• บรรดานักวิเคราะห์จาก The Telegraph เชื่อว่า ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาหรือเฟด เตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่ระดับ 0.75% - 1.00% สู่ระดับ 1.00% - 1.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิถุนายนนี้ พร้อมส่งสัญญาณปรับลดยอดงบดุลในพอร์ตลงภายในปีนี้ ท่ามกลางสัญญาณความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง
• เจ้าหน้าที่เฟดเผย เฟดมีแนวคิดที่จะค่อยๆปรับลดปริมาณงบดุลพอร์ตจากเดิมที่ระดับ 4.5 ล้านล้านเหรียญ สู่ระดับ 2 –2.5 ล้านล้านเหรียญภายในระยะเวลา 5 ปี โดยอาศัยแรงหนุนจากสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในปัจจุบัน
ทั้งนี้ นักวิจัยเศรษฐกิจของเฟด ได้ทำการศึกษาวิธีที่จะสามารถปรับลดงบดุลในพอร์ตลง โดยไม่ส่งผลกระทบกับตลาดมาโดยตลอด ผลกระทบดังกล่าวสามารถยกตัวอย่างได้ เช่น หากเฟดทำการขายสินทรัพย์มูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญ จะส่งผลให้มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับร่วงลงทันที ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรกลับปรับสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ และทำลายสถานะ Safe-haven ของหนี้สินรัฐบาล
• นายเจฟ เซสชั่น อัยการสูงสุดแห่งสหรัฐฯ เตรียมขึ้นรายงานตนต่อคณะกรรมการความมั่นคง ภายในวันพรุ่งนี้ เพื่อให้ปากคำเกี่ยวกับกรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ อดีตผู้อำนวยการ FBI แต่ยังไม่มีรายงานว่าคำให้การของเขาจะออกสู่สาธารณะหรือไม่
• ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นประจำเดือนเมษายน ปรับร่วงลง 3.1% ผิดคาดการณ์ที่ระดับ 1.3% ส่งผลให้บรรดานักลงทุนในตลาดเกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
• รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งกาตาร์ เปิดเผยว่ารัฐบาลจะสามารถปกป้องเศรษฐกิจและค่าเงินของตัวเองได้ แม้จะถูกประเทศพันธมิตรอาหรับคว่ำบาตรก็ตาม นอกจากนี้ เขายังได้ระบุว่า ประเทศที่คว่ำบาตรกาตาร์จะเป็นผู้สูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเสียเอง
• ราคาสัญญาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่เข้ากว้านซื้อโดยคาดหวังว่าราคาน่าจะไม่ปรับร่วงลงไปกว่านี้ ประกอบกับปริมาณน้ำมันที่ยังคงที่ล้นตลาด และปริมาณน้ำมันสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.3% ที่ระดับ 48.29 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 0.3% ที่ระดับ 45.95 เหรียญ/บาร์เรล
