ปัจจุบันนี้ชาวมุสลิมจำนวน 1.6 พันล้านคน ไม่ได้ลงทุนในทองคำ แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไปแล้ว และชาวมุสลิมอาจกลายเป็นอีกหนึ่งผู้ซื้อทองคำรายใหญ่
ภายใต้กฎหมายอิสลาม หรือ ชะรีอะห์ การกระทำใดที่ได้รับผลตอบแทนรวมถึงดอกเบี้ยนั้นถือว่าผิด
การครอบครองทองคำนั้นเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างมากว่าจะผิดกฎหมายอิสลามหรือไม่ ดังนั้น World Gold Council (WGC) และ องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม (AAOIFI) จึงได้ร่วมมือกันออกมาตรฐานสำหรับการลงทุนทองคำที่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม
“มาตรฐานใหม่นี้จะช่วยให้นักลงทุนชาวอิสลามสามารถมีส่วนร่วมในการลงทุนทองคำได้”
แต่ก่อนนี้นั้นชาวอิสลามและสถาบันการเงินอิสลาม หลีกเลี่ยงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับทองคำ เนื่องจากกฎหมายอิสลามระบุว่า ทองคำเป็น ริบาวี ไม่สามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรได้ แต่สามารถใช้แทนสกุลเงิน หรือเครื่องประดับได้
อย่างไรก็ดี การซื้อหุ้นไม่นับว่าผิดกฎหมายอิสลาม ตราบเท่าที่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่ผิดกฎหมายอิสลาม
สมาชิกจาก AAOIFI ระบุว่า ความลังเลของชาวมุสลิมในการไม่ลงทุนในทองคำ คือความสับสนและความลังเลว่าสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งเกิดจากการที่ไม่มีมาตรฐานกลางที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในการลงทุนทองคำ แต่โดยประวัติศาสตร์แล้วชาวมุสลิมเป็นผู้ชื่นชอบการสะสมทองคำเพื่อรักษาความมั่งคั่งของตนไว้
มาตรฐานใหม่นี้จะช่วยให้ธนาคารสามารถอกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อิงกับทองคำได้อย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมายอิสลาม ช่วยลดความสับสนของชาวมุสลิมในการลงทุน
WGC ระบุว่า มาตรฐานใหม่นี้จะช่วยให้การลงทุนทองคำเป็นที่ยอมรับของชาวมุสลิม เช่น การออมทอง, กองทุนทองคำ ETF รวมถึง Gold Futures และหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ทองคำ เป็นต้น
ศักยภาพของชาวมุสลิม
ปัจจุบันผู้ออมและนักลงทุนชาวมุสลิมมีสินทรัพย์อยู่ราว 2 ล้านล้านเหรียญ และ Standard and Poor คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2020 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชาวมุสลิมในลงทุน
รายงานจาก Ernst and Young ระบุว่า สินทรัพย์ทางการเงินของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ 93% อยู่ใน 9 ตลาดหลัก ได้แก่ บาร์เรน กาตาร์ อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย UAE ตุรกี คูเวต และปากีสถาน ตราบเท่าที่ยังไม่มีมาตรฐานการลงทุนทองคำสำหรับชาวมุสลิม เหล่าผู้จัดการกองทุนที่อยู่ในประเทศดังกล่าวต้องจำกัดการลงทุนของตนเองลง
ที่มา : Business Insider