ขณะที่ สินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ทอง, พันธบัตรรัฐบาล และค่าเงินเยน หดตัวลง
ดัชนี MSCI Asia-Pacific ex Japan ปรับตัวสูงขึ้น 1.3% ในวันนี้
นักกลยุทธ์ตลาดจาก JPMorgan Asset Management ระบุว่า นักลงทุนผู้ซึ่งหลีกหนีสินทรัพย์ปลอดภัยไปก่อนหน้านี้ กำลังกลับสถานะของตน โดนมุมมองของตลาดนั้นแย่มากในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ในสัปดาห์นี้ปรับตัวดีขึ้นมาบ้าง
วันนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระดับวันในรอบสองเดือน เนื่องจากความกังวลต่อ Brexit ที่ลดลง หลังจากผลโพลล์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเสียงสนับสนุนให้อังกฤษยังอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปมีแนวโน้มดีขึ้น
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ช่วยหนุนให้ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวสูงขึ้น 2.3% สู่ระดับ 15,965.30 จุด นับเป็นระดับปิดสูงสุดนับแต่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา และนับเป็นการเพิ่มขึ้นระดับวันมากที่สุดนับตั้งแต่ 21 เม.ย.
ตลาดหุ้นจีนทรงตัวในวันนี้ สวนทางกับตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมุมมองของนักลงทุนที่แย่ลง ท่ามกลางความกังวลต่อค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงและมาตรการการกำกับดูแลของทางการที่เข้ามาจำกัดการเก็งกำไร
ดัชนี Shanghai Composite ปรับตัวสูงขึ้น 0.1% สู่ระดับ 3,112.67 จุด
ตลาดดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 2% ในวันนี้ มากที่สุดในรอบเกือบ 1 เดือน ตามการรีบาวด์ของตลาดหุ้นเอเชีย จากความคาดหวังที่ว่าอังกฤษจะตัดสินใจอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป
ดัชนี Hang Seng ปรับตัวสูงขึ้น 1.7% สู่ระดับ 20,510.20 จุด
โดยความกังวลต่อ Brexit ลดลง เนื่องจากโพลล์ 3 ราย ต่างออกมาระบุถึง ความเห็น “อยู่ต่อ” นั้นได้คะแนนเสียงมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกรเงิน (กนง.) ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ1.50% ตามเดิม เพื่อติดตามพัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกที่อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สนับสนุนให้ กนง. มีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ตามเดิม โดยเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศในช่วงต้นไตรมาสที่ 2/59 ยังคงให้ภาพการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก (ที่ภาพรวมจีดีพีขยายตัวที่ 3.2% YoY ในไตรมาส 1/2559 ขยับขึ้นจากที่ขยายตัว 2.8% YoY ในไตรมาส 4/2558) โดยเฉพาะการขยายตัวของรายจ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและกึ่งคงทน ตลอดจนสัญญาณที่เริ่มกลับมาเป็นบวกของรายได้เกษตรกร