ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลลาร์ และความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -22.89 เหรียญ หรือ -1.33% มาอยู่ที่ระดับ 1,701.04 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 23.2 ดอลลาร์ หรือ 1.33% ปิดที่ 1,717.4 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 36.9 เซนต์ หรือ 1.86% ปิดที่ 19.491 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.03 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 962.88 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 10.49 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 12.78 ตัน
- เทรดเดอร์อาวุโสจาก Heraeus Precious Metals ให้ความเห็นว่า ราคาทองคำปรับตัวลงจากรายงานเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด เป็นการตอกย้ำหนุนเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% นอกจากนี้ ดอลลาร์ปรับพุ่งสูงขึ้น ยังคงกดดันราคาทองคำต่อไป
- หัวหน้านักวิเคราะห์กลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ Saxo bank ระบุว่า ภาพรวมการประกาศเงินเฟ้อ บ่งชี้ว่า เฟดยังคงต้องดำเนินการต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อต่ำลง
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 1.75 จุด หรือ 1.59% มาอยู่ที่ระดับ 109.97 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.046% มาอยู่ที่ระดับ 3.41% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 3.76% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ -0.35%
- Fed Watch Tools บ่งชี้ว่า ตลาดประเมินความเป็นไปได้สูงถึง 84% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ ทั้งยังปรับเพิ่มคาดการณ์ มีความเป็นไปได้ 16% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 1.00% และมองโอกาส 0% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50%
- ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ บ่งชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวน 44 คนจาก 72 คนคาดว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% ในสัปดาห์หน้า เป็นจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับนักเศรษฐศาสตร์เพียง 20% ที่แสดงความเห็นดังกล่าวในผลสำรวจในเดือนที่แล้ว และถ้าเกิดขึ้นจริง อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นสู่กรอบเป้าหมาย 3.00-3.25% ซึ่งสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2008
- สำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางรัสเซียอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ระดับ 7.5% ในการประชุมวันศุกร์นี้ เพื่อกระตุ้นการปล่อยกู้ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทรุดตัวลงอย่างหนักในวันอังคาร โดยนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นวงกว้าง หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยขณะนี้นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 1.00% ในการประชุมเดือนนี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,104.97 จุด ร่วงลง 1,276.37 จุด หรือ -3.94%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,932.69 จุด ลดลง 177.72 จุด หรือ -4.32% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,633.57 จุด ร่วงลง 632.84 จุด หรือ -5.16%
- รายงานเงินเฟ้อสหรัฐยังคงร้อนแรงและชะลอตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แม้ว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองก็ตาม ทั้งนี้รายงานเงินเฟ้อสำหรับเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 8.5% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 8.1% เมื่อเทียบรายปี แม้ว่าปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 8.5%
- นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงของจีน เตรียมออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ โดยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูการอุปโภคบริโภค และการส่งเสริมการลงทุน
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) รายงานในวันนี้ว่า ราคาค้าส่งในญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 9.0% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี หลังจากทะยานขึ้น 9.0% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า ต้นทุนวัตถุดิบที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องยังคงส่งผลลบต่ออัตราผลกำไรในภาคเอกชน และตัวเลขนี้สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ในตลาดที่ +8.9% สำหรับเดือนส.ค.
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่สูงกว่าคาดจะกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 47 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 87.31 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 83 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 93.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ประธานาธิบดีสหรัฐโจ ไบเดน กำลังพิจารณาว่า จะต่ออายุมาตรการปล่อยน้ำมันดิบสำรองจากคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐหรือไม่ โดยที่เดิม มาตรการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมในปีนี้ ปล่อยออกวันละ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะครบกำหนดในเดือนตุลาคมนี้
- นักวิเคราะห์จาก Barclays ระบุว่า เรายังคงมั่นใจแนวโน้มขาขึ้นของราคาน้ำมัน จากการปัจจัยหนุนจากด้านอุปทานน้ำมันที่ (1) การเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำมันในสหรัฐเติบโตช้ากว่าที่คาด และ (2) กลุ่มโอเปคพลัสดำเนินนโยบายเชิงรุก แม้ว่าจะมีปัจจัยกดดันทางด้านอุปสงค์น้ำมันที่ส่งผลกระทบอย่างมากก็ตาม
- นักวิเคราะห์ราคาพลังงานจาก Mizuho ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น แสดงความสัมพันธ์ที่ผกผันกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสกุลเงินดอลลาร์ ทั้งยังกดดันอัพไซด์ขาขึ้นของตลาดพลังงานเช่นกัน
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน หารือกับนางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวานนี้ โดยยูเครนยังคงเดินหน้าเรียกร้องให้ IMF ปล่อยเงินกู้ยืมให้กับยูเครนอย่างเต็มที่
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,321 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,670,184 ราย ยอดผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย.2565 จำนวน 107,503 ราย สะสม 7,940,017 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 14 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 10,880 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 32,578 ราย
- กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นอนุมัติการใช้วัคซีนเข็มบูสเตอร์ของบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นาในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเมื่อช่วงเย็นวันจันทร์ ซึ่งจะปูทางให้วัคซีนของทั้ง 2 บริษัทเข้าสู่ตลาดเฮลท์แคร์ของญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
- ฮ่องกงกำลังเปลี่ยนศูนย์กักกันผู้ติดเชื้อโควิด-19 แห่งหนึ่งไปเป็นสถานกักตัวผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงแทน แม้เพิ่งพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงเพียงรายเดียวก็ตาม
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ ที่ระดับ 36.64 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.27 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.55-36.80 บาทต่อดอลลาร์
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 90.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.0 ในเดือนก.ค. โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยในประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้นและภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากความต้องสินค้าภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนส.ค. อยู่ที่ 43.7 จาก 42.4 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน
- กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า EIC ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 เป็น 3.0% (เดิม 2.9%) และ 3.7% ในปี 66 ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและภาคบริการ จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพรมแดนทั่วโลก
- ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่ออายุมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลอีกลิตรละ 5 บาท เป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่ 21 ก.ย.-30 พ.ย.นี้
- ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผล 1 ต.ค. สูงสุด 356 บาท ต่ำสุด 328 บาทต่อวัน ตามที่คณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงานเสนอ
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews, Trading Economics