ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 6.47 เหรียญ หรือ 0.33% อยู่ที่ระดับ 1,988.84 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 9.30 เหรียญ หรือ 0.47% ปิดที่ 1,999.80 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 25.30 เซนต์ หรือ 1.01% ปิดที่ 25.311 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ร่วงลง 41 เหรียญ หรือ 3.60% ปิดที่ 1,097.70 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 3.75 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 927.43 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 0.59 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 9.79 ตัน
- นักวิเคราะห์จาก Zaye Capital Markets กล่าวว่า นักลงทุนจับตาการเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้อย่างใกล้ชิด โดยหาก GDP ออกมาต่ำเกินคาดก็อาจเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
- นักวิเคราะห์อาวุโสของ FXTM กล่าวว่า นักลงทุนยังคงรอคอยทิศทางที่ชัดเจนของราคาทองคำ ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังคงจำกัดต่อการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ขณะที่ความขัดแย้งของสงครามรัสเซียและยูเครน รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอยยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนต่อราคาทองคำ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.47 จุด หรือ -0.46% มาอยู่ที่ระดับ 101.26 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 3.496% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 4.103% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.61%
- สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า กระแสเรียกร้องให้ลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างเรียกร้องให้มีการทำธุรกรรมทางการค้าโดยใช้สกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์สหรัฐ
- ข้อมูลจากผลสำรวจสัดส่วนทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ หรือ COFER ของ IMF ระบุว่า ดอลลาร์สหรัฐมีสัดส่วนคิดเป็น 58.36% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลกในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ขณะที่สกุลเงินยูโรที่ตามมาเป็นอันดับ 2 โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 20.5% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลก ส่วนสกุลเงินหยวนมีสัดส่วนเพียง 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
- ลิซา คุก ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า แนวโน้มสำหรับนโยบายการเงินระยะต่อไปของเฟดเริ่มชัดเจนน้อยลง หลังจากเฟดได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกอย่างเหมาะสมในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อลดแรงกดดันด้านราคา
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมอร์แกน สแตนลีย์กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และไม่ควรทำแบบนั้นด้วย เนื่องจากเฟดยังคงทำงานเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุม และเฟดน่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าภารกิจจะสำเร็จ นอกจากนี้ได้กล่าวเสริมว่ามีโอกาสไม่ถึง 50% ที่สหรัฐจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตในเชิงบวก อัตราว่างงานต่ำมาก ค่าจ้างสูงขึ้น งบดุลของธนาคารแข็งแกร่ง และงบดุลผู้บริโภคก็แข็งแกร่งเช่นกัน
- นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า เขาไม่เห็นความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ก่อนการประชุมนโยบายครั้งแรกในฐานะผู้ว่าการ BOJ โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนตัวลงแตะระดับต่ำกว่า 2% ในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณนี้ ซึ่งสิ้นสุด ณ เดือนมี.ค. 2567
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) และสำนักงานกำกับดูแลการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) เต็มใจที่จะดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ในภาคธนาคาร ร่วมกับหน่วยงานระดับโลก โดยคาดหวังว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกาหลีใต้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ทั่วโลกได้
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันจันทร์ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบ ก่อนที่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,875.40 จุด เพิ่มขึ้น 66.44 จุด หรือ +0.20%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,137.04 จุด เพิ่มขึ้น 3.52 จุด หรือ +0.09%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,037.20 จุด ลดลง 35.25 จุด หรือ -0.29%
- ธนาคารเครดิต สวิส เปิดเผยว่า เงิน 6.1 หมื่นล้านฟรังก์สวิส ไหลออกจากธนาคารในไตรมาสแรก บ่งชี้ให้เห็นถึงขนาดของวิกฤตการณ์ลูกค้าแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร ซึ่งทำให้ธนาคารอายุ 167 ปีแห่งนี้ต้องล่มสลาย และจำต้องได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่างไรก็ดี การไหลออกของเงินลดลงแล้ว แต่จนถึงวันที่ 24 เม.ย. 2566 ก็ยังไม่มีการฝากเงินกลับคืน
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์ ปรับตัวขึ้น 5.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 6.3% ในเดือนก.พ. และจาก 6.6% ในเดือนม.ค. เนื่องจากค่าขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่ว่าความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะฟื้นตัว
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 89 เซนต์ หรือ 1.14% ปิดที่ 78.76 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ หรือ 1.31% ปิดที่ 82.73 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สำนักงานศุลกากรจีนรายงานว่า ยอดการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 22.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ระดับ 52.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- เรือพิฆาตแอดมิรัลทริบุตส์ (Admiral Tributs) ของรัสเซีย ซึ่งเป็นเรือสำหรับต่อต้านเรือดำน้ำ จะร่วมฝึกซ้อมในทะเลญี่ปุ่น โดยซ้อมด้วยการจำลองเรือดำน้ำของศัตรู
- อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย เปิดเผยว่า หากกลุ่ม G7 เลือกที่จะคว่ำบาตรการส่งออกไปยังรัสเซีย รัสเซียจะตอบโต้โดยการฉีกสัญญาข้อตกลงการส่งออกธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งเป็นช่องทางการส่งออกธัญพืชที่สำคัญของยูเครน
- ทำเนียบขาวขอให้เกาหลีใต้โน้มน้าวให้กลุ่มผู้ผลิตชิปหลีกเลี่ยงการขายชิปให้กับจีน หากจีนคว่ำบาตรบริษัทไมครอนของสหรัฐจากการขายชิป ในขณะที่สหรัฐพยายามรวบรวมกลุ่มพันธมิตร เพื่อตอบโต้การบีบบังคับทางเศรษฐกิจของจีน
- เกาหลีใต้บรรจุญี่ปุ่นใน “บัญชีสีขาว” อย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อรับสิทธิพิเศษทางการค้าจากเกาหลีใต้ หลังจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นลดสถานะทางการค้าของอีกฝ่ายตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน ท่ามกลางความขัดแย้งทางการทูตจากปัญหาทางประวัติศาตร์
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาด 34.30 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดตลาดเมื่อวานที่ 34.39 บาทต่อดอลลาร์ คาดว่าวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 34.20- 34.60 บาทต่อดอลลาร์
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวได้ดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยประมาณการว่า GDP ในช่วง H1/66 จะขยายตัว 2.9% เนื่องจากภาคส่งออกหดตัว 7.1% ก่อนจะพลิกมาบวกใน H2/66 ซึ่งคาด GDP H2/66 จะโตที่ 4.3% แต่ยังกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง โดยภาคธุรกิจท่องเที่ยวและการบริโภค จะยังเป็นเครื่องยนต์หลักในการพยุงเศรษฐกิจไทยปีนี้
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง