ตลาดการเงิน ณ ขณะนี้ ได้รับสัญญาณเกี่ยวกับภาวะเงินฟ้อของพวกเขาว่า อาจจะไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นในเร็วๆนี้ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้อาจแสดงให้เห็นถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หรืออาจร่วงลงในบางประเทศเศรษฐกิจสำคัญของโลก
การร่วงของตลาดหุ้นทั่วโลก, ค่าเงิน, สินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้ในปี 2016 ขณะที่กลุ่มนักลงทุนสูญเสียศรัทธาในความสามารถของภาคธนาคารกลางต่างๆในการสนับสนุนเงินเฟ้อ ประกอบกับสัญญาณทางเศรษฐกิจโลกที่กำลังซบเซา
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Lloyds Banking Group กล่าวว่า ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าเกิดภาวะตื่นตระหนกอะไรในตลาดต่างๆ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ประกาศเพิ่มออกมาในขณะนี้ก็ทำให้ตลาดต่างๆยิ่งวิตกกังวลต่อการประเมินอัตราเงินเฟ้อในระดับที่ต่ำมากๆ และอีกหนึ่งเหตุผล คือ ตลาดไม่เชื่อว่าการดำเนินนโยบายของกลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเงินมีความเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า บีโอเจ สร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาด โดยการประกาศตัดลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสู่ระดับติดลบ แต่ดูเหมือนว่าสร้างผลกระทบอย่างจำกัดต่อการอ่อนค่าของค่าเงินเยน
ด้านธนาคารกลางแห่งชาติสวีเดน (Riksbank) ก็มีการหั่นอัตราดอกเบี้ยธุรกรรมการซื้อคืน (Repo Rate) สู่ระดับ -0.5%ซึ่งสวนทางกับแนวทางการดำเนินนโยบายของอีซีบี ที่มีกระแสคาดการณ์ว่า อีซีบีที่อาจจะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินในเดือนมีนาคมนี้
ขณะที่ผลการประกาศข้อมูลเงินเฟ้อจาก ประเทศอังกฤษ, แคนาดา, จีน และสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์นี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมสภาพเศรษฐกิจโลก
ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส บ่งชี้ว่า ดัชนีราคาดังกล่าวอาจมีการปรับตัวตัวดีขึ้น ขณะที่ผู้สังเกตการณ์ในตลาดเฝ้าจับตาไปยังทิศทางแนวโน้มเงินเฟ้อ เพื่อประเมินแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะรับมือได้หรือไม่
นอกจากนี้ ประธานเฟดได้กล่าวถ้อยแถลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็ได้ส่งผลให้ตลาดเกิดแรงเทขายทำกำไรออกมา ขณะที่การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบกว่า 75% นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2014 และอุปสงค์ที่อ่อนแอทั่วโลก นำโดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ดูเหมือนจะฉุดรั้งการประเมินเงินเฟ้อของตลาด เช่นเดียวกับการ Swaps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แสดงให้เห็นถึงระดับติดลบในปัจจุบัน
โดยจะเห็นได้ว่า พันธบัตรรัฐบาลของเยอรมนีอายุ 10 ปี ร่วงลงกว่า 40 bps นับตั้งแต่เดือนมกราคมมาทำจุดต่ำสุดในรอบปี ด้านดัชนีนิกเกอิ และดัชนี S&P500 ปรับตัวลงกว่า 20% และ 10% ตามลำดับ
ที่มา: Reuters