ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าจากการแข็งค่าของค่าเงินอังกฤษที่ปรับตัวขึ้นในภาพระดับวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008หลังจากที่ผลสำรวจความพึงพอใจของชาวอังกฤษส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะอยู่ในอียูต่อไป จึงช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษปรับขึ้น 2.3% แตะระดับ 1.4688 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในภาพระดับหนึ่งวัน นับตั้งแต่ 15 ธันวาคม ปี 2008
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ โดยในช่วงต้นตลาดซื้อขายวานนี้ร่วงลงไปที่ระดับ 93.449ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ ขณะที่เช้านี้อยู่ที่ระดับ 93.611 ด้านค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้น 0.3% แตะระดับ1.1300 ดอลลาร์/ยูโร
รอยเตอร์ส ระบุว่า นักลงทุนในตลาดตอบรับกับผลสำรวจกว่า 3 ใน 6 ที่เปลี่ยนมุมมองเลือกอยู่ในอียูต่อไป ซึ่งบางส่วน คาดว่า เหตุการณ์สังหาร นางโจ ค็อก หนึ่งในนักกฎหมายคนสำคัญของอียูเป็นปัจจัยขับเคลื่อนต่อผลสำรวจล่าสุด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์เบ็ทแฟร์ (Betfair) ความเป็นไปได้โดยนัยที่อังกฤษจะโหวตอยู่ในอียูต่อไปในการลงประชามติวันพฤหัสบดีนี้ มีโอกาสเพิ่มขึ้น 78% หลังจากผลสำรวจล่าสุดในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับประมาณ 60%
แนวโน้มการอยู่ในอียูของอังกฤษ ส่งผลให้กลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกกลับมาฟื้นตัว ขณะที่กลุ่มสินทรัพย์ Safe-Havenปรับตัวลดลง โดยตลาดหุ้นยุโรป (FTEU3) ปรับขึ้น 3.6% ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้น 0.8%
นายจอร์จ ซอรอส นักลงทุนมหาเศรษฐี กล่าวว่า การตัดสินใจของอังกฤษในการออกจากอียูอาจกระตุ้นให้เกิดแรงเทขายทำกำไรครั้งใหญ่ในเงินปอนด์ ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนจะปรับตัวลดลงและเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะชะลอตัว ซึ่งเขาระบุถึง 3 ประเด็นสำคัญไว้หากอังกฤษเลือกออกจากอียูดังนี้
1) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจไม่ลดอัตราดอกเบี้ยจากระดับต่ำปัจจุบัน
2) อังกฤษจะมียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมาก และน่าจะไม่มีเงินทุนไหลเข้า
3) ค่าเงินปอนด์จะอ่อนค่า ไม่ได้ช่วยหนุนการส่งออก เนื่องจากจะประสบกับความไม่แน่นอนจากเงื่อนไขทางการค้า
ซึ่ง นายซอรอส กล่าวว่า เขาต้องการให้ประชาชนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเลือกที่จะออกจากอียูก่อนที่พวกเขาจะทำการโหวต ซึ่งหากเลือกโหวตออกจากอียูก็อาจเห็นช่วงปลายสัปดาห์นี้เกิดภาวะ Black Friday และจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงกับประชาชนโดยทั่วไป
รายงานจาก CNBC ระบุว่า รายงานการประชุมเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลุ่มผู้กำหนดนโยบายบางรายของบีโอเจ กังวลต่อความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจประเทศอื่นๆจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นและดัชนีราคา ซึ่งบีโอเจควรระมัดระวังอย่างมากในการประเมินต่อความเสี่ยงดังกล่าวในอนาคตและนโยบายการเงินที่ปราศจากความลังเลหากจำเป็น
น้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนและการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ รอยเตอร์ส ระบุว่า การที่น้ำมันดิบปรับตัวขึ้นได้เกือบ 3% และฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 มาจากผลสำรวจอังกฤษที่แนวโน้มจะออกจากอังกฤษลดน้อยลง ขณะเดียวกัน แก๊สโซลีนในสหรัฐฯก็ฟื้นตัวขึ้นกว่า 5% จากการขับเคลื่อนของอุปทานที่เพิ่มขึ้น
น้ำมันดิบ Brent ปิด +2.4% ที่ระดับ 50.36 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งภาพรวมน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นได้กว่า 6% ในช่วง 2วันทำการ ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิด +2.5% ที่ระดับ 49.16 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัว แต่รายงานล่าสุดของสหรัฐฯ ยังคงพบว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ เผยรายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น 9 แท่น