ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคารโดยได้แรงหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งความหวังว่าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 6.94 เหรียญ หรือ 0.32% อยู่ที่ระดับ 2,178.74 เหรียญ
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 80 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 2,177.20 เหรียญ
- สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 26.8 เซนต์ หรือ 1.08% ปิดที่ 24.623 เหรียญ
- สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.70 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ 920.70 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 5.18 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 830.15 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ซื้อสุทธิ 7.24 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 48.96 ตันเหรียญ
ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.07 จุด หรือ 0.07% มาอยู่ที่ระดับ 104.29 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.02 % มาอยู่ที่ระดับ 4.234% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.593% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.36% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- ลิซา คุก ผู้ว่าการเฟดกล่าวว่า "แม้อัตราเงินเฟ้อที่อยู่อาศัย-ภาคบริการยังคงค่อนข้างสูง แต่การเช่าซื้อใหม่ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นค่อนข้างต่ำในขณะนี้บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อจะยังคงลดลงต่อไป" ซึ่งเป็นการยอมรับวิธีการที่ระมัดระวังในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน
- สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า ธนาคารกลาง อีซีบีกำลังดำเนินการไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว และใกล้แตะเป้าหมาย 2% ของอีซีบี
- นักลงทุนได้ปรับเพิ่มน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.25% ในเดือนมิ.ย. โดยล่าสุดเครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 70.4% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งแรกในการประชุมเดือนมิ.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 59.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว
- นักวิเคราะห์มองบีโอเจอาจดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายน้อยกว่าตลาดคาด
แต่แม้จะมีการขึ้นดอกเบี้ย เยนก็ยังคงร่วงลงกว่า 1% นับตั้งแต่มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย เนื่องจากการตีความการสื่อสารของบีโอเจเป็นเชิงผ่อนคลายนโยบายของตลาดเป็นการตอกย้ำการคาดการณ์ว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจะยังห่างไกล
- ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนกล่าวว่า ความผันผวนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนแทบไม่มีผลกระทบต่อระบบการเงินของประเทศ และ "สัญญาณเชิงบวก" หลายตัวปรากฏให้เห็นในตลาดแล้ว ขณะเดียวกัน มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาแบบแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพในระยะยาวด้วย
ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันอังคาร ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,282.33 จุด ลดลง 31.31 จุด หรือ -0.08%
- ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,203.58 จุด ลดลง 14.61 จุด หรือ -0.28%
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,315.70 จุด ลดลง 68.77 จุด หรือ -0.42%
- การประชุม Boao Forum For Asia ระบุในรายงานว่า คาดว่าเศรษฐกิจเอเชียจะมีอัตราการเติบโตของจีดีพีแท้จริงที่มีถ่วงน้ำหนักราว 4.5% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าจีดีพีที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.3% ในปีที่แล้ว
- นักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ระบบธนาคารเพิ่มอีกในปีนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ราว 5% สำหรับปีนี้
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global ปรับลดอันดับธนาคารภูมิภาค 5 แห่งของสหรัฐฯ ลงเป็น "แนวโน้มน่าเป็นห่วง" จากเดิมที่ "มีเสถียรภาพ" เมื่อวันอังคาร เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงจากการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (commercial real estate) การปรับลดอันดับครั้งนี้อาจส่งผลต่อความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับเสถียรภาพของภาคธนาคารอีกครั้ง
ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร ขณะที่นักลงทุนจับตาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง เพื่อประเมินว่าจะส่งผลกระทบอุปทานน้ำมันในตลาดโลกมากเพียงใด
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 33 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 81.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 50 เซนต์ หรือ 0.58% ปิดที่ 86.25 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ราคาน้ำมัน WTI ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 82 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ว่า รัฐบาลรัสเซียสั่งให้บริษัทต่าง ๆ ปรับลดการผลิตน้ำมันในไตรมาส 2 เพื่อให้รัสเซียบรรลุเป้าหมายการผลิตที่ระดับ 9 ล้านบาร์เรล/วันภายในสิ้นเดือนมิ.ย.
- แต่ต่อมาราคาน้ำมันปิดตลาดอ่อนแรงลง เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อ และประเมินสถานการณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่รัสเซียและยูเครนต่างก็โจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน
- นักลงทุนรอดูการเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้
ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท
- ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.33 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.29 บาทต่อดอลลาร์ แนวโน้มของค่าเงินบาท Krungthai GLOBAL MARKETS ประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ในช่วงนี้ 36.20-36.50 บาทต่อดอลลาร์
- ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหวางประเทศของไทย เดือนก.พ.67 ว่า การส่งออก มีมูลค่า 23,384 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 3.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 แม้ต่ำกว่าตลาดคาดเล็กน้อยที่ 3.9-4.3%
ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews
Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง