สำนักข่าว Zerohedge รายงานว่า เฟดจะจัดประชุมฉุกเฉินในวันนี้ ท่ามกลางกลุ่มผู้ว่าการบอร์ดบริหารของเฟดและเจ้าหน้าที่เฟดสาขาต่างๆ เพื่อปรับทบทวนนโยบายการเงินและการกำหนดช่วงเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยการจัดประชุมฉุกเฉินของเฟดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ก่อนที่เดือนธันวาคมเฟดจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบหลายปี
ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 17 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่น ออกมาย้ำเตือนอีกครั้งว่า พวกเราสามารถใช้มาตรการเพื่อให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง
ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนปรับตัวลงแตะ 107.65 เยน/ดอลลาร์ โดยเป็นระดับการอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ตุลาคมปี 2014 ก่อนที่จะทรงตัวในตลาดซื้อขายแถวระดับ 107.83 เยน/ดอลลาร์
ภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงกว่า 3.2% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา และปรับตัวลงประมาณ 10%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นาย โยชิดะ ซูกะ ผู้อำนวยการคณะเลขาธิการรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะเฝ้าจับตาตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินอย่างใกล้ชิดด้วยภาวะเร่งด้วน เนื่องจากค่าเงินเยนเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวและยังมีความไม่แน่นอน
นาย ลอว์เรนซ์ ดี. ฟิงก์ ฝ่ายบริหารจาก BlackRock Inc. กล่าวว่า ระดับอัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นความน่ากังวลอย่างยิ่ง และมีโอกาสจะส่งผลเสียได้ ท่ามกลางความเสี่ยงทางสังคมและการเมือง ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเปราะบางในช่วงกว่าทศวรรษ
World Bank ระบุว่า จีนจะยังคงปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ก็จะสามารถพยุงการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาค โดยจีนจะยังได้รับอานิสงค์จากการส่งออกและการลงทุนในการสร้างความน่าเชื่อถือต่อการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค โดยคาดว่าจีนจะขยายตัวได้แตะระดับ 6.7% ในปีนี้ และ 6.5% ในปี 2017 โดยเป็นระดับการปรับลงจากการขยายตัวในปี 2015 ที่ระดับ 6.9%
ขณะที่ World Bank คาดว่า กลุ่มประเทศพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EAP) ประกอบด้วยจีนจะขยายตัวได้ 6.3% ในปีนี้ และ 6.2% ในปี 2017 โดยลดลงจากเดิมในปี 2015 ซึ่งขยายตัวได้ 6.5% (เดิมในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาปี 2016 คาดขยายตัวได้ 6.4% และ 6.3% ในปี 2017) ขณะที่ฟิลิปปินส์และเวียดนามเป็นผู้นำการขยายตัวโดยมีอัตราการขยายตัวมากกว่า 6%
ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดจะขยายตัวได้แตะระดับ 5.1% ในปีนี้ และขยายตัวได้ 5.3% ในปี 2017
ราคาน้ำมันดิบวันนี้ปรับตัวลดลง โดยน้ำมันดิบ WTI เคลื่อนไหวแถวระดับ 39.5 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ขึ้นไปทำจุดสูงสุดระหว่างวันบริเวณ 40.47 เหรียญ/บาร์เรล โดยปรับตัวลงมาประมาณ 22 เซนต์จากวาระซื้อขายก่อนหน้า ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 26 เซนต์แตะระดับ 41.68 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วน รวมไปถึง Goldman Sachs ย้ำให้จับตาระมัดระวังต่อผลการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในวันที่ 17 เมษายนนี้ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ออกมาอาจส่งผลลบต่อตลาดได้
ทั้งนี้ Goldman Sachs ระบุว่า ระดับการตรึงกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันอาจไม่เร่งให้เกิดความสมดุลต่อตลาด เนื่องจากสมาชิกกลุ่มโอเปก (ยกเว้นอิหร่าน) และรัสเซียในปีนี้ยังคงมีระดับปริมาณการผลิตน้ำมันใกล้เคียงกับคาดการณ์ระดับค่าเฉลี่ยรายปี 40.5 ล้าบาร์เรล/วัน
ดังนั้น การประชุม ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ในวันที่ 17 เมษายนนี้ อาจทำให้ราคาน้ำมันอยู่ในทิศทางขาลง และคาดว่าราคาน้ำมันดิบอาจทำจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2/2016 แถวระดับ 35 เหรียญ/บาร์เรล
ขณะที่นักวิเคราะห์จาก Barclays คาดการณ์ว่า การดำเนินการของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในปัจจุบันอาจส่งผลอย่างจำกัด เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley ที่กล่าวว่า ผลสะท้อนต่อราคาน้ำมันดิบอาจเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และสิ่งนี้ไม่มีความจำเป็นจะสร้างนัยยะขาขึ้นสำหรับราคาน้ำมันที่ทรงตัว หรือพิสูจน์การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่ทั่วโลกยังไม่มีความสมดุล
อย่างไรก็ดี แนวโน้มระยะยาวสำหรับราคาน้ำมันมีโอกาสเป็นขาขึ้นได้ลดน้อยลงไป เพรานักวิเคราะห์บางส่วนประเมินว่าในระยะยาวอุปสงค์จะปรับตัวขึ้น