ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯเมื่อช่วงที่ผ่านมา ค่อนข้างจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่อ่อนแอ ส่งผลให้ตลาดเริ่มปรับลดการคาดการณ์ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้าเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย 2%
อย่างไรก็ดี ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มแสดงสัญญาณถึงทิศทางอ่อนแอ เศรษฐกิจยุโรปกลับมีแนวโน้มออกไปในเชิงบวก โดยล่าสุดจากการประกาศอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน พบว่าตัวเลขออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้อย่างมาก
นอกจากนี้ บรรดาประเทศแนวหน้าหรือกลุ่ม G-10 โดยเฉพาะญี่ปุ่นในช่วงนี้ที่ผ่านมานี้ ก็ได้ประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์เกือบทั้งหมด ส่งผลให้ระยะห่างทางเศรษฐกิจระหว่างบรรดาประเทศ G-10 และสหรัฐฯ เกิดระยะห่างที่กว้างมากที่สุดในรอบ 15 ปี
ดังนั้น หนทางที่สหรัฐฯจะบีบช่องว่างนั้นเข้ามาได้ คือต้องคอยติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะประกาศในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคลประจำเดือนเมายน (CB Consumer Confidence) ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญในการชี้วัดโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมประจำเดือนมิถุนายน
ที่มา: Reuters