ผลการทำประชามติ ชาวอังกฤษเลือกจะ “ออก” จากสหภาพยุโรป ด้วยคะแนนเสียง 51.9% ต่อ 48.1%
ประชามติสิ้นสุดลงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ?
1. ในทางเทคนิคแล้ว “ผลการทำประชามติ ไม่มีผลตามกฎหมาย” และในทางทฤษฎีแล้ว นายกรัฐมนตรีอังกฤษสามารถเมินเฉยไม่สนใจส่วนต่างเล็กน้อยระหว่าง “อยู่” กับ “ออก” ได้ และส่งผลให้อังกฤษนั้นไม่ต้องออกจากอียู
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลอังกฤษ ยอมรับต่อกระบวนการประชาธิปไตย รัฐบาลต้องปฏิบัติตามมาตรา 50 ของกฎหมาย Lisbon Treaty ของอียู จึงจะถือว่าอังกฤษนั้นสามารถออกจากสหภาพยุโรปได้จริงๆ
2. จากนั้นจึงจะเกิดการเจรจาขึ้นระหว่างอังกฤษและอียู เพื่อแยกโครงสร้างระหว่างอียูและอังกฤษออกจากกัน ซึ่งคาดว่าอาจกินเวลานานถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น
ตลาดการเงินทั่วโลกโกลาหล จาก BREXIT
ตลาดการเงินทั่วโลกแกว่งตัวผันผวนอย่างหนัก เนื่องจากการออกจากสหภาพยุโรปไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสิ่งใดที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อนหมายถึงสิ่งนั้นจะอัดฉีดความผันผวนเข้าสู่ตลาด
ผลโหวตดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 ซึ่งเวลานี้ระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำหรือใกล้ระดับศูนย์ จึงทำให้กลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเงินต้องหาวิธีต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป
ค่าเงินปอนด์ปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยทำจุดต่ำสุดบริเวณ 1.3305 ดอลลาร์/ปอนด์ หรือปรับตัวลดลงกว่า 10% และนับเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1985
โดยราคาสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างหนักตั้งแต่สินค้าโภคภัณฑ์ไปจนถึงตลาดหุ้น ขณะที่สินทรัพย์ปลอดภัยอาทิ ค่าเงินเยน พันธบัตรรัฐบาล และทองคำ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก
ธนาคารอังกฤษออกมาระบุว่า “จะคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะดำเนินการมาตรการใดๆก็ตามที่จำเป็น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน”
หัวหน้าฝ่ายการลงทุนและวิจัยจาก ETF Securities ระบุว่า มันน่ากลัวมาก ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน
ประเด็นที่อังกฤษออกจากอียู จะกลายเป็นหัวข้อสำคัญที่จะกำหนดมุมมองของนักลงทุนไปตลอดเดือน มิ.ย. นี้ การออกจากอียูในครั้งนี้ของอังกฤษได้ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอาจมีประเทศอื่นทำประชามติเพื่อออกจากอียูเช่นเดียวกัน
พร้อมกันนี้ธนาคารกลางแห่งต่างๆทั่วโลกได้เตรียมพร้อมเข้าแทรกแซงตลาดการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว
นายเดวิด คาเมรอน ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีผล ต.ค.
นายเดวิด คาเมรอน ระบุว่า “ผมคิดว่าประเทศต้องการผู้นำคนใหม่ ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเป็นผู้นำที่จะนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายต่อไปได้ ดังนั้นพวกเราต้องการนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในเดือน ต.ค.”
ผู้นำฝ่ายขวาจัดของเนเธอร์แลนด์ เรียกร้องให้เนเธอร์แลนด์ทำประชามติออกจากสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับอังกฤษ
นาย Geert Wilders ผู้นำฝ่ายขวาจัดของเนเธอร์แลนด์ เรียกร้องให้เนเธอร์แลนด์ทำประชามติออกจากสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับอังกฤษ
นาย Geert Wilders ระบุว่า “เราต้องการเปลี่ยนประเทศของเรา ต้องการเงินของเรา เขตแดนของเรา และนโยบายผู้อพยพของเรา”
ผลการสำรวจโดยรายการโทรทัศน์ Een Vandaag ในสัปดาห์นี้ ระบุว่า 54% ของชาวเนเธอร์แลนด์ต้องการทำประชามติ
ทั้งนี้เนเธอร์แลนด์เป็น 1 ในประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรป
ราคาน้ำมันดิบหดตัวลงอย่างหนัก
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างหนักในวันนี้ หลังจากที่เมื่อวานนี้ทำจุดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากอังกฤษเลือกที่จะออกจากสหภาพยุโรป โดยนักลงทุนเลือกที่จะออกจากสินทรัพย์เสี่ยงและเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 4.28% สู่ระดับ 48.73 เหรียญ/บาร์เรล