ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่ชะลอการแข็งค่า อย่างไรก็ดี สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 6.56 เหรียญ หรือ 0.4% มาอยู่ที่ระดับ 1,628.41 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.8 เหรียญ หรือ 0.17% ปิดที่ 1,636.2 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 14.3 เซนต์ หรือ 0.77% ปิดที่ 18.337 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.61 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 940.86 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 32.51 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 34.8 ตัน
- นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า สถานะความเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของทองคำท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่สามารถหยุดยั้งแรงเทขายทองคำได้
- นักวิเคราะห์จาก IG ระบุว่า ความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงนำไปสู่การที่เฟดใช้นโยบายการเงินเข้มงวด ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จำกัดทิศทางขาขึ้นของราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.17 จุด หรือ 0.14% มาอยู่ที่ระดับ 114.19 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.014% มาอยู่ที่ระดับ 3.945% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 4.291% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ -0.346%
- ประธานเฟดสาขาชิคาโก ชาร์ล อีแวนส์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากังวลเกี่ยวกับการที่เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เร็วเกินไปในการควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยงระบุว่า เขามีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลีกเลี้ยงการเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ บนเงื่อนไขว่า ไม่มีปัจจัยภายนอกมากระทบไปมากกว่านี้
- ทีมนักวิเคราะห์ของบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ เตือนว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์กำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินอีกครั้ง
- ค่ากลางของหยวนแตะระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 27 เดือน หลังจากธนาคารกลางจีนได้ประกาศการเก็บค่าพรีเมียมความเสี่ยงฟอร์เวิร์ดเงินตราต่างประเทศในอัตรา 20% อีกครั้งเพื่อสกัดกั้นการซื้อดอลลาร์ และนักวิเคราะห์คาดว่าจะมีมาตรการแทรกแซงเพิ่มเติม ถ้าหยวนร่วงลงเร็วเกินไป
- นักวิเคราะห์ตลาดการเงินของบริษัทซิตี้ อินเด็กซ์กล่าวว่า "ปฏิกิริยาในตลาดแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในวิธีการของรัฐบาลอังกฤษ และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ปอนด์แกว่งตัวผันผวนในแบบเดียวกับสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศ"
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 6 ในวันอังคาร ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งรวมถึงนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ได้ออกมาสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงก็ตาม
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,134.99 จุด ลดลง 125.82 จุด หรือ -0.43%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,647.29 จุด ลดลง 7.75 จุด หรือ -0.21% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,829.50 จุด เพิ่มขึ้น 26.58 จุด หรือ +0.25%
- องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังคงแสดงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวถึงระดับก่อนเกิดโรคโควิด-19 ระบาดได้ในเร็วๆนี้ ทั้งนี้ รายงานการท่องเที่ยวโลกล่าสุด (World Tourism Barometer) ระบุว่า นักท่องเที่ยวประมาณ 474 ล้านคนเดินทางระหว่างประเทศในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ โดยคิดเป็น 57% ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางในช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และจำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวแข็งแกร่งที่สุดในยุโรปและตะวันออกกลาง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวคิดเป็น 74% และ 76% ของระดับในปี 2562 ตามลำดับ
- องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะเผชิญกับภาวะตกต่ำ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 1.5% ในปีนี้ และจะชะลอตัวเหลือเพียง 0.5% ในปีหน้า ซึ่งลดลงจาก 2.5% และ 1.2% ที่คาดไว้ในเดือนมิ.ย.
- องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) คาดว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะขยายตัว 3.1% ในปีนี้ และจะชะลอตัวเหลือเพียง 0.3% ในปีหน้า ซึ่งหมายความว่า ยูโรโซนจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางช่วงของปีหน้า ซึ่งหมายถึงภาวะเศรษฐกิจหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน และนั่นเป็นการปรับลดลงอย่างมากจากที่เคยคาดไว้ในเดือนมิ.ย. ซึ่งคาดไว้ว่าจะขยายตัว 1.6% ในปีหน้า
- นายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสติกระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอังกฤษ รวมทั้งแผนการคลังของรัฐบาลชุดใหม่ได้จุดชนวนการเทขายเงินปอนด์อย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และอาจสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแบบเป็นระลอกคลื่นไปทั่วยุโรปและสหรัฐ
- องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) คาดว่าคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเพียง 3.2% ในปีนี้ และ 4.7% ในปีหน้าเนื่องจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เคร่งครัด ซึ่งเป็นการปรับลดลงจาก 4.4% และ 4.9% ที่คาดไว้ในเดือนมิ.ย.
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมจีนปรับตัวลง 2.1% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 หลังจากที่ลดลง 1.1% ในช่วง 7 เดือนแรกของปี เนื่องจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์ควบคุมโควิด-19 และการทรุดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ วิกฤตคลื่นความร้อนยังส่งผลให้กิจกรรมด้านการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมชะลอตัวลงด้วย
- เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวแบบเปราะบางอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ย. โดยการปรับตัวขึ้นของยอดขายรถยนต์และบ้านในกลุ่มเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ ถูกบั่นทอนจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอลงและความเชื่อมั่นธุรกิจที่ย่ำแย่ลง
- โกลด์แมน แซคส์ และแบล็คร็อค ได้แสดงมุมมองเชิงลบเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะสั้น โดยเตือนว่าตลาดหุ้นยังคงมีความเสี่ยงที่จะถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ทั้งนี้ นักกลยุทธ์ด้านการลงทุนของโกลด์แมน แซคส์ ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นทั่วโลกในช่วง 3 เดือนข้างหน้า และยังคงเพิ่มน้ำหนักในการถือเงินสด ขณะที่แบล็คร็อคแนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
- ธนาคารโลกเปิดเผยว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะชะลอตัวลงอย่างมากในปี 2565 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน แต่จะขยายตัวเร็วขึ้นในปี 2566 ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงการคาดการณ์ของธนาคารโลกว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศจีน มีแนวโน้มขยายตัว 3.2% ในปี 2565 โดยลดลงจากคาดการณ์เดิมในเดือนเม.ย.ที่ 5% และลดลงจากที่ขยายตัว 7.2% เมื่อปีที่แล้ว จากนั้นจะขยายตัวเร็วขึ้นสู่ 4.6% ในปีหน้า โดยปัจจัยหลักของการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 ครั้งนี้มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งถูกกดดันจากการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างเข้มงวดจนส่งผลกระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ยอดขายในประเทศ และการส่งออก
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ปรับตัวลดลงในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเดือนที่ 2 ทั้งนี้จากผลสำรวจของ BOK แสดงให้เห็นว่า ชาวเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ประมาณ 4.2% ลดลงจากระดับ 4.3% ที่มีการสำรวจในเดือนส.ค. และระดับ 4.7% ที่มีการสำรวจในเดือนก.ค.
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร หลังจากมีรายงานว่า พายุเฮอร์ริเคนเอียน (Ian) กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้อ่าวเม็กซิโก ขณะที่บริษัทพลังงานหลายแห่งสั่งอพยพคนงานออกจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 1.79 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 78.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 2.21 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 86.27 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์จาก ING Economics ระบุว่า ถ้าหากกลุ่มโอเปคพลัสจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน เราจะเห็นการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันในปริมาณที่มากกว่าการปรับลดในการประชุมครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 100,000 บาร์เรลตอวัน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดมากเพียงพอ
- สวีเดนออกแจ้งเตือนเหตุก๊าซธรรมชาติรั่วไหลออกจากท่อก๊าซธรรมชาตินอร์ดสตรีม 1 จำนวน 2 จุดในสวีเดนและเดนมาร์ค ซึ่งพบประเด็นดังกล่าว หลังจากพบการรั่วไหลของท่อก๊าซธรรมชาตินอร์ดสตรีม 2 เมื่อไม่นานมานี้
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธบิดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ออกเตือนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่อยูเครนและชาติตัวันตกอีกครั้ง ในวันสุดท้าย(27 ก.ย.)ของการลงประชามติผนวกรวม 4 รัฐของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 811 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,679,833 ราย ยอดผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) ระหว่างวันที่ 18-24 ก.ย.2565 จำนวน 81,258 ราย สะสม 8,117,241 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 9 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 11,047 ราย ขณะที่ ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 32,745 ราย
- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) แถลงในวันจันทร์ (26 ก.ย.) ว่า ได้สั่งซื้อวัคซีนเทโควิริแมต (Tecovirimat) มากกว่า 10,000 โดสสำหรับป้องกันโรคฝีดาษลิง (monkeypox) แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในสหภาพยุโรป (EU) ลดลงก็ตาม
- รัฐบาลแคนาดาเปิดเผยว่า แคนาดาจะยกเลิกข้อจำกัดด้านโควิด-19 ทั้งหมดสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกข้อกำหนดในการฉีดวัคซีน และการสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะโดยสารเครื่องบินและรถไฟ
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ ที่ระดับ 37.99 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 37.97 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้อยู่ที่ระดับ 37.90-38.20 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (8.00น.) เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 38 บาทต่อดอลลาร์เล็กน้อยที่ 38.03 บาทต่อดอลลาร์
- ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ระบุถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าว่า เงินบาทใกล้ทะลุ 38 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ในช่วงสั้น ๆ คงไม่มีใครบอกได้ว่าจะขึ้นลงอย่างไร เพราะผันผวนมาก แต่ในระยะยาว ถ้ายังมีแรงกดดันต่อดอลลาร์ให้แข็งต่อไป เงินบาทก็ยังสามารถอ่อนค่าเพิ่มเติมได้
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะยังคงทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ และคาดมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุม กนง. ในวันนี้ (28 ก.ย.) และหากในการประชุมที่จะถึงนี้ กนง. มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 ตามคาด คาดมีแรงกดดันให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง
- ธนาคารโลก (World bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโต 3.1% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ที่ 2.9% ในขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการส่งออก อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกคาดว่า เศรษฐกิจไทยอาจเติบโต 4.1% ในปีหน้า โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 4.3%
- ธนาคารโลก (World bank) ระบุว่า ถึงแม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะส่งผลลบต่ออุปสงค์สำหรับการส่งออกของไทย การระบาดของโรคโควิด-19 ก็ชะลอตัวลง และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนให้การท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวขึ้น
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews, CNBC