• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 2 กันยายน 2567

    2 กันยายน 2567 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ เนื่องจากดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น หลังการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐออกมาสอดคล้องกับการคาดการณ์ แต่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ในเดือนส.ค. เนื่องจากยังมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -17.96 เหรียญ หรือ -0.71% อยู่ที่ระดับ 2,502.84 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 32.70 เหรียญ หรือ 1.28% ปิดที่ 2,527.60 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 8.46 เซนต์ หรือ 2.82% ปิดที่ 29.143 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 14.00 เหรียญ หรือ 1.48% ปิดที่ 932.20 เหรียญ
  • ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 2% ในเดือนส.ค. หลังจากราคาพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,531.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันที่ 20 ส.ค.
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 5.47 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 862.74 ตันภาพรวมเดือนสิงหาคม ซื้อสุทธิ 16.69 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 16.37 ตัน


ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.35 จุด หรือ 0.35% มาอยู่ที่ระดับ 101.73 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 3.914% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้น 0.02 % มาอยู่ที่ระดับ 3.919% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี มากกว่า 2 ปี เท่ากับ0.0%


  • FedWatch tool ของ CME บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาส 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในเดือนก.ย. และมีโอกาสลดลงเหลือ 31% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50%


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ และปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 41,563.08 จุด เพิ่มขึ้น 228.03 จุด หรือ +0.55%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,648.40 จุด เพิ่มขึ้น 56.44 จุด หรือ +1.01% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 17,713.62 จุด เพิ่มขึ้น 197.20 จุด หรือ +1.13%
  • ในรอบเดือนส.ค. ดัชนีดาวโจนส์บวก 1.8%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 2.3% และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 0.6%


  • อเล็กซ์ เอ็บคาเรียน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของอัลลีเจนซ์ โกลด์ (Allegiance Gold) กล่าวว่า ข้อมูล PCE ยืนยันว่า เงินเฟ้อไม่ใช่ความกังวลหลักของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อีกต่อไป ขณะที่พวกเขาหันไปให้ความสำคัญกับการว่างงานแทน ซึ่งจะสนับสนุนความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.


  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ที่ระดับ AA+ โดยระบุถึงความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงรายได้ต่อหัวประชากรที่อยู่ในระดับสูง และความยืดหยุ่นทางการเงิน นอกจากนี้ ฟิทช์คาดการณ์ว่าสถานะการคลังโดยรวมของสหรัฐฯ จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าใครจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็ตาม


  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยประมาณการเบื้องต้นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) ของยูโรโซน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค อยู่ที่ 2.2% ในเดือนส.ค. 2567 เมื่อเทียบรายปี ลดลงจาก 2.6% ในเดือนก.ค.


  • อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสชะลอตัวแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2564 ทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หลังจากที่เงินเฟ้อเยอรมนีและสเปนชะลอตัวเช่นเดียวกัน


  • รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เลื่อนการประกาศการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายอีกครั้งเกี่ยวกับการปรับเพิ่มภาษีศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน รวมถึงแบตเตอรี่, ชิปคอมพิวเตอร์ และเซลล์แสงอาทิตย์ โดยระบุว่า จะประกาศการตัดสินใจดังกล่าวต่อสาธารณะในอีกไม่กี่วันข้างหน้า


  • เงินเฟ้อในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค. ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เดินหน้าปรับนโยบายการเงินสู่ระดับปกติด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ของกรุงโตเกียว เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนส.ค. จากระดับ 2.2% ในเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ที่ระดับ 2.2% โดยดัชนี CPI พื้นฐานเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารสด


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนประเมินความเป็นไปได้ที่กลุ่มโอเปกพลัสจะเพิ่มการผลิตน้ำมันในเดือนต.ค. ขณะที่นักลงทุนมีความหวังลดลงเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ลงอย่างมากในเดือนหน้า หลังจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 2.36 ดอลลาร์ หรือ 3.11% ปิดที่ 73.55 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยลดลง 1.7% ในรอบสัปดาห์นี้ และลดลง 3.6% ในเดือนส.ค.
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.43% ปิดที่ 78.8 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยลดลง 0.3% ในรอบสัปดาห์นี้ และลดลง 2.4% ในเดือนส.ค.


  • แหล่งข่าว 6 รายจากกลุ่มโอเปกเปิดเผยว่า สมาชิก 8 ชาติจากโอเปกพลัสจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันรวม 180,000 บาร์เรล/วัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค. การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่ลิเบียลดการผลิตน้ำมัน อันเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และหนุนอุปสงค์น้ำมันในตลาด


  • บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Corporation) ของลิเบียระบุว่า การปิดบ่อน้ำมันล่าสุดทำให้การผลิตน้ำมันรวมของประเทศลดลงประมาณ 63% อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ


ข่าวเกี่ยวกับการเมือง


  • ยูเครนเรียกร้องเมื่อวันศุกร์ (30 ส.ค.) ให้มองโกเลียจับกุมประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เมื่อเขาเดินทางไปเยือนมองโกเลียในวันที่ 3 ก.ย.นี้ แต่ทางทำเนียบเครมลินระบุว่า ไม่กังวลเกี่ยวกับการเดินทางดังกล่าว


  • คามาลา แฮร์ริส กล่าวหลังได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยประกาศเดินหน้าแก้ปัญหาผู้อพยพบริเวณชายแดนทางใต้ของสหรัฐฯ อย่างเข้มงวด พร้อมยืนยันจะไม่ระงับการส่งอาวุธให้กับอิสราเอล


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.08 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.88 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.75-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.95-34.15 บาทต่อดอลลาร์


  • โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการแข็งค่าของเงินบาทว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมาจากหลายด้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากปัจจัยภายนอก ดังนั้นในแง่แนวโน้มหรือ trend ก็ต้องให้เป็นไปตามทิศทางของโลก เพียงแต่ ธปท.จะให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความผันผวนสูงอย่างต่อเนื่องมากกว่า โดยจะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป จนส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจไม่สามารถปรับตัวรับกับความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนได้


  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนก.ค.67 ว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับดีขึ้น หลังชะลอลงในเดือนก่อน (มิ.ย.67) ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ โดยการส่งออกสินค้า และรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่องขยายตัว ด้านการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวจากเดือนก่อน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนทรงตัว


  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ และกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) คาด เงินบาทอาจกลับมาอ่อนค่าในปีนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดอัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 1% ในปี 2567 มองนโยบายโดนัล ทรัมป์หนุนให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า

 

 

ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews

Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com