยะสั้น ในช่วงต้นของตลาดเอเชีย


  • หุ้นส่วนผู้จัดการของ SPI Asset Management กล่าวว่า ตลาดซึมซับประเด็นข่าวต่างๆ อย่างรวดเร็ว และกลับมาประเมินอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนการปรับขึ้นและในขณะนี้ ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยลบต่อทองคำ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะส่งผลให้เฟดปรับลดดอกเบี้ยน้อยลงกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลบวกต่อราคาทองคำอีกครั้ง


ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง


  • ดัชนีดอลลาร์  ปรับตัวลดลง -0.22 จุด หรือ -0.21% มาอยู่ที่ระดับ 103.96 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวขึ้น 0.068% มาอยู่ที่ระดับ 3.202% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี  อยู่ที่ระดับ 3.132% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ 0.07%


  • นักวิเคราะห์จาก Scotiabank ชี้ว่า การที่ดัชนีดอลลาร์ซื้อขายที่ขอบล่างของช่วงราคาที่ซื้อขาย ส่งสัญญาณว่า มีความเปราะบางและอาจอ่อนตัวลงต่อเนื่อง


  • นักวิเคราะห์จาก Monex Europe ชี้ว่า ในภาพรวม ตลาดปรับลดคาดการณ์อัตราสูงสุดที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ ลดความน่าดึงดูดของการถือครองเงินดอลลาร์ จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แคบลง


  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนปรับตัวขึ้น เนื่องจากความวิตกเรื่องเงินเฟ้อสร้างแรงกดดันในช่วงขาลงต่อราคาพันธบัตรรัฐบาล ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในสัปดาห์นี้จะออกมาสูงเป็นประวัติการณ์


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ โดยตลาดถูกกดดันจากแรงขายหุ้นเติบโต (Growth Stocks) ซึ่งเป็นหุ้นที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,438.26 จุด ลดลง 62.42 จุด หรือ -0.20%,
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,900.11 จุด ลดลง 11.63 จุด หรือ -0.30% และ
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,524.55 จุด ลดลง 83.07 จุด หรือ -0.72%


  • สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวรในภาคการผลิตยานยนต์ของจีน เติบโตระดับเลขสองหลังในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. ปีนี้ ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า กลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศ มีการลงทุนช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบรายปี หรือเพิ่มขึ้น 0.8% จากช่วง 4 เดือนแรก


  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนพ.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อรถยนต์


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะเผชิญกับภาวะตึงตัวมากขึ้นหลังจากกลุ่มประเทศ G7 ยืนยันว่าจะใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในระดับที่รุนแรงขึ้น เพื่อสกัดแหล่งรายได้ในการทำสงครามของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 109.57 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 1.97 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 115.09 ดอลลาร์/บาร์เรล


  • กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของเอกวาดอร์ระบุว่า เอกวาดอร์อาจต้องระงับการผลิตน้ำมันใน 48 ชั่วโมงข้างหน้า หากการประท้วงของกลุ่มคนพื้นเมืองและการปิดถนนยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมน้ำมันของเอกวาดอร์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเหตุดังกล่าว รวมถึงการปิดบ่อน้ำมันในประเทศ


  • นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันที่ 30 มิ.ย. หลังจากมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันในเดือนก.ค.และส.ค.


ข่าวเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ


  • กองกำลังรัสเซียกำลังต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในยูเครน ขณะที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่รัสเซียหนุนหลังกล่าวว่า กองทัพรัสเซียกำลังโจมตีเมืองลิซิคานสค์ เมืองใหญ่ซึ่งเป็นฐานที่มั่นแห่งสุดท้ายที่กองทหารยูเครนยังคงรักษาไว้ได้ในแคว้นลูฮันสก์ทางตะวันออกของประเทศ


  • ผู้นำกลุ่มประเทศ G7 ประกาศว่าจะหาทางช่วยเหลือยูเครนมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาพลังงานและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามรัสเซียที่เริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนก.พ. โดยประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน เตรียมแถลงในการประชุมสุดยอด G7 ที่เยอรมนี เพื่อหารือเรื่องแผนฟื้นฟูและสร้างใหม่สำหรับยูเครน ซึ่งคล้ายคลึงกับแผนมาร์แชลที่ช่วยยุโรปฟื้นตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐมีแนวโน้มที่จะประกาศเรื่องการซื้อระบบขีปนาวุธพิสัยกลางถึงไกลที่ยิงจากภาคพื้นสู่อากาศให้กับยูเครนในสัปดาห์นี้


  • สำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่า ไต้หวันและสหรัฐจัดการเจรจาการค้าในวันจันทร์ที่ผ่านมา ภายใต้กรอบการทำงานที่ตกลงใหม่


  • ชาวไต้หวันบางส่วนที่ถือพันธบัตรสกุลเงินยูโรของรัสเซียยังไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยพันธบัตรตามกำหนดในวันที่ 27 พ.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่ารัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ศตวรรษ


  • นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตือนว่า หากรัสเซียเข้ายึดครองยูเครนได้สำเร็จ ทั้งโลกจะเผชิญกับหายนะอย่างแน่นอนพร้อมกับเรียกร้องให้ชาติตะวันตกเดินหน้าสนับสนุนยูเครนขณะที่สงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป โดยให้เหตุผลว่า การยอมให้รัสเซียชนะอาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่เป็นอันตรายได้


  • นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ย้ำให้บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศ G7 เล็งเห็นความจำเป็นของการร่วมมือกันเพื่อสร้างแนวป้องกันที่เข้มแข็งและเรียนรู้บทเรียนที่เป็นอันตรายจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยนายคิชิดะอ้างถึงการแสดงอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยจีนส่งเรือหลายลำเข้ามายังน่านน้ำรอบหมู่เกาะเซนกากุ และการสำรวจแหล่งก๊าซในทางทะเลจีนตะวันออกว่าเป็นการพยายามเปลี่ยนแปลงสถานะโดยใช้กำลัง


  • ประเทศสมาชิกบางชาติในกลุ่ม G7 กำลังเร่งผลักดันให้เกิดการยอมรับถึงความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณก้อนใหม่เพื่อลงทุนในพลังงานฟอสซิล หลังจากที่ยุโรปประสบปัญหาในการแสวงหาแหล่งพลังงานอื่น


ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด


  • สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,761 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,517,651 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 13 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 8,922 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 30,620 ราย


  • เขตปกครองพิเศษมาเก๊าดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชนจำนวนกว่า 600,000 คนในเมื่อวานนี้ เป็นรอบที่ 3 เพื่อสกัดการแพร่ระบาดหลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลมาเก๊าได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์อาคารที่อยู่อาศัยหลายแห่ง และกักตัวประชาชนมากกว่า 5,000 คนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระบุว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 38 รายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมทั้งสิ้นอยู่ที่ 299 รายในการระบาดรอบปัจจุบัน


  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฮ่องกงรายงานในวันอาทิตย์ว่า พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่จำนวน 1,917 ราย โดยฮ่องกงยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เหลือเพียงไม่กี่วันก่อนถึงกำหนดการเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีที่ฮ่องกงหวนคืนสู่จีน


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน ระบุว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  35.35 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.32 บาทต่อดอลลาร์ ภาพรวมแนวโน้มค่าเงินบาท  แม้จะพอได้แรงหนุนในฝั่งแข็งค่า จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แต่เงินบาทยังคงมีแนวโน้มผันผวน โดยต้องระวังแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ที่อาจกลับมาได้ทุกเมื่อ หากตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง


  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 35.25-35.70 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา


  • ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในทั่วโลก ที่ทำให้เกิดภาวะ New Normal ในด้านต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากผลของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อของทั่วโลกเร่งตัวสูงขึ้นอย่างที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ และนำมาสู่การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งนี้ กนง.ไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไปจากระดับ 1-3% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่ยอมรับว่า เงินเฟ้อในระยะสั้นอาจจะมีความผันผวนและหลุดกรอบเป้าหมายไปบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม แต่เชื่อว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ 1-3% นี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยแล้ว



ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, RYT9, Bangkokbiznews


 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com