ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า เฟดจะเดินหน้าควบคุมเงินเฟ้ออย่างจริงจัง และส่งสัญญาณว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง 3.65 เหรียญ หรือ -0.21% มาอยู่ที่ระดับ 1,714.18 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 7.6 ดอลลาร์ หรือ -0.44% ปิดที่ 1,720.2 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 18.2 เซนต์ หรือ -1% ปิดที่ 18.442 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.9 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 968.15 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 5.22 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 7.51 ตัน
- กรรมการผู้จัดการของ GoldSilver Central ระบุว่า ราคาทองคำยังไม่สามารถปรับตัวสูงบึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้ สังเหตได้จากเม็ดเงินที่ไหลออกจากกองทุนทองคำ SPDR อย่างต่อเนื่อง และนักลงทุนก็ยังคงไม่ลงทุนในทองคำเนื่องจากเฟดยังคงดำเนินการปรับขึ้นดอกเบี้ย
- นักวิเคราะห์ของ Kinesis Money ระบุว่า มีโอกาสในการเข้าช้อนซื้อโลหะเงินในช่วงนี้ เนื่องจากราคาโลหะเงินดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็นอย่างมาก และอุปสงค์ในโลหะเงินยังคงมีแนวโน้มในทางบวก เนื่องจากโลหะเงินเป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานดั้งเดิมไปสู่พลังงานสะอาด อย่างเช่นอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.44 จุด หรือ -0.4% มาอยู่ที่ระดับ 109.23 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.047% มาอยู่ที่ระดับ 3.314% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 3.513% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ -0.199%
- Fed Watch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนประเมินโอกาส 84% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบ 20-21 ก.ย. และประเมินโอกาสเพียง 16% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%
- ประธานเฟดเจอโรม พาวเวลล์ แถลงตอกย้ำ เฟดจะให้คำมั่นสัญญาอย่างหนักแน่นในการควบคุมเงินเฟ้อ และเราคิดว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหายอย่างสูงต่อสังคม ต่างจากที่พอลล์ เกอร์ อดีตประธานเฟดที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
- ธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ปรับขึ้นจาก ระดับ 0% สู่ระดับ 0.75%
- พร้อมระบุในรายงานว่า “การปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงแรกในอัตราที่สูง(Frontload) จะช่วยปรับเปลี่ยนจากการใช้นโยบายระดับอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนคลาย ไปสู่ระดับที่เพียงพอทีจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสามารถกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายระยะกลางของอีซีบีที่ 2% ได้ทันเวลา”
- และระบุว่า “คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูง และมีแนวโน้มว่าจะยังคงสูงกว่าเป้าหมายไปอีกนะยะเวลาหนึ่ง”
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจใน 12 เขตของสหรัฐหรือ Beige Book ในวันพุธที่ผ่านมา โดยระบุว่า แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจอ่อนแอลงในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง หลังจากพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก่อนหน้านั้น
- นางลาเอล เบรนาร์ด รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป "ตราบใดที่เฟดต้องการทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง" ซึ่งนับเป็นการยืนยันล่าสุดของเฟดว่า การต่อสู้กับแรงกดดันด้านราคาเป็นภารกิจสำคัญอันดับหนึ่งของเฟด และ "ในบางขณะ ความเสี่ยงจากนโยบายของเฟดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น และการประเมินของเฟดจะเป็นแบบสองด้านมากขึ้น แต่ในตอนนี้ นโยบายการเงินจะต้องเป็นแบบจำกัดต่อไปอีกพักหนึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมาย 2% ของเฟด"
- โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ระดับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยคาดว่า เฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนนี้ และอีก 0.50% ในเดือนพ.ย. เพิ่มจากคาดการณ์ก่อนหน้าว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% และ 0.25% ตามลำดับ
- ธนาคารกลางแคนาดาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.25% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 14 ปี
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยข้อมูลในรายงานนโยบายการเงินประจำไตรมาส โดยอธิบายเหตุผลที่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 0.50% ในเดือนก.ค. ว่า การรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าได้เร็วเป็นผลดีกว่าต่อการเติบโตในระยะยาว
- สกุลเงินเยนปรับตัวในกรอบแคบ ๆ หลังร่วงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปีใกล้กรอบ 145 เยน ในระหว่างการซื้อขายที่ตลาดเงินลอนดอนและตลาดเงินนิวยอร์กในวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนนี้ ซึ่งจะทำให้ช่องว่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่นปรับตัวกว้างขึ้นอีก
- รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า จัดการประชุมร่วมกันเมื่อวานนี้ เพื่อหารือเรื่องตลาดปริวรรตเงินตรา หลังจากเงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี
- สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ของรัสเซียรายงานโดยอ้างอิงถ้อยแถลงของนายแอนตัน ซิลูอานอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรัสเซียว่า สกุลเงินหยวนของจีนนั้นจะมีบทบาทในทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียเพิ่มมากขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มเฮลธ์แคร์ หลังจากตลาดอ่อนแรงลงในช่วงแรก อันเนื่องมาจากการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,774.52 จุด เพิ่มขึ้น 193.24 จุด หรือ +0.61%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,006.18 จุด เพิ่มขึ้น 26.31 จุด หรือ +0.66% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,862.13 จุด เพิ่มขึ้น 70.23 จุด หรือ +0.60%
- การคาดการณ์ใหม่จากทีมนักวิจัย ซึ่งมีนักเศรษฐศาสตร์ 2 คนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) รวมอยู่ด้วย ระบุว่า อัตราว่างงานของสหรัฐอาจจะต้องแตะระดับสูงถึง 7.5% ซึ่งสูงกว่าระดับปัจจุบันสองเท่าเพื่อยุติภาวะเงินเฟ้อสูงของสหรัฐ นั่นจะหมายถึงการลดตำแหน่งงานลงประมาณ 6 ล้านคน
- แหล่งข่าววงในเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ ลังเลที่จะยกเลิกการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน อันเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐกำลังศึกษาวิธีต่าง ๆ ในการช่วยแบ่งเบาภาระด้านต้นทุนของภาคธุรกิจ
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไตรมาส 2/65 ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น เนื่องจากการยกเลิกข้อจำกัดด้านโควิด-19 กระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ จากรายงานระบุว่า จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาสสอง ขยายตัว 3.5% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้นว่าเพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบรายปี แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว และราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 86.6% สู่ระดับ 2.29 แสนล้านเยน (1.59 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยที่สุดสำหรับเดือนก.ค.นับตั้งแต่ปี 2528 เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าและราคาน้ำมันที่แพงขึ้นได้เพิ่มต้นทุนการนำเข้า
- อัตราค่าระวางเรือยังคงปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณการค้าทั่วโลกชะลอตัว หลังอุปสงค์สินค้าหดตัวลง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากราคาน้ำมันร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่รัสเซียขู่ว่าจะระงับการส่งออกน้ำมันและก๊าซให้กับชาติตะวันตก
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.6 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 83.54 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 89.15 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ขู่ระงับการส่งออกพลังงานไปยังยุโรปทุกช่องทาง หากยุโรปยังคงยืนยันการจำกัดเพดานราคาของก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
- นักวิเคราะห์จาก Haitong Futures ระบุว่า แนวโน้มราคาน้ำมันได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่หลากหลาย อย่างเช่น การต่อสู้ทางด้านพลังงานระหว่างชาติตะวันตกและรัสเซีย รวมถึงการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- สหรัฐเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) กับกลุ่มประเทศเอเชียเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคานอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค คาดว่า 13 ประเทศจะส่งผู้แทนเข้าร่วมงานประชุม IPEF ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ณ นครลอสแอนเจลิส
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,191 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,665,347 ราย ยอดผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) ระหว่างวันที่ 28 ส.ค. - 3 ก.ย.2565 จำนวน 131,139 ราย สะสม 7,832,514 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 20 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 10,805 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 32,503 ราย
- เฉิงตูซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนในประเทศจีน ได้ประกาศขยายเวลาล็อกดาวน์พื้นที่ส่วนใหญ่อย่างไม่มีกำหนด โดยหวังที่จะสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในเมืองซึ่งมีประชากรราว 21.2 ล้านคน
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ ที่ระดับ36.40 บาทต่อดอลลาร์ “ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง”จากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.30-36.45 บาทต่อดอลลาร์
- คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เห็นชอบเดินหน้าโครงการประกันรายได้ข้าวปี 4 วงเงินรวม 1.5 แสนล้านบาท จ่ายส่วนต่าง 33 งวด เริ่ม 14 ต.ค.65 นี้
- นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย หรือ เฟทโก้ (FETCO) ชี้เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงการฟื้นตัว สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่
- สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน รวมถึงนโยบาย Zero-COVID ของจีนที่ยังคงมีการประกาศ Lockdown เป็นระยะ ๆ
- และปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นรองลงมาคือ นโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการไหลออกของเงินทุนใน
- ขณะที่ลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะส่งผลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ
ที่มาจาก : Reuters, FXstreet, Infoquest, CNBC