• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินดอลลาร์ที่ปรับสูงขึ้น ช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์ที่ยืนเหนือระดับ 21,000 จุด มาจากการที่บรรดานักลงทุนกลับมาให้ความสนใจต่อแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการตอบรับกับถ้อยแถลงของนายทรัมป์ต่อสภาคองเกรสวานนี้
ทั้งนี้ ถ้อยแถลงเชิงคุมเข้มทางการเงินของเจ้าหน้าที่เฟดได้หนุนให้หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้น จึงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยหนุนผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร ขณะที่ถ้อยแถลงของนายทรัมป์ แม้ไม่มีรายละเอียดอื่นใด แต่นักลงทุนก็ยังคาดหวังว่านายทรัมป์จะทำตามสัญญา หลังจากที่เมื่อวานนี้เขาระบุว่า จะทำการผ่อนปรนกฎภาษีแก่ชนชั้นกลาง รวมทั้งปรับลดภาษีภาคธุรกิจ ประกอบกับการทุ่มงบประมาณจำนวนมากสำหรับแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผ่อนคลายข้อกำหนดต่างๆ
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี จากความคาดหวังที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยไปแตะระดับ 1.308% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2009 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 2.471% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
• ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.6% ที่ระดับ 101.73 จุดในเช้านี้ หลังจากเมื่อคืนแตะระดับสูงสุด 101.97 จุด ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์นับตั้งแต่ 11 มกราคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่า 1.05% แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์บริเวณ 114.04 เยน/ดอลลาร์
• ผลการประกาศข้อมูลค่าใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯประจำเดือนมกราคมชะลอตัวลงท่ามกลางอุปทานในกลุ่มยานยนต์และยูทิลิตี้ส์ที่ปรับตัวลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 4 ปี จึงยิ่งหนุนความเป็นไปได้ที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้
• กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผย ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวลดลง 0.2% ในเดือนมกราคม จากระดับ 0.5% ในเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคมีแนวโน้มจะยังได้รับแรงสนับสนุนท่ามกลางคำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะทำการปรับลดภาษีและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการปฏิรูปโครงสร้าง
• ดัชนีราคาการอุปโภคบริโภค (PCE) ขยายตัวได้ 0.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่กุมภาพันธ์ปี 2013 หลังจากที่ขยายตัวได้ 0.2% ในเดือนก่อนหน้า
โดยตลอดช่วง 12 เดือนที่รวมเดือนมกราคมที่ผ่านมา ดัชนี PCE ปรับตัวขึ้นแล้ว 1.9% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบรายปี นับตั้งแต่ตุลาคมปี 2012 ตามด้วยระดับ 1.6% ที่เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม
• ดัชนีราคา PCE ที่ไม่รวมภาคอาหารและพลังงาน (Core PCE) ขยายตัวได้ตามคาดที่ระดับ 0.3% ในเดือนมกราคม ซึ่งถือเป็นระดับการขยายตัวมากที่สุดนับตั้งแต่มกราคมปี 2012 ขณะที่เดือนธันวาคมขยายตัวได้ 0.1% ซึ่งภาพรวมเมื่อเทียบรายปีดัชนี Core PCE ขยายตัวได้ 1.7% เช่นเดียวกับระดับในเดือนธันวาคม ซึ่งดัชนีดังกล่าวถือเป็นปัจจัยที่เฟดมักนำมาพิจารณาการขยายตัวของเงินเฟ้อ
• รายงานจากสถาบันการจัดการด้านอุปทาน (ISM) เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตออกมาดีขึ้นเกินคาดแตะระดับ 57.7 จุด ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่สิงหาคม 2014
• ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิด -0.3% ที่ระดับ 53.83 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปิด -0.3% เช่นกัน ที่ระดับ 56.36 เหรียญ/บาร์เรล โดยตลาดน้ำมันได้รับแรงกดดันหลังจากที่ EIA เผยปริมาณสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่ผ่านมาของสหรัฐฯปรับตัวขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล โดยยังคงแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 520.2 ล้านบาร์เรล
