● สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่ง
● ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -22.01 เหรียญ หรือ -1.19% อยู่ที่ระดับ 1,832.92 เหรียญ
● สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 18.4 ดอลลาร์ หรือ 0.99% ปิดที่ 1,840.6 ดอลลาร์/ออนซ์
● สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 54 เซนต์ หรือ 2.25% ปิดที่ 23.424 ดอลลาร์/ออนซ์
● สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 22.7 ดอลลาร์ หรือ 2.08% ปิดที่ 1,069.6 ดอลลาร์/ออนซ์
● กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 916.77 ตันภาพรวมเดือนมกราคม ขายสุทธิ 0.87 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 0.87 ตัน
● ผู้อำนวยการของ GoldSilver Central กล่าวว่า ทองคำเริ่มต้นปีที่ดี โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และความคาดหวังที่ว่าเฟดอาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการสำรองทองคำของธนาคารกลางยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนทองคำในปีนี้
● ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.98 จุด หรือ 0.94% มาอยู่ที่ระดับ 105.05 จุด
● อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 3.733% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.1 % มาอยู่ที่ระดับ 4.466% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.73% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
● นายนีล แคชคารี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนิอาโปลิส ชี้ว่า เฟดควรจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในการประชุมอีก 2-3 ครั้งข้างหน้าเป็นอย่างน้อยจนกว่าเฟดจะแน่ใจว่า อัตราเงินเฟ้อแตะจุดสูงสุดแล้ว ขณะที่เขาคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะอยู่ที่ 5.4% ในเบื้องต้น
● รองผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐนั้นยังมาไม่ถึงจุดจบ โดยยังเร็วเกินไปที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศชัยชนะในการต่อสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงเรียกร้องให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
● ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐจะเป็นปัจจัยกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้
● ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,930.08 จุด ร่วงลง 339.69 จุด หรือ -1.02%,
● ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,808.10 จุด ลดลง 44.87 จุด หรือ -1.16% และ
● ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,305.24 จุด ลดลง 153.52 จุด หรือ -1.47%
● จีนได้กลับมาอนุมัติให้กองทุนไพรเวทอิควิตี้ (Private Equity: PE) สามารถระดมเงินทุนสำหรับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวล่าสุดที่มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังคงชะลอตัวลง โดยกองทุนไพรเวทอิควิตี้คือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์
● ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนยังคงหดตัวในเดือนธ.ค. เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในภาคบริการ ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนธ.ค.อยู่ที่ระดับ 48.0 ซึ่งแม้ว่าเพิ่มขึ้นจากระดับ 46.7 จุดในเดือนพ.ย. แต่ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการของจีนอยู่ในภาวะหดตัว และเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือน 4
● ยอดขายรถยนต์ใหม่ของอังกฤษปี 2565 ร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2535 เนื่องจากบรรดาผู้ผลิตต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อาจขยายตัวขึ้น 15% ในปี 2566 หลังปัญหาห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลง
● สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากตัวเลขสต็อกน้ำมันกลั่นและน้ำมันเบนซินของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา
● สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 83 เซนต์ หรือ 1.14% ปิดที่ 73.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
● สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ หรือ 1.09% ปิดที่ 78.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
● นักววิเคราะห์จาก Julius Baer ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในจีนและความท้าทายของการเปิดเมือง ยังคงกดดันภาพรวมอุปสงค์น้ำมันไม่ให้ปรับตัวขึ้น
● เจ้าหน้าที่สหรัฐและไต้หวันวางแผนจัดการเจรจาทางการค้า ณ กรุงไทเป ในเดือนนี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ชาติท่ามกลางความตึงเครียดจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้น
● ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงกล่าวว่า จีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองที่พรมแดนฮ่องกงแบบค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค.นี้ ซึ่งนับเป็นการปูทางสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม หลังจากที่หยุดชะงักไปนานถึง 3 ปี
● ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐ กำลังพิจารณาที่จะส่งรถต่อสู้แบรดลีย์ของสหรัฐไปยังยูเครนเพื่อช่วยป้องกันการรุกรานของรัสเซีย
● ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ แสดงความกังวลเกี่ยวกับการรับมือโควิด-19 ในจีน หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าจีนรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตต่ำกว่าความเป็นจริง
● รัฐมนตรีสาธารณสุขฝรั่งเศสเปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีนนั้น “น่าเป็นห่วง” อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลในฝรั่งเศสไม่ได้แบกภาระจากโควิดมากเท่าแต่ก่อน
● สมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หลายชาติแนะให้เร่งออกข้อจำกัดใหม่ในการรับมือกับผู้โดยสารที่เดินทางจากจีนมายังประเทศต่าง ๆ ใน EU แต่ก็ไม่ได้เพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับเที่ยวบินต่าง ๆ แต่อย่างใดฃ
● รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเยอรมนี แสดงความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ XBB.1.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ของโควิด-19 ที่ทำให้มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ พร้อมเสริมว่า เยอรมนีกำลังเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
● ชาวฮ่องกงแห่เข้ารับวัคซีนโควิด-19 ตามคลินิกต่าง ๆ ก่อนฮ่องกงเปิดพรมแดนกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง โดยประชาชนบางส่วนกังวลว่า กรณีดังกล่าวอาจทำให้ฮ่องกงต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่
● นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.03 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.87 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ33.90-34.20 บาทต่อดอลลาร์
● สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสำหรับปี 2566 ว่า จะอยู่ในช่วง 2.0-3.0% (ค่ากลางที่ 2.5%) จากสมมติฐานสำคัญ คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ อยู่ที่ 3.0-4.0% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี ที่ระดับ 85-95 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยทั้งปี ที่ระดับ 36-37 บาท/ดอลลาร์ โดยอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ จะเริ่มชะลอตัวลงจากปี 2565 อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อในปีนี้จะขยายตัวไม่มากเช่นปีก่อน เนื่องจาก 1. ราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัวและบางรายการปรับลดลงหลังจากที่ทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนแล้วในปีที่ผ่านมา 2.ราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ 3. ฐานราคาในปี 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง และ 4. มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ และการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปี 2566 ขยายตัวไม่มากนัก
● สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้น 5.89% (YoY) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และอาหารที่ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับฐานราคาในเดือนธันวาคม 2564 ไม่สูงมากนัก และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 65 สูงขึ้น 6.08% เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวในช่วง 5.5 – 6.5% (ค่ากลาง 6.0%) และสูงสุดในรอบ 24 ปี นับตั้งแต่ปี 2541 ที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 8.1%
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง