ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -15.35 เหรียญ หรือ -0.8% อยู่ที่ระดับ 1,900.67 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 16.80 ดอลลาร์ หรือ 0.87% ปิดที่ 1,919.80 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 18.90 เซนต์ หรือ 0.81% ปิดที่ 23.196 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 10.40 ดอลลาร์ หรือ 1.13% ปิดที่ 907.10 ดอลลาร์/ออนซ์
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 3.75 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 872.77 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 17.33 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 44.87 ตัน
- นักวิเคราะห์เตือนว่า ราคาทองอาจร่วงลงสู่ระดับ 1,900 ดอลลาร์ หากสหรัฐเปิดเผยดัชนี PCE ที่แข็งแกร่ง และบ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย.
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.27 จุด หรือ 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 106.22 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.55% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 5.123% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.57%
- นายนีล แคชคารี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขามินนิอาโปลิสกล่าวว่า เมื่อดูจากการฟื้นตัวไวอย่างน่าประหลาดใจของเศรษฐกิจสหรัฐ เฟดอาจจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงไปอีกระยะหนึ่งเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับลงมาอยู่ที่ 2%
- นายออสเตน กูลสบี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกกล่าวว่า เงินเฟ้อที่เคลื่อนไหวสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ยังคงเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงมากกว่านโยบายคุมเข้มด้านการเงินของเฟด โดยแม้ว่านโยบายของเฟดจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการฉุดเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับที่สามารถควบคุมได้
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีต่างก็ดิ่งลงกว่า 1% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาด และความเสี่ยงที่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐจะถูกปิดการดำเนินงาน หรือชัตดาวน์
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,618.88 จุด ลดลง 388.00 จุด หรือ -1.14%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,273.53 จุด ลดลง 63.91 จุด หรือ -1.47%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,063.61 จุด ลดลง 207.71 จุด หรือ -1.57%
- สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตใกล้จะบรรลุข้อตกลงการอนุมัติงบประมาณชั่วคราวเพื่อช่วยให้สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลหรือชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ทั้งนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชัตดาวน์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นนิวยอร์ก ขณะที่มูดี้ส์ เตือนว่า หากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐถูกปิดการดำเนินงานจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการประเมินความน่าเชื่อถือของสหรัฐ
- เอสแอนด์พี โกลบอล ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรปจะสร้างแรงกดดันต่ออันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทและธนาคารพาณิชย์ในทวีปยุโรป
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค กล่าวว่า ประเทศทั่วโลกอาจไม่พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่สุดในกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 7% ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในเวลาเดียวกับที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูง (Stagflation) ทั้งนี้ หากมูลค่าทางเศรษฐกิจปรับตัวลงและอัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้น สิ่งนี้จะสร้างแรงกดดันต่อระบบเศรษฐกิจ
- รัฐบาลท้องถิ่นของจีนได้เพิ่มปริมาณการออกพันธบัตรพิเศษสำหรับโครงสร้างพื้นฐานขึ้นอย่างมากในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามพยุงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- บริษัทจีน 'จงหรง' ผิดชำระเงินต่อนักลงทุนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตการเงินในจีน โดย จงหรง เป็นหนึ่งในทรัสต์ขนาดใหญ่ที่ลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหามากที่สุดในจีนในขณะนี้ หาก จงหรง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด อาจก่อให้เกิดการล้มละลายของธนาคารอื่นๆ ในจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของจีนโดยรวม
- ยอดการเดินทางไปยังต่างประเทศของชาวจีนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อนที่จะถึงช่วงเทศกาลวันหยุดโกลเดนวีค (Golden Week) ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ก.ย.-6 ต.ค. โดยยอดการเดินทางต่างประเทศช่วงโกลเดนวีคพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลจีนเริ่มอนุญาตให้ประชาชนเดินทางออกนอกประเทศหลังยุคโควิด-19
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเกาหลีใต้ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในเดือนก.ย. เนื่องจากผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งการทรุดตัวของยอดส่งออกและกำลังซื้อที่ลดลงอย่างมาก
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร โดยได้ปัจจัยหนุนจากแนวโน้มอุปทานน้ำมันตึงตัว ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 90.39 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 93.96 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้
- นักวิเคราะห์จากบริษัท PVM กล่าวว่า การชัตดาวน์หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสหรัฐ และอาจเป็นปัจจัยขัดขวางแนวโน้มราคาน้ำมันที่คาดว่าจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์หลายรายคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ได้ในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่สูงขึ้น, มาตรการจำกัดอุปทานน้ำมัน และการที่สต็อกน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงในคลังอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาค้าปลีกเชื้อเพลิงในสหรัฐและยุโรปพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบหลายเดือนในช่วงนี้
- นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า "ถ้าหากราคาพลังงานปรับสูงขึ้น และยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป สิ่งนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอย และอาจจะส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภค
- เคปเลอร์ (Kpler) บริษัทด้านวิเคราะห์ข้อมูลตลาดโภคภัณฑ์ กล่าวว่า อุปทานน้ำมันดิบของรัสเซียเพิ่มขึ้น 50% ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา แม้จะถูกประเทศกลุ่ม G7 ดำเนินมาตรการคว่ำบาตร เนื่องจากเข้าบุกโจมตียูเครนก็ตาม
ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ
- วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตใกล้จะบรรลุข้อตกลงการอนุมัติงบประมาณชั่วคราวเพื่อช่วยให้สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลหรือชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค.นี้
- ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศมาตรการควบคุมการค้ารอบใหม่กับบริษัทจีน 11 แห่ง และรัสเซีย 5 แห่ง โดยมุ่งเป้าไปยัง 5 บริษัทต่างชาติที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐ สร้างความไม่พอใจให้กับทางการจีนอย่างมาก
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย ประกาศว่า รัฐบาลออสเตรเลียได้ริเริ่มกระบวนการอนุมัติวีซ่าให้แก่นักเดินทางแบบหมู่คณะหรือกรุ๊ปทัวร์จากจีน
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดอ่อนค่าที่ 36.44 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.38 บาทต่อดอลลาร์ โดยกรอบแนวรับที่ 36.25 บาท แนวต้าน 36.55 บาท
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 66 ลงมาอยู่ที่ 3.0% จากก่อนหน้านี้ที่ 3.7% แม้ความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นหลังจากประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จแล้ว แต่เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังคงเผชิญกับปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่
- นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ก.ย.นี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 0.88% เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 0.79%
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบต่อไป (27 ก.ย.) มีโอกาสสูงที่จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงจากระดับ 3.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ค. โดยมีสาเหตุหลักมาจากแนวโน้มการส่งออกฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง