ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (1 พ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 14.5 เหรียญ หรือ 0.89% อยู่ที่ระดับ 1,646.9 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 9 ดอลลาร์ หรือ 0.55% ปิดที่ 1,649.7 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 54.8 เซนต์ หรือ 2.87% ปิดที่ 19.667 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.45 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 919.12 ตันภาพรวมเดือนพฤศจิกายน ขายสุทธิ 1.45 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 56.54 ตัน
- รายงานจาก World Gold Council (WGC) บ่งชี้ว่า ความต้องการทองคำของโลกปรับตัวสูงขึ้น 28% เมือเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจาก ความต้องการซื้อทองคำของธนาคารกลางที่สูงเป็นระดับประวัติการณ์ ท่ามกลางการลดลงอย่างมากของความต้องการซื้อทองคำเพื่อการลงทุน
- World Gold Council (WGC) คาดการณ์ความต้องการทองคำของอินเดียมีแนวโน้มลดลง 0.25% ในไตรมาส 4/2565 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาวิกฤติเงินเฟ้อได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการทองคำในพื้นที่ชนบทของอินเดีย โดยความต้องการทองคำในอินเดียอาจจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 250 ตัน ในไตรมาส 4 ปีนี้ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 343.9 ตัน
- ผู้จัดการจาก SPI Asset Management ระบุว่า หากประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ยังคงส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดต่อ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นอีกครั้ง อาจทำให้ทองคำปรับตัวลงหลุดระดับ 1,625 เหรียญและไปทดสอบระดับ 1,600 เหรียญได้
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.06 จุด หรือ -0.05% มาอยู่ที่ระดับ 111.49 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.02 % มาอยู่ที่ระดับ 4.044% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.543% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.5% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- ประธานธนาคารกลางยุโรป นางคริสติน ลาร์การ์ด กล่าวในการแถลงการณ์ว่า
- อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังคงไม่ถึงระดับที่เป็นเป้าหมายปลายทาง
- ระดับอัตราดอกเบี้ยปลายทาง ต้องเป็นระดับที่มั่นใจได้ว่าเงินเฟ้อจะปรับลงสู่เป้าหมายเงินเฟ้อ 2%
- อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเกินไปทั่วทั้งยูโรโซน
- ยิ่งเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อยาวนานมากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้นเช่นกัน
- มีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
- ภาพรวมการเติบโจของเศรษฐกิจอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน
- มาตรการหนุนทางการคลังต้องเป็นมาตรการที่ระยะสั้น และเจาะจงเป้าหมาย
- สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นักลงทุนมั่นใจว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.75 - 4.00% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย.โดยคาดว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะหารือกันอย่างจริงจังในประเด็นที่ว่า เฟดควรจะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด เพื่อจะไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯตกต่ำลงอย่างรุนแรง ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาดูว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค.
- นักวิเคราะห์จากบริษัทอเมริไพรซ์ ไฟแนนเชียลในรัฐมิชิแกนกล่าวว่า นักลงทุนรับรู้ว่าเฟดต้องการทำให้ตลาดแรงงานและการจ้างงานชะลอตัวลง เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและฉุดเงินเฟ้อให้ปรับตัวลง แต่ข้อมูลแรงงานที่มีการเปิดเผยล่าสุดบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งมาก และอาจทำให้เฟดใช้เป็นเหตุผลในการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.85% ในการประชุมเมื่อวานนี้
- ค่าเงินหยวนร่วงลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 15 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ใ หลังจากธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2008
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (1 พ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงเร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,653.20 จุด ลดลง 79.75 จุด หรือ -0.24%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,856.10 จุด ลดลง 15.88 จุด หรือ -0.41% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,890.85 จุด ลดลง 97.30 จุด หรือ -0.89%
- สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น 437,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.7 ล้านตำแหน่งในเดือนก.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 9.85 ล้านตำแหน่ง
- นายหาว ฮง นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังได้โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียว่า “นายหวัง หูหนิง หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมือง (โปลิตบูโร) กำลังจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดประเทศ และกำลังทบทวนข้อมูลด้านโควิด-19 ในต่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์หากมีการเปิดประเทศ โดยจีนมีเป้าหมายที่จะผ่อนคลายกฎระเบียบในการควบคุมโควิด-19 ในเดือนมี.ค. 2566”
- ตลาดหุ้นจีนปรับตัวพุ่งสูงอย่างมาก หลังมีข่าวลือกระจายทั่วโซเชียลมีเดียของจีนว่า คณะกรรมการกำลังประเมินแนวทางในการยกเลิกมาตรการโควิดเป็นศูนย์และการเปิดประเทศ ในขณะที่โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนกล่าวยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว
- ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องในเดือนตุลาคม ราคาบ้านในจีนปรับตัวลง 0.01% เมื่อเทียบรายเดือน โดยข้อมูลจาก China Index Academy (CIA) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์อิสระรายใหญ่ที่สุดของจีนระบุว่า ราคาและยอดขายบ้านปรับตัวลง ซึ่งบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงและแนวโน้มที่ย่ำแย่ เนื่องจากมาตรการคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
- บริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐในไตรมาส 3 กำลังบดบังภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในไตรมาส 3 ได้รับการขับเคลื่อนส่วนใหญ่จากยอดส่งออกสุทธิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราคิดว่าอาจจะไม่ดำเนินต่อไป ทั้งนี้ ปัจจัยหนุนที่เกี่ยวกับการค้าของสหรัฐอาจจะเบาบางลงในช่วงไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า เนื่องจากดอลลาร์ที่แข็งค่า และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจะลดความต้องการสินค้าส่งออกของสหรัฐ และถ้าไม่มีการเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงิน ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่การลงทุนจะชะลอตัวลงในวงกว้างขึ้น รวมทั้งเกิดความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอย
- สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในไตรมาส 3 ตามคาด ซึ่งหนุนการคาดการณ์ที่ว่า ยูโรโซนจะเผชิญกับภาวะถดถอยในอีกไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า โดยที่ในไตรมาส 3 จีดีพีในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายไตรมาส และเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้
- สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผย เยอรมมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 0.3% ในไตรมาส 3 จาก 0.1% ในไตรมาส 2
- รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องให้ภาคครัวเรือนและธุรกิจทั่วประเทศประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงฤดูหนาวนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยร้องขอให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนพลังงาน
- คอมเมิร์ซแบงก์ระบุว่า "ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งสู่ระดับ 10.7% ในเดือนตุลาคม เพิ่มความเป็นไปได้ที่อีซีบีจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% อีกครั้งในเดือนธันวาคม" ในขณะที่ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์กล่าวว่า "เรายังคงคาดว่า อีซีบีจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนธันวาคม ตามมาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนกุมภาพันธ์"
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันไดอิจิ ไลฟ์กล่าวถึงเศรษฐกิจเอเชียว่า “เอเชียพึ่งพาจีนอย่างมาก โดยการเดินหน้าใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์นั้นทำให้ห่วงโซ่อุปทานเผชิญปัญหาติดขัดแบบต่อเนื่อง และทำให้เอเชียขาดแคลนนักท่องเที่ยวจากจีน ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเอเชียด้วย และอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือระดับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ โดยหากเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง ก็อาจก่อให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากเอเชียและส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก”
- กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในเดือนตุลาคม โดยร่วงลง 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกซบเซาลงจากภาวะเงินเฟ้อและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
- องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานว่างจะลดลง และอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี โดยมีสัญญาณที่บ่งชี้แล้วว่า ตลาดแรงงานชะลอตัวลงอย่างมากในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจปั่นป่วนที่เกิดจากสงครามยูเครน และจากผลกระทบของนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นต่อการอุปโภคบริโภค
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันอังคาร (1 พ.ย.) ขานรับความหวังที่ว่าจีนอาจจะกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง หลังจากใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมโควิด-19 เป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.84 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 88.37 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 1.84 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 94.65 ดอลลาร์/บาร์เรล
- รายงานของโอเปกระบุว่า อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นสู่ 103 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 โดยปรับขึ้นราว 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปี 2022 และตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ปรับขึ้นราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันจากระดับที่เคยคาดไว้ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ กลุ่มโอเปกยังปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันสำหรับปี 2027 ให้สูงขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมเกือบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกอาจอยู่ที่ 108.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2030 และ 109.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2045
- นักวิเคราะห์จาก CMC Markets ระบุว่า ในทางด้านปัจจัยพื้นฐานราคาน้ำมัน การที่โอเปคพลัสจะปรับปรับลดกำลังการฟลิตน้ำมันเร็วๆนี้ และสถิติการส่งออกน้ำมันของสหรัฐที่สูงเป็นประวัติการณ์ข่วยหนุนราคาน้ำมัน
- ผู้จัดการจาก SPI Asset Management ระบุว่า ตลาดเริ่มรับรู้และซึมซับข่าวการล็อคดาวน์ของจีน และเมื่อเราพิจารณาในเดือนพฤศจิกายนนี้ เรากำลังเข้าใกล้ช่วงเวลาที่มาตรยุโรปคว่ำบาตรรัสเซียจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุปทานน้ำมันรัสเซียและอุปทานน้ำมันตลาดโลก
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ระบุว่า การที่รัสเซียโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของยูเครน และการตัดสินใจยุติการส่งออกฑัญพืชในทะเลดำ เป็นการตอบโต้การที่ยูเครนใช้โดรนโจมตีกองกำลังรัสเซียในโครเมีย
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สำนักข่าวซินหัวรายงานข้อมูลของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนซึ่งระบุว่า จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในท้องถิ่นจำนวน 498 ราย ทั้งนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในท้องถิ่นแบบไม่แสดงอาการจำนวน 2,221 ราย และมีผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลหลังหายดีรวม 187 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยหายดีสะสมอยู่ที่ 250,642 ราย
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก คงคาดการณ์การส่งออกปี 65 ขยายตัว 8% พร้อมคาดการณ์การส่งออกปี 66 เติบโต 2-5% โดยมีแรงหนุนจากเงินบาทที่อ่อนค่า ขณะที่วิกฤติอาหารโลกยังส่งผลดีต่อการส่งออกอาหารของไทย โดยที่สถานการณ์การขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลาย ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม สรท.มองว่า การส่งออกในปีหน้าจะมีความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจน
- ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประเมินภาพรวมการท่องเที่ยวปี 2565 มั่นใจว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะถึงเป้าหมาย 10 ล้านคน โดยมีตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าสุดเข้าไทยแล้ว 7.39 ล้านคน แม้นักท่องเที่ยวจีนจะยังไม่เข้ามาก็ตาม โดยไตรมาส 4 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านคน/เดือน ซึ่งเป็นการฟื้นตัว 50% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด ซึ่งเคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ย 3 ล้านคน/เดือน
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews, FxStreet
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทองคำ, ทองคำ, ราคาทองคำ