การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะก่อให้เกิดปัญหากับจีนในปี 2017 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระดับที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ จะส่งผลให้จีนดำเนินการบริหารจัดการหนี้ที่มีมากขึ้นได้อย่างลำบาก เพราะจะทำให้จีนจำเป็นต้องทำการกู้ยืมเพื่อกระตุ้นการเติบโตในเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้กระแสเงินทุนออกนอกประเทศในขณะเดียวกัน
หัวหน้าฝ่ายการตลาดและกลยุทธ์สังกัด Morgan Stanley กล่าวว่าหากเฟดยังคงทำการเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นอีก ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือประเทศจีน เนื่องจากมีแหล่งเงินทุนจำนวนมากจ้องที่จะออกนอกประเทศอยู่
ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ในสัปดาห์หน้าบีโอเจน่าจะยังคงถือครองระดับอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ระดับ -0.1% สำหรับเงินทุนสำรองบางส่วน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีจะมีเป้าหมายบริเวณ 0% ท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินเยนและเงื่อนไขเชิงบวกจากต่างประเทศ จึงน่าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
นอกจากนี้ยังคาดว่า บีโอเจจะยังคงระดับการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ด้วยวงเงินประมาณ 80 ล้านล้านเยน (6.7693 แสนล้านเหรียญ)
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบัน NLI Research กล่าวว่า บีโอเจจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% แต่อาจจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนค่าลง และราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดยต้องจับตาว่าในสัปดาห์หน้าบีโอเจจะเปลี่ยนมุมมองทางเศรษฐกิจหรือไม่
รายงานจากองค์กรการค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ (IE Singapore) ระบุว่า ยอดส่งออกของสิงคโปร์ปรับตัวขึ้นเกินคาดในเดือนพฤศจิกายนแตะระดับ 11.5% เมื่อเทียบรายปี เพราะได้รับแรงหนุนจากการขนส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปและจีน
วันนี้ธนาคารกลางจีน (PBoC) กำหนดค่ากลางของเงินหยวนที่ระดับ 6.9508 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง เนื่องมาจากแรงกดดันจากกระแสเงินทุนที่มีมากเกิน และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทั้งนี้ ทางธนาคารกลางจะยอมให้เงินหยวนปรับขึ้นหรือลงเพียง 2%เท่านั้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจวังกัด JP Morgan กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์ซึ่งตอบสนองกับการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ ประกอบกับการคุมเข้มทางการเงินของเฟดที่คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้จำนวน 3 ครั้งในปี 2017 จึงเป็นเหตุผลหลักที่ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น