นายจอห์น เทเลอร์ ศาสตราจารย์ประจำ Stanford University กล่าวว่า กลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยระดับติดลบของบีโอเจและอีซีบีที่ถูกนำมาใช้อาจสร้างความเสียหายมากกว่าส่งผลดี และสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้นั้น ในมุมมองของเขา อัตราดอกเบี้ยระดับติดลบไม่ได้ช่วยอะไร และอาจเป็นการทำร้ายเศรษฐกิจ และมันอาจเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น คือ กลยุทธ์การคิดค่าธรรมเนียมธนาคารต่างๆ ในการแบ่งสัดส่วนการเก็บค่าธรรมเนียมที่ได้มาจากสินเชื่อ
อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ปฏิเสธแนวความคิดเห็นดังกล่าวที่ว่าการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นการทำร้ายภาคธนาคาร และเป็นตัวกลางในการดำเนินการ ที่เป็นช่องทางให้พวกเขาสามารถเก็บออมเพื่อปล่อยกู้ได้ แต่เขาก็ตระหนักดีว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นอาจส่งผลให้อัตราพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับตัวลดลง และจะสร้างผลกระทบต่อผลกำไรในการออม อาทิ เบี้ยบำนาญ และก่อให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างต่อเสถียรภาพทางการเงิน
ทั้งนี้ นายเทเลอร์ กล่าวว่า โครงสร้างเศรษฐกิจระดับมหภาคไม่จำเป็นต้องรวมกับการจัดการภาคการเงิน เพราะมันจะเป็นเรื่องยากต่อการจัดการความสำคัญ ขณะเดียวกันกลุ่มบริษัทบางแห่งก็อาจได้รับแรงหนุนจากการลงทุน แต่บริษัทบางแห่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินออมอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย
นอกจากนี้ ระดับอัตราดอกเบี้ยติดลบ อาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ว่าการบีโอเจคิดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนดังกล่าว และไม่รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นจะยาวนานต่อเนื่องเพียงไร แม้ว่า ณ ขณะนี้จะยังไม่มีผลกระทบครั้งใหญ่ต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ
มุมมองต่อเฟด
นายเทเลอร์ กล่าวย้ำถึงสิ่งที่เขาคิดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยระบุว่า “หลักฐานที่มียังคงอ่อนแออย่างมาก” ดังนั้นเฟดจึงควรคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำไว้ ก่อนจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้กลับสู่ภาวะปกติ
ที่มา: Bloomberg