ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาด นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่อ่อนแอ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 3.6 เหรียญ หรือ 0.22% อยู่ที่ระดับ 1,653.06 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 3.9 เหรียญ หรือ 0.24% ปิดที่ 1,658 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 16 เซนต์ หรือ 0.83% ปิดที่ 19.349 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 928.39 ตันภาพรวมเดือนตุลาคม ขายสุทธิ 11.31 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 47.27 ตัน
- ผู้จัดการของ SPI Asset Management ระบุว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและค่าเงินดอลลาร์เริ่มปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนั้นก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำอย่างมาก
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.86 จุด หรือ -0.77% มาอยู่ที่ระดับ 110.96 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.14 % มาอยู่ที่ระดับ 4.104% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.481% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.38% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกย้ำความเห็นที่ว่า เฟดน่าจะปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่า 4.5% เล็กน้อยภายในต้นปีหน้า และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวเพื่อจำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปลดลง ทั้งนี้ เขาระบุว่า จุดยืนนโยบายที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับแนวโน้ม และความเสี่ยง ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจออกมาไร้ทิศทาง ด้านตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งอยู่ แต่ก็มองเห็นความเสี่ยงที่ว่า ความแข็งแกร่งผิดปกติในตลาดแรงงานอาจจะกำลังลดลง
- ซีอีโอโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจจะตึงตัวอย่างมีความหมายนับจากนี้ไป และเฟดอาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงกว่าระดับ 4.5-4.75% ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจริงๆ
- ผลสำรวจของรอยเตอร์ระหว่างวันที่ 17-24 ต.ค. นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ จำนวน 86 คนจาก 90 คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมในวันที่ 2 พ.ย.นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสูงอยู่ และอัตราว่างงานอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดก่อนเกิดโรคระบาด และเฟดน่าจะไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่ราวครึ่งหนึ่งของระดับปัจจุบัน
- หัวหน้าฝ่ายวิจัยของบริษัท Pepper Stone กล่าวว่า มีปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายประการที่ยังคงช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐอยู่ในช่วงนี้ แต่ดอลลาร์แกว่งตัวผันผวนและเคลื่อนตัวไซด์เวย์ในช่วงนี้ โดยเขาคาดว่าดัชนีดอลลาร์อาจจะดิ่งลงแตะ 110 ก่อนจะกลับเข้าสู่ช่วงขาขึ้น และอาจจะพุ่งขึ้นทดสอบระดับ 115 นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า "ผมยังคงคิดว่าดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินที่น่าถือครองมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่มจี-10"
- ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชียแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อต่อไป แม้ว่าเกาหลีใต้กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีมุมมองว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการเร่งปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ การร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังเป็นปัจจัยหนุนตลาด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,836.74 จุด เพิ่มขึ้น 337.12 จุด หรือ +1.07%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,859.11 จุด เพิ่มขึ้น 61.77 จุด หรือ +1.63% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,199.12 จุด เพิ่มขึ้น 246.50 จุด หรือ +2.25%
- นักวิเคราะห์ของบริษัท ING ระบุว่า ความไม่แน่นอนในเรื่องนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero Covid) ในจีน และวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในจีน กลายเป็นปัจจัยที่ลดทอนประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีน ถึงแม้เศรษฐกิจจีนเติบโตขึ้นในไตรมาส 3 ในอัตราที่สูงเกินคาด
- ซีอีโอของเอชเอสบีซี (HSBC) กล่าวว่า การที่นายริชิ ซูนัก ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ จะช่วยให้ตลาดมีเสถียรภาพ หลังจากเผชิญความวุ่นวายมาระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานของนายซูนักต้องทำให้แน่ใจว่าให้ความสำคัญกับความสามารถในการแข่งขันของอังกฤษในฐานะศูนย์กลางการเงินโลก
- นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในผลสำรวจของรอยเตอร์ระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีหน้าก็คือการดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินเป็นเวลานานของสหรัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะไม่เผชิญกับภาวะถดถอยก็ตาม
- ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) และกระทรวงการค้าและอุตสาหรรมสิงคโปร์ (MTI) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน ซึ่งเป็นเงินเฟ้อพื้นฐานของสิงคโปร์ปรับตัวขึ้นแบบต่อเนื่องสู่ 5.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยส่วนใหญ่แล้วได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นเพิ่มเติมของราคาอาหาร บริการ สินค้าปลีก และสินค้าประเภทอื่นๆ
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวของผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานสากล (IEA)
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 74 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 85.32 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 93.52 ดอลลาร์/บาร์เรล
- Vanda Insights ระบุว่า ปัจจัยพื้นฐานระหว่างอุปทานน้ำมันและอุปสงค์น้ำมันค่อนข้างมีเสถียรภาพ ทำให้ความสนใจของตลาดน้ำมันอยู่ที่แนวโน้มเศรษฐกิจเป็นหลัก
- ผู้อำนวยการบริหารของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า ตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่ตึงตัวและการที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ปรับลดกำลังการผลิตลงนั้น ได้ส่งผลให้โลกอยู่ท่ามกลางวิกฤตพลังงานอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- สหรัฐออกมาเตือนรัสเซียให้ระวังผลที่จะตามมา หากรัสเซียตัดสินใจใช้ “ระเบิดกัมมันตรังสี” ซึ่งเป็นระเบิดที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสี หรืออาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ ต่อยูเครน โดยสหรัฐกังวลว่ารัสเซียอาจพยายามทำให้สงครามรุนแรงขึ้นอีก ด้วยการกล่าวหาเท็จว่ายูเครนกระทำการยั่วยุ
- นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเปิดเผยว่า อิหร่านกำลังทำให้ทั่วโลกรู้สึกไม่ปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการส่งโดรนให้กับรัสเซียเพื่อใช้ในการโจมตียูเครน
- ประธานาธิบดียุน ซอกยอล ผู้นำเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือเตรียมการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 7 เสร็จแล้ว ขณะที่เกาหลีใต้ยังคงเฝ้าระวังการยั่วยุจากเกาหลีเหนือ
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- รัฐบาลของเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางการเงินของจีน ประกาศขยายเวลาบริการตรวจโควิด-19 ฟรีจากเดิมถึงวันที่ 31 ต.ค. ออกไปเป็นวันที่ 30 พ.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ได้สั่งยกระดับการปูพรมตรวจหาเชื้อจนถึงต้นเดือนพ.ย. รวมถึงสร้างสิ่งก่อสร้างพื้นฐานด้านโควิด-19 เพิ่มเติม
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ ที่ระดับ 38.05 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 38.29 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 37.90-38.15 บาทต่อดอลลาร์
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 37.80-38.50 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 38.37 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 37.92-38.46 โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 16 ปีอีกครั้ง
- ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เตือน ประชาชนในพื้นที่ชนบทของไทยเสี่ยงเผชิญความยากจนมากขึ้น โดยระบุว่า ในขณะที่ไทยมีความคืบหน้าในการลดความยากจนลงสู่ระดับ 6.8% ในปี 2563 จากระดับสูงถึง 58% ในปี 2533 แต่อัตราความยากจนของไทยในขณะนี้กำลังสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง, ภาวะชะงักงันของรายได้ด้านการเกษตรและการทำธุรกิจ และวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews