ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 10.66 เหรียญ หรือ 0.59% อยู่ที่ระดับ 1,814.81 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. พุ่งขึ้น 10.2 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่ 1,826 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 41 เซนต์ หรือ 1.72% ปิดที่ 24.25 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 44.8 ดอลลาร์ หรือ 4.39% ปิดที่ 1,065 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 918.51 ตันภาพรวมเดือนธันวาคม ซื้อสุทธิ 10.42 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 57.15 ตัน
- ผู้อำนวยการบริษัท Kedia Commodities ชี้ว่า ในปี 2022 ราคาทองคำได้ซึมซับประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไปแล้ว และต่อไปในปี 2023 ราคาทองคำจะได้รับัจจัยหนุนจากประเด็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์, ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการที่บรรดาธนาคารเข้าซื้อทองคำ ทั้งนี้ ปริมาณการถือครองทองคำของกองทุนทองคำเริ่มปรับตัวขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.42 จุด หรือ -0.4% มาอยู่ที่ระดับ 103.95 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 3.818% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.363% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.55% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- อาจารย์ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระบุว่า การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)ตัดสินใจปรับขึ้นเพดานอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) อาจจะถือเป็นขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่การปรับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากมุมมองที่ว่า ตัวเลขว่างงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจทำให้ตลาดแรงงานเริ่มคลายความร้อนแรง และจะทำให้เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,220.80 จุด พุ่งขึ้น 345.09 จุด หรือ +1.05%,
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,849.28 จุด เพิ่มขึ้น 66.06 จุด หรือ +1.75% และ
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,478.09 จุด เพิ่มขึ้น 264.80 จุด หรือ +2.59%
- ตลาดการเงินสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง หลังจากรายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Jobless Claims) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 225,000 ราย และ 1.71 ล้านราย ตามลำดับ สะท้อนการชะลอตัวลงของตลาดแรงงาน ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยหรือเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยไปมาก
- โกลด์แมน แซคส์เตือนว่า การเปิดพรมแดนอีกครั้งของจีนแผ่นดินใหญ่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้ และอาจนำมาซึ่งปัญหาด้านแรงงานและห่วงโซ่อุปทานในระยะสั้น
- ราคาบ้านใน 20 เมืองใหญ่ของสหรัฐปรับขึ้น 8.6% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2020 หลังจากราคาบ้านใน 20 เมืองใหญ่พุ่งขึ้น 10.4% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี
- โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น รเะบุ รัฐบาลญี่ปุ่นจะกำหนดให้การปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดในนโยบายเศรษฐกิจปีหน้า
- สำนักงานสถิติเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ฟื้นตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนในเดือนพ.ย. สวนทางกับยอดค้าปลีกที่หดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันท่ามกลางความวิตกกังวลด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยับขึ้น 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน จากที่เคยปรับตัวลง 1.7% เมื่อเดือนต.ค.
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ที่อาจชะลอตัวลง หลังจากหลายประเทศซึ่งรวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่น ออกมาตรการเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากผู้ที่เดินทางมาจากจีน ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากในประเทศ
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 56 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 78.40 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 82.26 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักกลยุทธ์จาก IG ระบุว่า การขาดความชัดเจนในการแก้ปัญหาไวรัสโควิดของจีน อาจนำไปสู่การประกาศการควบคุมการท่องเที่ยวของหลายประเทศ เป็นปัจจัยที่กดดันภาพเชิงบวกในช่วงก่อนหน้า และในปี 2023 ถึงแม้ว่ามรความเป็นไปได้ที่ ราคาน้ำมันจะฟื้นตัว แต่ก็ขึ้นกับความเร็วในการเปิดเมืองของจีน
- บริษัทก๊าซพรอม คาดการณ์ว่า อุปสงค์ก๊าซทั่วโลกน่าจะลดลง 6.5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2565 โดยลดลง 5.5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรใน 27 ประเทศของสหภาพยุโรป (EU)
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุว่า ในปี 2565 นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ยิงขีปนาวุธมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ลดเกณฑ์การใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพิกเฉยต่อการคว่ำบาตรจากทั่วโลก และคาดว่านายคิมจะยิ่งเพิ่มความก้าวร้าวมากขึ้นในปีหน้า
- บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง โค จำกัด (TSMC) เริ่มการผลิตชิปรุ่นต่อไปเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความมั่นใจว่าไต้หวันยังคงเป็นแกนหลักของเทคโนโลยีสำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศต่อสู้แย่งชิงกัน
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐฯ ออกแถลงว่า รัฐบาลสหรัฐจะกำหนดให้ผู้โดยสารเครื่องบินที่เดินทางมาจากประเทศจีนจะต้องแสดงผลตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR เป็นลบ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 2566
- อังกฤษเตรียมพิจารณาที่จะบังคับใช้ข้อจำกัดเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากจีน ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19
- บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขออกมาเตือนว่า การแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ในจีน หลังจากยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ อาจก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่รุนแรงขึ้น
- ผลสำรวจจากบริษัทโอลิเวอร์ ไวแมน เผยว่า ชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงไม่ต้องการออกจากบ้าน แม้จะมีการผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับโควิด-19 แล้วก็ตาม ทั้งนี้ กว่า 90% เลี่ยงที่จะเดินทางออกนอกบ้าน และเกือบ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า รู้สึกไม่สบายใจที่จะออกไปในที่สาธารณะอย่างน้อยก็อีก 2-3 เดือนข้างหน้า
- รัฐบาลฮ่องกงขอความร่วมมือให้ญี่ปุ่นยกเลิกข้อจำกัดเพื่อการสกัดกั้นโควิด-19 ที่กำหนดให้เที่ยวบินที่เดินทางมาจากฮ่องกงสามารถลงจอดได้เฉพาะที่สนามบินเพียง 4 แห่งที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยระบุว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารราว 60,000 คน
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.59 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” จากปิดวันก่อนหน้ ที่ 34.65 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบวันนี้ที่ระดับ 34.50-34.70 บาท/ดอลลาร์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนธ.ค.65 และระยะต่อไปว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมองว่าในช่วงไตรมาส 4/65 เศรษฐกิจไทยค่อนข้างจะเป็นไปตามทิศทางที่ได้คาดการณ์ไว้ และเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาส 3/65 โดยปัจจัยบวก เช่น ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยก็ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่ฝั่งปัจจัยลบ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไปยังต้องติดตามปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ 1.อุปสงค์ของต่างประเทศที่ชะลอตัว 2.การเปิดประเทศของจีน 3.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน ค่าจ้าง และราคาสินค้า และ 4.ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ย.ขาดดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับที่เกินดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนต.ค. โดยที่มูลค่าการส่งออกในเดือนพ.ย. หดตัว 5.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัว 8.2% ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้า 0.5 พันล้านดอลลาร์
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปรับเพิ่มเป้าหมายดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รวมจีน) เข้าไทยไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน
- ชาวรัสเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากขึ้น โดยข้อมูลระบุว่า ในเดือนพ.ย.มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนต.ค. และเพิ่มขึ้นเกือบ 7 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนก.ย. โดยอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่านักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ที่เดินทางมายังประเทศไทยในช่วงฤดูการท่องเที่ยว
- เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ระบุ จากข้อมูลเครดิตบูโรในไตรมาสสอง ปี 2565 พบว่าหนี้เสียขยายตัวในระดับสูง ในกลุ่มลูกหนี้อายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มสูงอายุ และลูกหนี้ NPLs จากผลกระทบของ COVID-19 ซึ่งการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับกลุ่มดังกล่าวจะมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มในการหารายได้ลดลง และเป็นช่วงอายุที่อาจมีภาระหลักในการดูแลค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง