ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาสภาคองเกรสสหรัฐเตรียมลงมติร่างกฎหมายปรับเพิ่มเพดานหนี้
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 4.27 เหรียญ หรือ 0.22% อยู่ที่ระดับ 1,962.8 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 5 เหรียญ หรือ 0.25% ปิดที่ 1,982.10 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 34.80 เซนต์ หรือ 1.50% ปิดที่ 23.587 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 22.90 เหรียญ หรือ 2.24% ปิดที่ 999 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 939.56 ตันภาพรวมเดือนพฤษภาคม ซื้อสุทธิ 13.28 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 21.92 ตัน
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.09 จุด หรือ 0.09% มาอยู่ที่ระดับ 104.15 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 3.646% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.411% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.77%
- นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ ระบุว่า เธอไม่เห็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอที่ทำให้ต้องระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป และคิดว่า ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่านี้ก่อนแล้วจึงคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งแน่ใจมากขึ้นว่าทิศทางเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรต่อไป
- นักวิจัยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกระบุในวันอังคารว่า การปรับขึ้นของต้นทุนแรงงานในสหรัฐแทบไม่ได้ช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น นอกจากนี้รายงานวิจัยของนายอดัม ชาพิโร ระบุว่า แทนที่ค่าแรงจะเป็นปัจจัยที่หนุนให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ในความเป็นจริงนั้นค่าแรงอาจจะปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 66.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 33.6% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25%
- สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐจะลดลงราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากร่างกฎหมายเพดานหนี้ฉบับปัจจุบันสามารถผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
- ธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ในวันนี้ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรปัจจุบันที่ 5.25% ในเดือนก.ย. โดยปรับขึ้นจากเดิมที่เคยคาดว่า อัตราดอกเบี้ยจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 5.00% ในเดือนส.ค. โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของธนาคารสำคัญแห่งอื่น ๆ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้ออังกฤษยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน
- นักวิชาการซึ่งมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในช่วงต้นปีหน้า หากค่าแรงในญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างยั่งยืน
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ตลาดกังวลว่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการลงมติร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสภาคองเกรส
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,908.27 จุด ลดลง 134.51 จุด หรือ -0.41%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,179.83 จุด ลดลง 25.69 จุด หรือ -0.61%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,935.28 จุด ลดลง 82.14 จุด หรือ -0.63%
- สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น 358,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 9.375 ล้านตำแหน่ง หลังจากปรับตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน
- China Beige Book ประจำเดือนพ.ค. บ่งชี้ว่า “ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนเผชิญกับสถานการณ์ที่พลิกผันไปจากผลสำรวจในเดือนเม.ย. โดยราคาในตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยอดขายกลับชะลอตัวลง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.ของจีน อยู่ที่ระดับ 48.8 ลดลงจากระดับ 49.2 ในเดือนเม.ย. โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนเข้าสู่ภาวะหดตัว และเป็นการหดตัวที่รุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 49.4
- สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้นมากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงและที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จะยังคงสร้างแรงกดดันให้กับธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ทั้งนี้ ABS ระบุว่า ดัชนี CPI เดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งขยายตัวรวดเร็วกว่าในเดือนมี.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 6.3% และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.4%
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และดัชนีภาคการผลิตของจีนที่หดตัวลงมากกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.97% ปิดที่ 68.09 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 88 เซนต์ หรือ 1.20% ปิดที่ 72.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก อาจปรับลดราคาน้ำมันดิบสำหรับส่งออกไปยังตลาดเอเชียเพิ่มเติมในเดือนก.ค. แม้โอเปกพลัส (OPEC+) อาจเปิดช่องสำหรับการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมในการประชุมครั้งถัดไป
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- โนมูระรายงานว่า เที่ยวบินสหรัฐทั้งขาไปและกลับจีนแผ่นดินใหญ่กลับมาให้บริการไม่ถึง 6% เมื่อเทียบกับในปี 2562 ขณะที่ข้อมูลจากแวริไฟลต์ (Variflight) ระบุว่า เที่ยวบินระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับอียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย และอิตาลีกลับมาให้บริการเกือบจะเทียบกับหรือมากกว่าช่วงก่อนที่จะเกิดโรคโควิด-19 ระบาดแล้ว
- เกาหลีเหนือแถลงยอมรับว่า ความพยายามในการยิงจรวดเพื่อส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกขึ้นสู่อวกาศในวันนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ และจะทำการทดลองยิงใหม่อีกครั้งในเร็ว ๆ นี้
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาด 34.68 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากวานนี้ที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์ กรอบค่าเงินบาทวันนี้คาดว่าเคลื่อนไหวในช่วง 34.60- 35.00 บาทต่อดอลลาร์
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมเมื่อวานนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยให้มีผลทันที โดยเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย. 66 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว จากกิจกรรมภาคบริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งอกสินค้ายังไม่รวมทองคำปรับลดลง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐหดตัวเล็กน้อยจากรายจ่ายประจำของรัฐบาลกลาง ที่เร่งเบิกจ่ายไปแล้วในช่วงก่อนหน้า และรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จากผลของฐานสูงปีก่อน
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกไทยในปี 2566 ว่าจะขยายตัวได้ 1.2% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย.66 อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัวที่ 8.14% เมื่อเทียบจากเดือน เม.ย.65 เนื่องจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่หดตัวลง ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น กดดันภาคการส่งออกและขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมไทยลดลง
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง