• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2566

    26 มิถุนายน 2566 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ โดยฟื้นตัวขึ้นหลังจากร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และร่วงลงมากกว่า 100 ดอลลาร์แล้วจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดในช่วงต้นเดือนพ.ค.


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 7.6 เหรียญ หรือ 0.4% อยู่ที่ระดับ 1,921.1 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 5.90 เหรียญ หรือ 0.31% ปิดที่ 1,929.60 เหรียญ แต่ลดลง 2.1% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 11.30 เซนต์ หรือ 0.50% ปิดที่ 22.354 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 2.80 เหรียญ หรือ 0.30% ปิดที่ 923.70 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.6 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 927.1 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ขายสุทธิ 12.46 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 9.46 ตัน


ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง 


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.48 จุด หรือ 0.47% มาอยู่ที่ระดับ 102.87 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 3.717% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.729% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-1.01%


  • นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐคาดการณ์ว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นลดน้อยลง แต่ความพยายามในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อนั้นอาจเป็นสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง


  • เจ.พี.มอร์แกน, ดอยช์แบงก์ และโกลด์แมน แซคส์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยปลายทางสำหรับธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ขึ้นเป็น 5.75% หลังจากที่บีโออีขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งมากกว่าคาดเมื่อวานนี้


  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. ปรับตัวขึ้น 3.2% เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจากเดือนเม.ย. แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ระดับ 2% เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่จะเป็นการดำเนินการอย่างระมัดระวัง


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,727.43 จุด ลดลง 219.28 จุด หรือ -0.65%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,348.33 จุด ลดลง 33.56 จุด หรือ -0.77%
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,492.52 จุด ลดลง 138.09 จุด หรือ -1.01%


  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. จากระดับ 54.3 ในเดือนพ.ค.อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐมีการขยายตัว โดยได้ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5


  • นักลงทุนจับตากระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิ.ย. เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐตลอดปี 2566 หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP ไตรมาส 1 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 1.3% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.1%


  • ที่ปรึกษาระดับสูงในคณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอในงานประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง ซึ่งเป็นงานประชุมที่จัดโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในโปรตุเกสในสัปดาห์หน้า โดยรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า เฟดและอีซีบีควรจะเก็บเงินสดไว้ในระบบธนาคารมากเพียงใดเพื่อตอบสนองความต้องการทุนสำรอง ในขณะที่การดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปในปัจจุบัน ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้ระบุว่า เฟดและอีซีบีอาจจะดูดซับเม็ดเงินราว 90% ของปริมาณเม็ดเงินทั้งหมดที่เคยอัดฉีดเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงและอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงในปัจจุบันส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น


  • ผลสำรวจพบว่า การขยายตัวของภาคธุรกิจยูโรโซนแทบหยุดชะงักในเดือนมิ.ย. เนื่องจากภาคการผลิตตกต่ำลงมากขึ้น และภาคบริการแทบไม่ขยายตัว ทั้งนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ 50.3 ในเดือนมิ.ย. จาก 52.8 ในเดือนพ.ค. โดยแทบไม่เพิ่มขึ้นจากระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 52.5


  • กิจกรรมทางธุรกิจของเยอรมนีชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในเดือนนี้ เนื่องจากภาคบริการเติบโตลดลงและภาคการผลิตตกต่ำรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นจากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB) ปรับตัวลดลงแตะ 50.8 ในเดือนมิ.ย. จาก 53.9 ในเดือนพ.ค. ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 53.5


  • รายงานของธนาคารกลางสิงคโปร์ และกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคสิงคโปร์ชะลอตัวลงในเดือนพ.ค. เนื่องจากราคาอาหาร สินค้าปลีก และการขนส่งปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งนับรวมราคาทุกหมวด ชะลอตัวลงสู่ระดับ 5.1% ในเดือนพ.ค. จากระดับ 5.7% ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดที่พักอาศัยและการขนส่ง ชะลอตัวลงสู่ระดับ 4.7% จากระดับ 5.0% ในเดือนเม.ย.


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมัน


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 0.35 ดอลลาร์ หรือ 0.50% ปิดที่ 69.16 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวลง 3.9% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 0.29 ดอลลาร์ หรือ 0.39% ปิดที่ 73.85 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวลง 3.6% ในรอบสัปดาห์นี้


  • ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 70 ดอลลาร์ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากเกิดความขัดแย้งกันระหว่างกองทัพรัสเซียและกลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันของรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 88 เซนต์ หรือ 1.3% แตะที่ระดับ 70.04 ดอลลาร์/บาร์เรล 
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 95 เซนต์ หรือ 1.3% แตะที่ 74.80 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ


  • จีนและสหรัฐเห็นพ้องต้องกันที่จะพิจารณาเพิ่มจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างสองประเทศ โดยส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา นักวิชาการ และนักธุรกิจเดินทางไปมาระหว่างสหรัฐและจีน


  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดียประกาศข้อตกลงด้านกลาโหมและการค้าหลายชุด ซึ่งมุ่งยกระดับความสัมพันธ์ทางทหารและเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐและอินเดียในระหว่างการเดินทางเยือนทำเนียบขาวของปธน.โมดี


  • ทางการรัสเซียยังคงให้ระบบปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายประจำการอยู่ในกรุงมอสโก หลังจากที่เมื่อวันเสาร์กลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ก่อกบฏโดยขู่ว่าจะบุกกรุงมอสโก จนเกิดเป็นวิกฤตความมั่นคงครั้งใหญ่สำหรับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย


  • นายฉิน กัง รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้พบกับนายรูเดนโก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในกรุงปักกิ่ง โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-รัสเซียกระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุในแถลงการณ์ พร้อมเสริมว่าทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคที่เป็นข้อกังวลร่วมกัน


  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะนี้กำลังมีการหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของการเยือนจีนของนายกฯ อัลบาเนซี เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เพื่อให้จีนยุติการแบนและการเก็บภาษีสินค้าของออสเตรเลียที่มีมาตั้งแต่ปี 2563


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดทรงตัวที่ 35.21 บาทต่อดอลลาร์กรุงไทยชี้เงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า หลังอ่อนค่าทะลุ 35 บาทต่อดอลลาร์ ลุ้นเศรษฐกิจจีนและค่าเงินหยวน มองกรอบเงินบาทวันนี้ 35.00-35.50 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ควรรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินหยวนจีนและค่าเงินบาทได้ นอกจากนี้ หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้บ้างในจังหวะตลาดไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง ก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้เช่นกัน

 

 

 

ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews

Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com