ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร จากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาดทองคำ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 6.32 เหรียญ หรือ 0.34% อยู่ที่ระดับ 1,876.72 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1.3 เหรียญ หรือ 0.07% ปิดที่ 1,876.5 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 20.6 เซนต์ หรือ 0.86% ปิดที่ 23.665 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 10.1 เหรียญ หรือ 0.92% ปิดที่ 1,088.5 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.15 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 914.17 ตันภาพรวมเดือนมกราคม ขายสุทธิ 3.47 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 3.47 ตัน
- World Gold Council ระบุว่า ตลาดส่วนใหญ่มีมุมมองว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ไม่รุนแรงดูเหมือนจะกำลังดำเนินไป ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นผลบวกต่อราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.07 จุด หรือ -0.07% มาอยู่ที่ระดับ 103.22 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 3.623% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.256% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.63% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเน้นย้ำ "เสถียรภาพของราคาถือเป็นรากฐานของการมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจะเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในระยะยาว แต่การฟื้นฟูเสถียรภาพของราคา ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จำเป็นต้องใช้มาตรการที่อาจสร้างความไม่พอใจในระยะสั้น ขณะที่เราขึ้นดอกเบี้ยเพื่อให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งการที่ฝ่ายการเมืองไม่ได้ใช้อำนาจควบคุมการตัดสินใจของเรา ทำให้เราสามารถใช้มาตรการที่มีความจำเป็นโดยไม่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางการเมืองระยะสั้น"
- นางแมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ระบุเช่นกันว่า เฟดควรปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าระดับ 5.0% โดยแตะระดับสูงสุดที่ 5.0-5.25% และคงดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวต่อไประยะหนึ่ง เพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
- นักลงทุนจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหนือระดับ 5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งรวมถึงนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตาที่กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับ 5.0-5.25% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งล่าสุด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนธ.ค.ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,704.10 จุด เพิ่มขึ้น 186.45 จุด หรือ +0.56%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,919.25 จุด เพิ่มขึ้น 27.16 จุด หรือ +0.70%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,742.63 จุด เพิ่มขึ้น 106.98 จุด หรือ +1.01%
- รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมจีน เผยว่า จีนสามารถสร้างงานใหม่ในเขตเมืองได้ 12.06 ล้านตำแหน่งในปี 2565 ตามเป้าหมายรายปีที่รัฐบาลวางไว้ แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจก็ตาม
- ปธน.สีกล่าวต่อที่ประชุมหน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการทุจริตว่า เราควรดำเนินการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทำการเพื่อกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอำนาจใด ๆ และป้องกันการสมรู้ร่วมคิดระหว่างเจ้าหน้าที่และนักธุรกิจ
- สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดการเดินทางของผู้โดยสารขาเข้าประเทศแตะ 251,045 ครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค. ซึ่งเป็นวันแรกหลังการปรับเปลี่ยนนโยบายรับมือโควิด-19 ครั้งใหญ่ของจีน แต่จีนยังคงไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อนุญาตเพียงชาวต่างชาติที่เดินทางเพื่อธุรกิจ นักศึกษา และเพื่อเยี่ยมครอบครัวเท่านั้นที่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้
- เจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่า การเปิดประเทศของจีนจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของออสเตรเลียในอัตราส่วน 1% โดยคาดว่าภาคบริการจะได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของภาคการท่องเที่ยวและภาคการศึกษาของออสเตรเลีย
- ดัชนีผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานที่ไม่รวมอาหารสดในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดัชนีวัดแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วประเทศนั้น ปรับตัวขึ้น 4% ในเดือนธ.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อขยายวงกว้างขึ้น
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร หลังจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีหน้า
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 75.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 45 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 80.10 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยรายงานแนวโน้มพลังงานระยะสั้น (Short-Term Energy Outlook) โดยระบุว่า ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งแตะระดับ 102.2 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2567 โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งรายงานดังกล่าวสะท้อนถึงแนวโน้มที่สดใสของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- นักวิเคราะห์ ระบุว่า สภาพเศรษฐกิจในจีนกำลังกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุปสงค์ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม หากการฟื้นตัวของผู้บริโภคเป็นไปตามที่คาดการณ์ อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอยู่ในขอบจำกัดอีกครั้ง
ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด
- สื่อจีน เผยว่า หลายพื้นที่ของจีนได้ผ่านพ้นจุดสูงสุดของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ยังคงมองว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศนั้นไม่รุนแรง แม้นานาชาติจะกังวลถึงขนาดและผลกระทบของการแพร่ระบาด
- จีนได้ระงับการออกวีซ่าระยะสั้นแก่นักเดินทางชาวเกาหลีใต้ โดยถือเป็นการเคลื่อนไหวตอบโต้ครั้งแรก หลังเกาหลีใต้ออกมาตรการควบคุมโควิด-19 กับนักเดินทางจีน
- นายอัลเบิร์ต บัวร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ อิงค์ เปิดเผยว่า บริษัทไม่ได้อยู่ในระหว่างการเจราจากับทางการจีนเรื่องการขอสิทธิบัตรในการอนุญาตให้ผู้ผลิตยาของจีนสามารถผลิตยาแพกซ์โลวิด ในประเทศ
- ชาวจีนจำนวนมากแห่เดินทางไปยังต่างแดน เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยชาติตะวันตก หลังจากรัฐบาลจีนยกเลิกการบังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ จนยอดผู้ติดเชื้อพุ่งทะยานขึ้นทั่วประเทศ
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ เผยว่า บริษัทอาจตั้งราคาขายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ระหว่าง 110 – 130 ดอลลาร์ต่อโดสในสหรัฐ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐยกเลิกการจัดซื้อวัคซีนชนิดดังกล่าวแจกจ่ายให้กับพลเมือง
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 33.45 บาทต่อดอลลาร์ "แข็งค่าขึ้น" จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.52 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.30-33.60 บาท/ดอลลาร์ โดย มองว่า โฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ รวมถึงแรงซื้อสินทรัพย์ไทยของบรรดานักลงทุนต่างชาติก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น มีจังหวะแข็งค่าแตะระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์ในวันก่อน ซึ่งมองว่า เงินบาทก็ยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหว sideways ต่อในวันนี้ จนกว่าผู้เล่นในตลาดจะทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ
- แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วงเงิน 3.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.65 แสนล้านบาท กำหนดการขาดดุลงบประมาณ 5.93 แสนล้านบาท คิดเป็น 3% ต่อ GDP หรือลดลงประมาณ 1.02 แสนล้านบาท ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ 2.757 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.7% ส่วนอัตราเงินเฟ้อ อยู่ภายใต้กรอบ 1-2% และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.35%
- ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 66 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเติบโตได้ 3.4% โดยมาจากปัจจัยของภาคท่องเที่ยวที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ และเข้ามาทดแทนภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่ประเมินว่า ภาคการส่งอออกไทยในปี 66 จะเติบโตเพียง 0.7%
- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก คาดภาวะการส่งออกในเดือน ธ.ค.65 ยังหดตัวต่อเนื่องที่ระดับ 7.5% ส่งผลให้การส่งออกในปี 65 จะขยายตัวอยู่ที่ 6.3%
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า การส่งออกไทย ปี 66 มีโอกาสเติบโตได้เพียง 1% ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ปี 63 ขณะที่มูลค่าการส่งออก คาดว่าอยู่ที่ราว 2.95 แสนล้านดอลลาร์
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง