
การที่เฟดหันมาใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ย อาจจะส่งผลถึงประเทศฝั่งตรงข้าม (ที่ใช้นโยบายลดดดอกเบี้ย และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ) อย่างญี่ปุ่นและยุโรป และส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดของวงจรของการอัดฉีดเงินมาสู่ตลาดเอเชีย ขณะที่บรรดาธนาคารกลางตั้งแต่จีนไปจนถึงตุรกี หรือแม้แต่อังกฤษ ได้ปรับตัวต่อการปรับนโยบายของสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
เมื่อช่วงคืนวันพุธที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00% พร้อมกับให้สัญญานการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้ง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ภายในปี 2017 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3-4 ครั้ง
หลังจากนั้นต่อมาเพียงเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ธนาคารกลางจีนและตุรกีก็ได้มีการตอบสนองการเคลื่อนไหวดังกล่าวของเฟด ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางสัญญานการอ่อนค่าของค่าเงินในประเทศของตนด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ยังคงนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายเอาไว้ โดยเฉพาะบีโอเจ ที่เพิ่งประกาศคงนโยบายหลังเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสำคัญไปเมื่อวานนี้ ล่าสุด ทั้งสองธนาคารก็เริ่มให้สัญญาณเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้คุมเข้มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา: Reuters
