การลงทุนในจีนเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าจีนอาจเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การเติบโตของการลงทุนในทรัพย์สินถาวรลดลงต่ำกว่าระดับ 10% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2000 ในเดือน ม.ค. – พ.ค. ที่ผ่านมา โดยแรงหนุนจากสินเชื่อที่เติบโตดูเหมือนว่ากำลังจะหมดลง ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าจีนอาจจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ทั้งนี้รัฐบาลจีนได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังมากขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ที่สื่อของทางการจีนเผยแพร่เนื้อหาว่าจีนกำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้น
นักวิเคราะห์ กล่าวเตือนว่า สัญญาณของความอ่อนแอในข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของจีน ผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบายอาจต้องยกระดับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำ Commerzbank ระบุว่า มีโอกาสมากขึ้นที่ธนาคารกลางจีนจะลด RRR หรือลดนโยบายอัตราดอกเบี้ยลง ก่อนสิ้นเดือนนี้
IMF เตือนจีนให้แก้ปัญหาหนี้สินภาคเอกชนอย่างเร่งด่วน
IMF เตือนจีนซึ่งให้แก้ปัญหาหนี้สินภาคเอกชนซึ่งมีความสำคัญและกำลังแย่ลงเรื่อย ๆ อย่างเร่งด่วน ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกและจีนจะได้รับผลกระทบจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ขณะนี้จีนมีหนี้สินอยู่ราว 225% ต่อ GDP ซึ่งนับว่าไม่สูงมากนักหากเทียบกับประเทศอื่นๆบางประเทศ อย่างไรก็ดี หนี้สินของจีนนั้นเป็นหนี้สินของภาคเอกชนจำนวนถึง 145% ต่อ GDP ซึ่งอยู่ในระดับสูง
โดยเมื่อเจาะลึกลงไปแล้ว IMF ระบุว่าปัญหาหนี้สินภาคเอกชนของจีนเกิดจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่ง IMF ประเมินว่า 55% ของหนี้สินภาคเอกชนมาจากหน่วยงานดังกล่าว แต่กลับสามารถผลิตผลผลิตทางเศรษฐกิจเพียง 22%
IMF แนะนำว่า ธุรกรรมการแปลงหนี้สินเป็นทุน อาจสามารถแก้ปัญหาหนี้สินจำนวนมากนี้ได้ อย่างไรก็ดี IMF แนะว่าควรพิจารณาให้ดีกว่าบริษัทใดควรเก็บไว้ และบริษัทใดควรปล่อยให้ล้มละลาย
OECD ระบุ อีซีบีควารลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากอัตราเงินเฟ้อยังไม่เพิ่มขึ้นตามที่คาด
OECD ระบุว่า อีซีบีควรขยายมาตรการทางการเงินออกไปอีก หากอัตราเงินเฟ้อยังไม่เพิ่มขึ้นตามคาด และรัฐบาลประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรีซและอิตาลี ควรหาทางลด NPL ของภาคธนาคารลง เพื่อให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
OECD กล่าวว่า “อีซีบีอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากสภาวะที่มีสภาพคล่องล้นเกินในปัจจุบัน”
OECD คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนจะเติบโต 1.6% ในปีนี้ และ 1.7% ในปีหน้า ภายในสมมติฐานว่าอังกฤษเลือกที่จะอยู่กับอียูต่อไป
แต่หากอังกฤษเลือกที่จะออกจากอียู จะไม่เพียงแต่ลดผลผลิตทางเศรษฐกิจลง 1% ในปี 2018 เท่านั้น แต่ผลกระทบจะตกทอดต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 5 ปี
น้ำมันดิบหดตัวลงต่อเนื่องในวันนี้
ในวันนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง จากความกังวลต่อเศรษฐกิจในเอเชียและค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
น้ำมันดิบ Brent โดยลดลงกว่า 0.97% สู่ระดับ 49.89 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลง 1.06% สู่ระดับ 48.55 เหรียญ/บาร์เรล
นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า นำมันดิบปรับตัวลดลงจากความต้องการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลงและค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น