ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักโดยอ่อนตัวลง 0.15% ที่ระดับ 96.98 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 22กุมภาพันธ์
ขณะที่สำนักข่าว Investing ประเมินว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดน่าจะเกิดขึ้นได้เพียงหนึ่งครั้งในช่วงสิ้นปีนี้ และจะยังไม่ทำการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับระดับอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้
การส่งออกของจีนชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอ โดยการส่งออกปรับตัวลดลงกว่า -25.4% (เดิม -11.2%) ในสกุลดอลลาร์ เมื่อเทียบรายปี หดตัวลงมากกว่าผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยWall Street Journal คาดการณ์ที่ -15% และมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ค. 2009 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลง -13.8% (เดิม -18.8%) และดุลการค้าเกินดุลที่ 3.259 หมื่นล้านเหรียญ (เดิม 6.329, คาดการณ์ 5.125 หมื่นล้านเหรียญ)
ทั้งนี้ยอดส่งออกปรับตัวลง 25.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการร่วงลงเกือบ 2 เท่าดังกล่าวทำให้ตลาดเกิดความวิตกกังวลต่อการทรุดตัวของอุปสงค์ในตลาดใหญ่ของจีน ขณะที่ยอดนำเข้าปรับตัวลง 13.8% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเดือนที่ 16
นักเศรษฐศาสตร์จาก Nomura Group ระบุว่า แนวโน้มการเติบโตของจีนกลับมาอ่อนแอลงอีกครั้งในไตรมาสแรกของปี ซึ่งจะกดดันให้จีนเติบโตได้ช้าลง
การส่งออกที่อ่อนแอของจีน สอดคล้องกับการส่งออกของประเทศอื่นๆในภูมิภาค โดยในเดือน ก.พ. การส่งออกของไต้หวันหดตัวลงติดต่อกัน 13 เดือน การส่งออกของเกาหลีใต้เองก็หดตัวลงต่อเนื่อง 14 เดือนเช่นกัน
น้ำมันดิบปรับตัวลงจากข้อมูลการค้าที่อ่อนแอของจีน แต่ราคาน้ำมันดิบ Brent นั้นยังคงยืนเหนือ 40 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ดีดตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในปี 2016 ในการซ้อขายวันก่อนหน้า หลังกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันประกาศจะหารือร่วมกันเพื่อนหุนตลาด จึงทำให้นักลงทุนกลับเข้าสู่สถานะ Long ใหม่อีกครั้งในตลาด
ยอดนำเข้าน้ำมันดิบของจีนปรับตัวขึ้น 19.1% ระหว่างเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ แตะระดับ 31.80 ล้านตัน (ประมาณ 8 ล้านบาร์เรล/วัน) แม้ว่าภาพรวมสินค้าโภคภัณฑ์และการซื้อขายจะอ่อนแอ