• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2567

    5 มิถุนายน 2567 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -23.83 เหรียญ หรือ -1.01% อยู่ที่ระดับ 2,326.81 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 21.90 ดอลลาร์ หรือ 0.92% ปิดที่ 2,347.40 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.167 ดอลลาร์ หรือ 3.79% ปิดที่ 29.617 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 26.90 ดอลลาร์ หรือ 2.63% ปิดที่ 995.90 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 832.21 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.9 ตัน


  • นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco Metals กล่าว ข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอกว่าอาจกระตุ้นให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นในระยะสั้น ในขณะที่ข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งจะกดดันราคาทองคำ เนื่องจากอาจบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะเพิ่มความยากลำบากมากขึ้นในการลดอัตราดอกเบี้ย 


ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.12 จุด หรือ 0.12% มาอยู่ที่ระดับ 104.17 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.332% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.77% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.44% อยู่ในภาวะ inverted yield curve


  • ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ซึ่งจัดทำโดยสถาบัน Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF) ระบุว่า มีธนาคารกลางทั่วโลกจำนวนมากขึ้นที่วางแผนจะเพิ่มการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ขณะเดียวกันก็ลดความสนใจที่จะลงทุนในสกุลเงินหยวนของจีนเนื่องจากให้ผลตอบแทนต่ำและมีความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์


  • โกลด์แมน แซคส์  เคยคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเชิงบวก แต่ล่าสุดได้ปรับลดประมาณการ  GDP ไตรมาส 2 ปี 2567  จาก 3.2% เหลือ 2.7%  เนื่องจาก "แรงขับเคลื่อนของการใช้จ่ายในช่วงต้นไตรมาสอ่อนแอ"


  • นักลงทุนพันธบัตรคาดหวังเฟดลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ส่งสัญญาณคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะปรับลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น  หลังจากที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (US Treasury yield) ลดลงอย่างต่อเนื่อง


  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 65% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. เทียบกับระดับต่ำกว่า 50% ในการสำรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


  • ธนาคารกลางยุโรปอาจชะลอการลดดอกเบี้ย เดิมที นักวิเคราะห์และนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะทยอยลดดอกเบี้ยหลายครั้งตลอดปี 2024แต่ ข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนที่แข็งแกร่งกว่าคาด ส่งผลให้ความคาดหวังดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนไป


  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวในวันนี้ว่า บีโอเจจำเป็นจะต้อง "เฝ้าระวังเป็นอย่างมาก" ต่อผลกระทบที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจได้รับจากความเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าการอ่อนค่าของเยนจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำหนดเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไป


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอเกินคาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,711.29 จุด เพิ่มขึ้น 140.26 จุด หรือ +0.36%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,291.34 จุด เพิ่มขึ้น 7.94 จุด หรือ +0.15% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,857.05 จุด เพิ่มขึ้น 28.38 จุด หรือ +0.17%


  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนพ.ค.ในวันศุกร์นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.9% ในเดือนพ.ค.


  • เจมี่ ไดมอน ซีอีโอ JPMorgan มองเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะเผชิญกับวิกฤต stagflation คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 แต่ยังมีโอกาสฟื้นตัวแบบยุค 1950  ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (4 มิ.ย.) โดยตลาดยังคงถูกกดดันจากความกังวลว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันในตลาดอ่อนแอลงแล้วก็ตาม


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 97 เซนต์ หรือ 1.31% ปิดที่ 73.25 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 84 เซนต์ หรือ 1.07% ปิดที่ 77.52 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความวิตกกังวลว่ามติการประชุมล่าสุดของกลุ่มโอเปกพลัสจะนำไปสู่การเพิ่มอุปทานน้ำมันในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้


  • ในส่วนของการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรล/วันนั้น ที่ประชุมมีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นเดือนก.ย. และจะเริ่มทยอยยุติการปรับลดกำลังการผลิตในช่วง 1 ปีนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2567 จนถึงเดือนก.ย. 2568 ซึ่งบ่งชี้ว่าโอเปกพลัสจะเริ่มปรับเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนต.ค. 2567


  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันเบนซินในช่วงวันหยุดเนื่องในวัน Memorial Day หรือวันรำลึกถึงผู้พลีชีพเพื่อชาติ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูการขับขี่รถยนต์ในฤดูร้อนของสหรัฐ


ข่าวเกี่ยวกับการเมือง


  • กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเปิดเผยว่า กำลังสรุปข้อเสนอสำหรับมาตรการตอบโต้ต่อสหภาพยุโรป (EU) หลังจาก EU สั่งระงับการเผยแพร่สื่อรัสเซีย 4 แห่งในยุโรปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา


  • นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ประกาศยืนยันว่าจะไม่มีข้อตกลงหยุดยิงถาวรในฉนวนกาซา จนกว่าจะบรรลุเงื่อนไขของสงคราม ซึ่งรวมถึงการทำลายกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.62 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลง เล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  36.59 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.50-36.80 บาทต่อดอลลาร์


  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก คงคาดการณ์การส่งออกไทยปี 67 ขยายตัวที่ 1-2% แม้ภาวะการส่งออกในเดือนเม.ย.ของไทย จะพลิกกลับมาโต 6.8% หนุนให้ 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกขยายตัวได้ 1.4%

 


ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews

Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com