เมื่อวานนี้เฟดได้ประกาศคงระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมที 0.25-0.50% ด้วยคะแนนเสียง 9-1 โดยมีเพียงนางEsther George ประธานเฟดสาขา Kansas City เท่านั้นที่โหวตให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เมื่อวานนี้เฟดได้แสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงิน โดยระบุว่า
““กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังมีการขยายตัวได้ในระดับปานกลาง แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกและการเติบโตของตลาดการเงินจะประสบกับความผันผวนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา”
“พัฒนาการของเศรษฐกิจและการเงินโลกแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง”
และได้ระบุถึงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อ่อนแอในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีพัฒนาการดีขึ้นและกลับสู่เป้าหมาย 2% ได้
สมาชิกเฟดคาดว่าจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ได้น้อยลง และปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ดังนี้
ในวันนี้ นาย ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ระบุว่า บีโอเจสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกเพื่อหนุนเศรษฐกิจ และจะขยายมาตรการทางการเงินออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งอัตราเงินเฟ้อถึงเป้าหมายระดับ 2% โดยในทางทฤษฎีแล้วสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้จนกระทั่งถึงระดับ -0.5% โดยยกตัวอย่างถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตยูโรโซน
ที่มา : MTS Smart Technic
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลังถ้อยแถลงของนายคุโรดะ ทั้งนี้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นแล้วกว่า 1.61%จากระดับ 113.69 เยน/ดอลลาร์ สู่ระดับ 111.83 เยน/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ 2.7% สู่ระดับ 39.50 เหรียญ/บาร์เรล ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นได้กว่า 5.8%
น้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวสูงขึ้น 1.95% สู่ระดับ 41.13 เหรียญ/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในวันนี้ ต่อเนื่องจากเมื่อคืนนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากเฟดปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลง, ผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกยืนยันถึงแผนการประชุมเพื่อจำกัดระดับการผลิต และสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดเมื่อคืนนี้
รัฐมนตรีน้ำมันจากกาตาร์ ระบุว่า ผู้ผลิตจากทั้งในและนอกโอเปคมีกำหนดการประชุมกันในวันที่ 17 เม.ย. นี้ เพื่อพิจารณาแผนการจำกัดการผลิต โดยจะมีชาติเข้าร่วมการประชุมราว 15 ชาติ รวมแล้วมีปริมาณการผลิตรวม 73%ของโลก
สถาบันจัดอันดับ Moody’s ปรับลดอันดับธนาคารซาอุดิอาระเบียสู่ “เชิงลบ” จาก “มีเสถียรภาพ” เนื่องจากเหตุราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงและก่อให้เกิดความเสี่ยงทางการเงิน ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียขาดดุลงบประมาณทางการคลัง กว่า 9.8 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1.5 หมื่นล้านในปี 2014
ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบีย ถูกลดอันดับลงมาแล้ว 2 ขั้น จากสถาบันจัดอันดับ S&P สู่ระดับ A- โดยให้เหตุผลถึงราคาน้ำมันที่ตกต่ำส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบีย