ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 3% ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธ.ค. โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ นอกจากนี้ ข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ยังเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 34.4 เหรียญ หรือ 1.95% อยู่ที่ระดับ 1,802.1 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. พุ่งขึ้น 55.3 ดอลลาร์ หรือ 3.14% ปิดที่ 1,815.2 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. 2565
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.06 ดอลลาร์ หรือ 4.87% ปิดที่ 22.841 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.45 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 906.64 ตันภาพรวมเดือนธันวาคม ขายสุทธิ 1.45 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 69.02 ตัน
- นักลงทุนให้ความสนใจกับการรายงานข่อมูลารจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ ทั้งนี้นักวิเคราะห์จาก City Index ระบุว่า หากข้อมูลการจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง จะหนุนให้เฟดยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อไปท่ามกลลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูง ซึ่งกดดันราคาทองคำ
- ผู้จัดการบริษัท GoldSilver Central ระบุว่า ถ้าหากจีนผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด และเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะช่วยหนุนความต้องการซื้อทองคำจริง (Physical Gold) และรวมถึงหนุนความต้องการโลหะที่ใช้สำหรับภาคอุตสาหกรรมให้ฟื้นตัวเช่นกัน
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -1.22 จุด หรือ -1.15% มาอยู่ที่ระดับ 104.73 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.11 % มาอยู่ที่ระดับ 3.513% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 4.243% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.73% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- เฟดสาขาคลีฟแลนด์รายงานว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงในแบบที่เฟดต้องการ แต่ความต้องการจ้างคนงานใหม่ยังไม่ได้ชะลอตัวลงในระดับที่มากพอที่จะทำให้เฟดเชื่อมั่นได้ว่า เฟดจะสามารถคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมได้ในเร็ว ๆ นี้
- นางลิซา คุก หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า อาจจะถึงเวลาในไม่ช้านี้ที่เฟดจะชะลอความเร็วในการดำเนินความพยายามเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งทำให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,395.01 จุด ลดลง 194.76 จุด หรือ -0.56%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,076.57 จุด ลดลง 3.54 จุด หรือ -0.09% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,482.45 จุด เพิ่มขึ้น 14.45 จุด หรือ +0.13%
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.2 ในเดือนต.ค.
- สหรัฐเปิดเผยประมาณการจีดีพีไตรมาส 3 ครั้งที่ 2 พบว่า จีดีพีเพิ่มขึ้น 2.9% ซึ่งเป็นการทบทวนเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ที่รายงานไปในเดือนที่แล้ว สะท้อนถึงการปรับเพิ่มการขยายตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ รวมทั้งการนำเข้าที่ลดลง
- อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงมากเกินคาดในเดือนพ.ย. ซึ่งเพิ่มความหวังว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงมากกำลังผ่านจุดสูงสุดแล้ว และสนับสนุนเหตุผลสำหรับการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในเดือนหน้า
- โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 10.0% ในเดือนพ.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 10.6% ในเดือนต.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 10.4%
- ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 6.6% ในเดือนพ.ย. จาก 6.4% ในเดือนต.ค. ซึ่งสวนทางกับที่คาดไว้ว่าจะลดลง
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) บ่งชี้ มองเห็นโอกาสที่จะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายโควิดเป็นศูนย์แบบค่อยเป็นค่อยไปและปลอดภัยต่อไป ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจของจีนสามารถขยายตัวมากขึ้นในปีหน้าได้
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (1 ธ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และความหวังที่ว่าความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะฟื้นตัว หลังจากทางการจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในกรุงปักกิ่งและเมืองกว่างโจว
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 81.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 9 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 86.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า ตลาดยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวทางการตัดสินใจของกลุ่มโอเปคพลัส(ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้) บางกลุ่มคาดว่าโอเปคพลัสจะปรับลดกำลังการผลิต ในขณะที่อีกกลุ่มคาดว่าจะคงกำลังการผลิต อย่างไรห็ตาม ตลาด
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- ปลัดสำนักงานควบคุมอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความกังวลว่า นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย อาจใช้อาวุธชีวภาพในการรุกรานยูเครน
- นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐเปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือมากขึ้น หลังจากเกาหลีเหนือเดินหน้าพัฒนาขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งสัญญาณว่าอาจทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- รองนายกรัฐมนตรีจีน เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลเร่งยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาเชื้อ การรักษาโรค และนโยบายด้านการกักตัว แม้จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มปรับตัวลดลงก็ตาม
- กรุงปักกิ่งจะอนุญาตให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 บางส่วนกักตัวที่บ้าน โดยเริ่มต้นด้วยประชาชนในเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างชัดเจน อันสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันที่เจ้าหน้าที่เผชิญจากการแพร่ระบาดสูงเป็นประวัติการณ์และกระแสต่อต้านนโยบายโควิดเป็นศูนย์จากสาธารณชน
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเมื่อวานนี้ เปิดที่ระดับ 35.13 บาทต่อดอลลาร์ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 34.78 - 35.13 บาทต่อดอลลาร์ ปิดปรับตัวแข็งค่าอยู่ที่ 34.77 บาทต่อดอลลาร์ และเช้านี้อยู่ที่ 34.79 บาทต่อดอลลาร์
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทองคำ, ทองคำ, ราคาทองคำ