• น้ำมันดิบร่วงลงจากข้อมูลเศรษฐกิจในเอเชียที่ชะลอตัว ขณะที่โอกาสในการปรับลดกำลังการผลิตเลือนลางไป

    1 กุมภาพันธ์ 2559 | Economic News

 

ราคาน้ำมันดิบในตลาดเอเชียเช้านี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจของจีนและเกาหลีใต้ออกมาไม่ดีนัก รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการหารือร่วมกันของกลุ่มประเทสผู้นำในการผลิตน้ำมันดิบดูเหมือนว่าจะเงียบหายไป

โดยเช้านี้น้ำมันดิบ Brent ร่วงลงระดับ 35.54 เหรียญ/บาร์เรล หรือคิดเป็น 1.25% เมื่อเทียบกับราคาปิดในคืนวันศุกร์ ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงแถว 33.27 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ ภาคการผลิตของจีนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หดตัวลงเร็วที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้แก่ตลาด ขณะที่ข้อมูลส่งออกของเกาหลีใต้ปรับตัวลง 18.5% เมื่อเทียบรายปี ที่ระดับ 3.67 หมื่นล้านเหรียญ โดยเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2009

ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจของจีนและเกาหลีใต้ครั้งล่าสุดนี้ ส่งสัญญาณชะลอตัวในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของเอเชีย

ขณะเดียวกัน โอกาสในการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้นำการส่งออกน้ำมันดิบ ได้แก่ โอเปค และรัสเซีย ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ยาก ท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันดิบ โดยเฉพาะอิหร่านที่กลับมาทำการส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้งหลังจากที่ชาติตะวันตกทำการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร จึงทำให้อิหร่านยังไม่มีความตั้งใจที่จะทำการปรับลดกำลังการผลิตใดๆ

นักวิเคราะห์จาก ANZ Bank ระบุว่า การกลับมาผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านอาจทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในกลุ่มโอเปคปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 32.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ขณะที่ราคาน้ำมันดิบร่วงลงไปแล้วประมาณ 70% นับตั้งแต่กลางปี 2014

นักวิเคราะห์จาก BMI Research กล่าวว่า จากภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด ทำให้ทางหน่วยงานมีการปรับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปี 2016 โดยคาดว่า น้ำมันดิบ Brent จะมีราคาเฉลี่ยปีนี้ที่ระดับ 40 เหรียญ/บาร์เรล (จากระดับ 42.5 เหรียญ/บาร์เรล) ขณะทีน้ำมันดิบ WTI คาดจะมีราคาเฉลี่ยปีนี้ที่ระดับ 39.5 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากอุปสรรคที่ขัดขวางการฟื้นตัวของน้ำมันดิบในปี 2016 มาจากการอ่อนค่าของเงินหยวน ความกังวลต่อภาวการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และสต็อกน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จาก BMI Research กล่าวเพิ่มเติมว่า เรามีโอกาสเห็นราคาน้ำมันดิบค่อยๆปรับตัวขึ้นทีละน้อยในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com