• นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า จีนควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

    9 มิถุนายน 2559 | Economic News

ในวันนี้จีนเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือน พ.ค. ซึ่งออกมาสูงขึ้น 2.0% (เดิม 2.3%, คาดการณ์ 2.3%) น้อยกว่าที่คาด ซึ่งถูกกดดันโดยราคาอาหารที่ชะลอตัวลง


ขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือน พ.ต. ออกมาที่ระดับ -2.8% (เดิม -3.4%, คาดการณ์ 3.3%) ซึ่งดีกว่าคาดการณ์ แต่ยังคงอยู่ในแดนลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 51 เดือน 


นักเศรษฐศาสตร์ประจำ Commonwealth Bank ระบุว่า ปัจจัยสำคัญเบื้องหลัง CPI ที่ตกต่ำลงของจีนคือ ราคาอาหารที่ลดลง โดยคาดว่า CPI ตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.5-2%


นักเศรษฐศาสตร์ฯ กล่าว ทุกๆ 10% ของราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะผลักดันให้ PPI ปรับตัวสูงขึ้นราว 6% ดังนั้นการฟื้นตัวของ PPI ในเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น


นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่า ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนแอ ทางการจีนควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม


นักเศรษฐศาสตร์ประจำ Commerzbank ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของจีนโดยภาพรวมยังคงอ่อนแอ ดังนั้นธนาคารกลางจีนอาจต้องยกระดับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ทางการจีนไม่สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ท่ามกลางปัญหากำลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม


ซึ่งหากจีนยังใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ยอมออกจากตลาด และภาวะอุปทานส่วนเกินจะยังคงอยู่ ส่งผลให้ราคาสินค้าไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ และจะส่งผลต่อเนื่องไปยังธนาคารกลางจีนให้ไม่สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ ดังนั้นนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนจึงมีความสำคัญ


นักวิเคราะห์จาก ING ระบุว่า ธนาคารกลางจีนควรลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.25% ในปีนี้


ที่มา: CNBC



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com