หุ้นเอเชียปรับลดลงในวันนี้โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นมากของตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากข้อมูลยอดขายบ้านของสหรัฐฯที่ออกมาอย่างแข็งแกร่งนั้นอาจะทำให้เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ในเร็วๆ
ดัชนี MSCI Asia-Pacific ex Japan เพิ่มขึ้น 1.6%
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือน จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า
ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวสูงขึ้น 1.6% สู่ระดับ 16,757.35 จุด สูงที่สุดนับตั้งแต่ 27 เม.ย.
ขณะที่หุ้น Sony ของญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 6.5% หลังจากที่งบการเงินออกมาอย่างแข็งแกร่ง
ตลาดหุ้นจีนในวันนี้ปิดปรับตัวลดลง แม้ว่าตลาดหุ้นฮ่องกงจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม จากความกังวลจากค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลง เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้า
ดัชนี Shanghai Composite ปรับตัวลดลง 0.2% ปิดที่ระดับ 2815.09 จุด
ในวันนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงกว่า 2% เป็นการปรับตัวสูงขึ้นในระดับวันที่ดีที่สุดในรอบหกสัปดาห์
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางส่วน ระบุว่า การที่ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้นั้นเกิดจากปัจจัยทางด้านเทคนิค โดยในภาพรวมแล้วความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนยังไม่ดีนัก และยังมีปัจจัยลบจากความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้าอีกด้วย
ดัชนี Hang Seng ปรับตัวสูงขึ้น 2.7% สู่ระดับ 20,368.05 จุด
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.59) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 398 โครงการ เพิ่มขึ้น 84% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 200,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 463% โดยจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในขณะนี้คิดเป็น 44% ของเป้าหมายทั้งปีซึ่งตั้งไว้ที่ 450,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่านโยบายสำคัญต่างๆ เริ่มส่งผล โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการลงทุนในรุปแบบคลัสเตอร์ และมาตรการเร่งรัดการลงทุน
ฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีไทยจะยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งในปี 2559 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจะช่วยหนุนความต้องการน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ มองว่า กำไรที่จะได้นั้นอาจชะลอตัวลงจากเมื่อปี 2558 หลังมีการเพิ่มกำลังผลิต ประกอบกับแรงกดดันที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภท middle distillate
กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศในเดือนเม.ย.59 พลิกกลับมาหดตัว 8.0% มาที่ 15,545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้า เม.ย. มีมูลค่า 14,824 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 14.92% ดุลการค้าเม.ย. เกินดุล 721 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย.59 อยู่ที่ระดับ 85.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนมี.ค.59 โดยค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ